แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรื่องแปล: ถนนแห่งความเสี่ยงยังมีอยู่ข้างหน้าเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง

ที่มา Thai E-News


ที่มาRisky road ahead in avoiding civil war   จากเวปไซค์ของ บางกอกโพสต์Author: David Streckfuss

แปลและเรียบเรียงโดย: รศ. พ.ต.อ.หญิง ณหทัย ตัญญะ   (จาก Facebook ส่วนตัว)


สถานการณ์ ทางการเมืองในประเทศไทยกำลังเคลื่อนตัวเหมือนกับวงล้อที่หมุนไปอย่างช้าๆ เป็นที่แน่นอนว่า เรากำลังกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่สถานการณ์บางอย่างซึ่งคล้ายกับสงครามกลาง เมือง  สงครามกลางเมืองคือ การต่อสู้แบบนองเลือดตามธรรมชาติ ซึ่งนำเอาความเลวของทุกๆ คน แสดงออกมาให้เห็น ขอให้ปล่อยพวกกลุ่มหัวรุนแรงเขาแสดงไป
การที่จะหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมืองนั้น โอกาสมีอยู่เพียงสองสามทางเลือก เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมาก ที่ทางออกทั้งหมดนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยงสูงมากทีเดียว
ทางเลือกแบบแรกคือ การดำเนินการให้เกิดขึ้นตามที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกล่าวไว้ให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้  การเลือกตั้งที่เป็นโมฆะเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์นั้น สร้างความขมขื่นให้กับผู้คนเป็นจำนวนมาก (แม้จะไม่ใช่ส่วนใหญ่ทั้งหมดของประเทศก็ตาม) ซึ่ีงมีความรู้สึกว่า อำนาจอธิปไตยอันเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) นั้น ได้ถูกขัดขวางให้เห็นอีกครั้งหนึ่ง
ถึงแม้ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุอย่างชัดเจน การตอบสนองที่เป็น “เรื่องปกติ” อย่างมากที่สุดต่อการตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะก็คือ จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่อีกครั้ง ภายใต้กฎเกณฑ์เดิมที่การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้กำหนดไว้ ถ้าภายใต้ความพยายามหนแรก นั่นคือ ฝ่ายรัฐบาลได้ถูกขอร้องให้กำหนดวันเลือกตั้งระหว่าง 45 ถึง 60 วันหลังจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรเสร็จสิ้นลงไป จากนั้น เข็มนาฬิกาก็เดินต่อไปอีกครั้งหนึ่งเมื่อการเลือกตั้งครั้งแรกได้ถูกประกาศ อย่างเป็นทางการว่า กลายเป็นโมฆะไปแล้ว  ซึ่งหมายถึง การเลือกตั้งครั้งใหม่จะต้องถูกจัดให้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม
มีการพูดคุยกันในแวดวงการเมืองว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ อาจมีความล่าช้าเกิดขึ้นเป็นเดือนๆ การกระทำเช่นนี้ น่าจะเป็นการกระทำอย่างน้อยที่สุดตามที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้กล่าวไว้  มันไม่มีบทบัญญัติใดๆ ในรัฐธรรมนูญเลยที่เสนอว่า การเลือกตั้ง ควร หรือ สามารถเกิดความล่าช้าได้ การย้ำถึงบรรทัดฐานจากสถานการณ์ใกล้เคียงกันเมื่อปี พ.ศ. 2549 อาจยินยอมกันได้   เพียงถ้าผู้ก่อการรัฐประหารเลือกที่จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540  แต่แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขาตัดสินใจฉีกมันทิ้งไปเลย  ดังนั้น การย้ำถึงสถานการณ์ของปี พ.ศ. 2549 จึงเป็นเรื่องที่มีขีดจำกัดอยู่
บางท่านอาจกล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่สามารถแก้ไขกันได้ ดังนั้น พรรคการเมืองต่างๆ ก็ยังไม่มีโอกาสที่จะออกหน้ามาพร้อมๆ กัน เพื่อทำการต่อรองในเรื่องนี้ มันไม่มีบทบัญญัติใดๆ ในรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะต้องมีการเจรจาต่อรองกันก่อนที่จะให้มีการเลือก ตั้งเกิดขึ้นได้ พรรคการเมืองต่างๆ มีความเป็นอิสระในการกระทำแบบนั้น ถ้าพวกเขาปรารถนาให้เป็นไป แต่เข็มนาฬิกาก็ได้เริ่มเดินหน้าไปแล้ว และการเลือกตั้งก็ควรจะมีการประกาศให้ประชาชนได้ทราบโดยเร็วที่สุด
