แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

ความสับสนของนักเรียนกฎหมาย เมื่อสิ่งที่เรียนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ที่มา Thai E-News


ในวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ(น.๒๕๑) นักเรียนกฏหมายได้เรียนว่า รัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘ ได้วางหลักว่า ห้ามบุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างระบอบการปกครอง ผู้พบเห็นสามารถยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง… วิชาเดียวกันยังสอนว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญได้ นี่เป็นสองตัวอย่างที่นักเรียนกฎหมายได้เรียนตามหลักวิชา
ถ้าเรื่องราวภายนอกห้องเรียนเป็นแบบนี้ก็คงดี
อาจารย์ที่สอนนักเรียนกฎหมาย ครั้งหนึ่งเคยสอนว่า มาตรา ๖๘ ถ้าเราพบเห็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองที่ทำโดยบุคคล หรือ พรรคการเมืองให้เรายื่นเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเท่านั้น จะยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญได้เขียนเอาไว้ชัดเจน ส่วน ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ จะไปวินิจฉัยตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่สูงกว่า ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญได้
แต่วันนี้ อาจารย์ที่เคารพได้พูดออกสื่อว่า รัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘ ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องได้โดยตรงไม่จำเป็นต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุด ใครๆจึงสามารถยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญถึงการกระทำที่มีบุคคลใช้สิทธิ หรือเสรีภาพในการล้มล้างระบอบการปกครองโดยไม่มีการกรองจากอัยการสูงสุด และเนื่องจากเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ทำไมจะวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะถ้าไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องนี้ แล้วจะให้ใครมีอำนาจในการวินิจฉัยได้
ด้วยความเคารพอย่างสูง นักเรียนกฎหมายผู้นี้ “สับสน” เขาหยิบรัฐธรรมนูญ เปิดเลคเชอร์ หลักการได้กลับตาลปัตรไปแล้วหรือ ทำไมหนอเขาจึงไม่เห็นว่ามีสิ่งไหนเลยที่ตรงกับสิ่งที่อาจารย์ได้พูดออกสื่อ ในเวลานี้ จากเดิมตามมาตรา ๖๘ ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถรับเรื่องได้โดยตรง ต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อน เวลานี้อาจารย์ที่เคยสอนก็กลืนน้ำแล้วพูดใหม่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญสามารถรับเรื่องวินิจฉัยได้โดยตรงไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุดแต่ อย่างใด อาจารย์เคยบอกว่าอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญซึ่ง มีศักดิ์ต่ำกว่าอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ วันนี้อาจารย์กลับพูดเชียร์ให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตรวจสอบความชอบด้วยรัฐ ธรรมนูญของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนนักเรียนกฎหมายผู้นี้สงสัยว่า อาจารย์รู้สึกอะไรบ้างไหมเมื่อเวลานี้ได้พูดสิ่งที่ขัดกันเอง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่ได้บรรยายในห้องเรียน
ไม่ต้องเท้าความถึงศาลรัฐธรรมนูญที่ไปกันใหญ่ หลักการที่ได้เรียนมาในตำราเล่มเดียวกัน แต่ผลลัพธ์กลับช่างสวนทาง ซึ่งผลที่ว่านี้กลับไปประจวบเหมาะสอดคล้องกับม็อบล้มประชาธิปไตย จนน่าสงสัยว่าจบปริญญามาเป็นศาลได้อย่างไร หรือสิ่งที่เขาเรียนมาคือ ทำอย่างไรให้พรรคการเมืองบางพรรคชนะการเลือกตั้งให้ได้ในรอบ ๒๐ ปีกันแน่
ผู้เขียนรู้สึกเป็นห่วงว่าหลังจากนี้ไป เมื่อ “หลักกู” ที่ศาลรัฐธรรมนูญ และอาจารย์ กปปส สร้างขึ้นหยั่งรากลึกแล้ว ผู้เขียนนึกภาพนักเรียนกฎหมายหลังจากนี้ เขาจะอ่านหนังสือ ศึกษากฎหมาย และอธิบายปรากฎการณ์ของหลักกูเหล่านี้ว่าอย่างไร มันคงเป็น “ยุคมืด” ของวงการกฎหมายไทยก็เป็นได้
รังสิมันต์ โรม
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น