ประการสุดท้าย - มันไม่มีความน่าสงสัยเลย ที่กลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส) จะทำการต่อต้านกับการเลือกตั้งครั้งใหม่โดยไม่ให้ “การปฎิรูป” เกิดขึ้นได้ก่อน  มันเป็นทางเลือกของฝ่าย กปปส เอง  แต่มันไม่ใช่สิทธิ์ของสมาชิกในกลุ่มที่จะไปทำการขัดขวางการลงทะเบียนในการ ลงคะแนนเสียง หรือ ที่คูหาเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง ไม่ว่าการเลือกตั้งจะถูกตัดสินให้เป็นโมฆะในภายหลังก็ตาม การกระทำด้วยการขัดขวางการเลือกตั้งนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
**************************
ทางเลือกแบบที่สองคือ การโยนเอาโครงสร้างทั้งหมดของฝ่ายรัฐบาลกลับคืนไปสู่ประชาชน  รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหาทางออกในรูปของการทำประชามติ และมันไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ประชาชนจะถูกซักถามอีกครั้งหนึ่งว่า นี่คือรัฐธรรมนูญที่พวกเขาต้องการหรือไม่ กฎบัตรของรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น อ้างหลักฐานจากรากฐานที่ผิดกฎกติกาในการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549  การทำประชามติในเวลานั้น เต็มไปด้วยข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง  มีข้อจำกัดต่อการวิพากย์วิจารณ์รัฐธรรมนูญอย่างมาก และประชาชนไม่มีทางเลือกใดๆ ที่เห็นได้ชัดเจน ถ้าหากว่าถูกโหวตไม่ให้มีการบังคับใช้  แต่สิ่งที่แย่กว่านั้นคือ มันได้มีการพิสูจน์กันเรียบร้อยแล้วว่า บทบัญญัติเกือบทุกมาตราไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการแก้ไขได้แต่อย่างใด
เมื่อการเลือกตั้งเริ่มกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น (และดูเหมือนว่ามันกลายเป็นไปแล้วในเวลานี้) การทำประชามติเป็นเส้นทางสายตรงที่สุด ที่จะส่งมอบอำนาจอธิปไตยอันเป็นของปวงชนกลับคืนไป ผลของประชามติสามารถถูกนำเข้ามาใช้ได้เป็นอย่างดี  ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์และโดยทั่วไปแล้ว จะสร้างข้อจำกัดไม่ให้เกิดการนองเลือดดังที่เห็นกันในประเทศไครเมีย (Crimea) และกำลังจะได้เห็นกันอีกครั้งหนึ่งที่ประเทศสก๊อตแลนด์ (Scotland) ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
ถ้ามีการแข่งขันกันระหว่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 กับ “รัฐธรรมนูญของประชาชน” ปี พ.ศ. 2540 ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าเกิดขึ้น และรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้รับชัยชนะ นั่นก็หมายความว่า ประเทศไทยได้กลับไปสู่สถานการณ์อันดื้่อดึง ดังเช่นในปัจจุบัน  มีความพยายามให้เกิดการเลือกตั้งครั้งใหม่ และเราทั้งหมดก็จะได้เห็นว่า มันจะเป็นอย่างไร เมื่อเวลาผ่านไป
แต่ถ้ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ได้รับชัยชนะจากการทำประชามติ นั่นก็หมายความว่า พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคสามารถตกลงกัน เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่ต้องการปฎิรูปกัน ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งปกติในรากฐานการเมืองของพรรคการเมืองทุกพรรคสำหรับการ เลือกตั้งครั้งแรก  เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เป็นความก้าวหน้าอย่างมากกว่าในตัวรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 เอง ก็สามารถดึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่กำหนดไว้ในการปฎิรูปแต่ละชุด ได้ 
เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่เข้ามาบังคับใช้ สมาชิกขององค์กรอิสระต่างๆ จะต้องถูกให้ออกจากตำแหน่งไป และสมาชิกชุดใหม่จะถูกเลือกเข้ามาแทนที่ ภายใต้ระบบการเสนอชื่อที่ดีกว่าเก่ามาก จากบทบังคับของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540
ข้อเสนออีกข้อหนึ่งคือ การกำจัด คำศัพท์ที่ใช้กันว่า “คนกลาง” (Neutral)  ออกไปจากพจนานุกรมของการเมืองไทย  การเสนอ “คนกลาง” เข้ามาในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 นั้น เป็นการนำความหายนะและสร้างความเสื่อมเสียให้กับศักดิ์ศรีของกฎหมายไทยทั่ว ไปทั้งหมด
เริ่มแรกนั้น เราสามารถกล่าวได้ว่า องค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ จะถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยการให้แต่ละพรรคเสนอชื่อบุคคลเข้ามา พรรคละ 4 คน (พรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ตามลำดับ) (ทั้งหมด 8 คน) ผู้ถูกเสนอชื่อขึ้นมา จะต้องมีประวัติเบื้องหลังที่เกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย และไม่ใช่เพราะ “ความเป็นกลาง”  หรือ มีความฝักใฝ่ในพรรคการเมืองของพวกเขาต่อพรรคหนึ่งพรรคใด บุคคลทั้ง 8 คนนี้ จะต้องเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลอีกท่านหนึ่ง เพื่อที่จะนำไปสู่ตำแหน่งคนที่ 9  หลังจากนั้น มันเป็นเรื่องของการใช้เอกสิทธิ์ (Prerogative) ของพรรคการเมืองที่เป็นผู้บริหารอยู่ เพื่อทำการเสนอชื่อผู้พิพากษาที่จะไปดำรงตำแหน่งแทน หลังจากการอนุมัติจากวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว
เป็นที่ทราบกันว่า ประเทศไทยมีการแบ่งขั้วทางการเมืองกัน ประเทศไทยสามารถเป็นอิสระเองได้ต่อลักษณะภายนอกของตัวแทนที่เป็นกลาง ประเทศไทยยอมรับว่า “การเมือง” ไม่ใช่สิ่งที่นักการเมืองกระทำกัน แต่เป็นการบริหารและสร้างข้อจำกัดต่ออำนาจสาธารณะของพรรคการเมืองอื่นๆ ภายใต้นิยามนี้ มีหลายกลุ่มที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการทางการเมือง เช่น กลุ่มภาคประชาสังคม, การเคลื่อนไหวทางสังคม, เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา, ข้าราชการ และแม้แต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จนถึงตัวสถาบันพระมหากษัตริย์ เอง “การเมือง” ไม่ใช่ถ้อยคำที่แปลความหมายอย่างสกปรกโสมมกัน  มันเป็นเพียงแต่ตัวพลวัตที่ซ่อนอยู่กับสังคมการเมืองโดยทั่วๆ ไป
รัฐบาลแห่งชาติจะต้องอุทิศเวลาในการปฎิรูปรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่ ซึ่งสามารถสร้างอาณัติไว้ว่าต้องเสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี มันสามารถสร้างเกราะคุ้มครองบางประการ เพื่อความมั่นใจว่า สิทธิ์ของคนกลุ่มน้อยหรือมวลชนกลุ่มน้อยจะต้องได้รับความเคารพต่อการปฎิบัติ
บางส่วนในเรื่องนี้ อาจจะมีทัศนวิสัย แสดงให้เห็นถึงการลดการรวมอำนาจเข้ามาสู่ส่วนกลาง (Less Centralized)  และใช้ระบบบริหารในรูปแบบรัฐบาลกลางมากยิ่งขึ้น (More Federal System) ซึ่งยอมรับสิทธิในวัฒนธรรมส่วนท้องถิ่น, มอบอำนาจการบริหารจัดการเรื่องการศึกษาและการก่อตั้งกองกำลังตำรวจ โดยให้กระทำกันเองภายในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น และที่แน่นอนที่สุดคือ มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกันเอง ทุกๆ อย่างเป็นเรื่องความเท่าเทียมกัน และองค์กรส่วนท้องถิ่นจะเกิดขึ้นมามากขึ้นเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่น นั้นๆ มีโอกาสที่จะเฝ้าตรวจสอบความโปร่งใสจากการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่รับ เงินภาษีราษฎรกัน
การให้มีการอภิปรายระดับชาติเป็นเวลานานนับปี เกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทยนั้น ต้องมีกฎเกณฑ์ว่า กฎหมายใดๆ ที่สร้างข้อจำกัดในเรื่องเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น จะต้องได้รับการนิรโทษกรรมหรือพ้นจากความผิด  การยับยั้งเสรีภาพที่มีในปัจจุบันจาก มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาจะต้องมีการอภิปรายกัน บุคคลที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาหรือถูกจำคุกภายใต้มาตรานี้ จะต้องได้รับการปล่อยตัว และบทสนทนาต้องรวมไปถึง การโต้เถียงกันได้อย่างเปิดเผยเกี่ยวกับสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปถึงทรัพย์สินของสถาบันฯ อีกด้วย กฎหมายเหล่านี้กลายเป็นการนำเอาผลประโยชน์ของสถาบันฯ ในระยะยาวเข้ามาสู่ความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง
**************************
ทางเลือกแบบที่สามคือ ให้สถานการณ์เป็นไปตามที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ โดยใช้วาทกรรมอย่างเผ็ดร้อนสาดใส่กันทั้งสองฝ่าย ในไม่ช้า ประเทศไทยก็จะมาถึงจุดๆ หนึ่ง ซึ่งตนเองพบว่า ได้อยู่ในสภาพของสงครามกลางเมืองไปแล้ว เมื่อวันนั้นมาถึง สถานการณ์จะสร้างพลวัตในตัวของมันเอง และส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครสามารถควบคุมมันได้อีกต่อไป
สำหรับพรรคเพื่อไทยเอง การเรียกร้องขอให้มีการเลือกตั้งหรือสร้างประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องมีความกล้าที่จะทำมัน ทางพรรคเองก็ได้ยอมทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่สามารถจะกระทำได้กับกลุ่มต่อต้าน ทั้งหมด แต่ในเวลานี้ ทางพรรคต้องมีการใช้ยุทธการเชิงรุก (Proactive) และแสดงให้เห็นว่า พรรคเองเป็นแชมป์อันดับหนึ่งในการยึดหลักการของการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย ไม่ใช่เพียงแต่ส่งโหวตกลับไปให้กับประชาชน แต่จงให้ประชาชนเลือกรัฐธรรมนูญของพวกเขาเอง
แต่พรรคเพื่อไทยควรต้องเรียนรู้ว่าจะทำงานร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ได้อย่าง ไรในบางระดับ การปฎิรูปพรรคการเมือง, การปฎิรูปภาษี และความใสสะอาดของรัฐบาลนั้นเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนให้ความสนใจและมีผลประโยชน์ในเรื่องเหล่านี้กัน
ฝ่าย กปปส และพรรคประชาธิปัตย์ อาจจะต่อต้านกับการเลือกตั้งครั้งใหม่หรือกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ถ้าพวกเขาต้องการหาทางออกและยืนหยัดอยู่ในโลกของระบอบประชาธิปไตยได้นั้น การใช้เส้นทางในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการขัดขวางและให้การเลือกตั้งกลายเป็น โมฆะ รวมถึงความร่วมมือในการรับรู้กับอคติขององค์กรอิสระ และสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองใหม่ทุกครั้ง เมื่อมีการปฎิบัติในแต่ละเรื่อง จะนำความหายนะย้อนกลับมาสู่ฝ่ายตนเท่านั้น
มันเกือบจะหมดเวลาแล้ว
(อาจารย์เดวิด สเตรคฟัสส์เป็นนักวิชาการอิสระ ซึ่งตั้งรากฐานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น)
**************************

ความคิดเห็นของผู้แปล:
บทความนี้เขียนโดย อาจารย์ David Streckfuss และได้ปรากฎอยู่ในเวปไซค์ของหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์  วันนี้ ท่านได้โพสต์บทความเต็มเหยียดในหน้าของบางกอกโพสต์ ซึ่งคิดว่าเป็นประโยชน์ และเพื่อนๆ คงจะได้อ่านกันอย่างจุใจว่า เรายังมีทางออกในเรื่องนี้หรือไม่ อย่างไร
การทำประชามตินั้น เป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะถ้ารัฐธรรมนูญเป็นตัวปัญหาแล้ว มันอาจจะสายเกินแก้ในการที่จะนำประเทศเข้าไปสู่สงครามกลางเมือง และถ้าองค์กรอิสระ ต้องการที่จะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น พวกเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้จุดชนวนสงครามขึ้นมา และเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีใครสามารถยับยั้งลงได้  และอย่านึกว่า ทหารจะเข้ามาช่วยฝ่ายท่าน  เพราะในความเป็นจริงแล้ว การแบ่งข้างได้เกิดขึ้นเรียบร้อยไปนานแล้วเช่นกัน 
เมื่อเรายังมีทางออกอย่างสันติ เหมือนที่อาจารย์เดวิดกล่าวไว้ข้างต้น ก็น่าจะลองนำไปพิจารณากันดูนะคะ
เชิญ Tag หรือ Share บทความได้ตามสบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น