แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การสร้างความสมานฉันท์ (solidarity) ในฝรั่งเศส

ที่มา ประชาไท




ทุกๆประเทศในโลกต่างเคยผ่านประสบการณ์ความขัดแย้งบาดหมางภายใน อย่างร้ายแรงมาทุกชาติ และต่างเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในอดีตเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สังคม ผ่านพ้นวิกฤติไปได้ และประเทศฝรั่งเศสก็เช่นกันที่เคยผ่านประวัติศาสตร์ที่คนในชาติต่างมีความ คิดสุดโต่งและประหัตประหารฝ่ายศัตรูหรือผู้เห็นต่างด้วยความเกลียดชัง อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสก็ได้ก้าวผ่านความขัดแย้งและสร้างสังคมที่คนที่ มีความหลากหลายทางความคิดสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่เกิดความรุนแรงเพราะ ฝรั่งเศสได้สร้างคุณค่าอันเป็นแกนหลักของประเทศขึ้นมา นั่นคือลัทธิสมานฉันท์นิยม (solidarisme)
หลักการสมานฉันท์นิยมเป็นสิ่งที่สังคมสร้างมาโดยค่อยๆเรียนรู้ความผิด พลาดในอดีตและปรับปรุงแก้วิกฤติต่างๆ มันมิได้เกิดจากพระเจ้าประทานให้มาแต่ต้องใช้ความอดทนนับร้อยๆปีเพื่อสร้าง รากฐานดังกล่าว โดยแรกเริ่มในช่วงปลายสมัยสาธารณรัฐที่สามของฝรั่งเศส และต้องประสบช่วงขาดตอนในการพัฒนาเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้ง ที่สอง จวบจนหลังจากสงครามโลกเสร็จสิ้นจึงมีการนำมาปัดฝุ่นอีกครั้งจนสำเร็จ ลักษณะของความสมานฉันท์ของฝรั่งเศสประกอบด้วย
1. ความสมานฉันท์มิใช่ความเป็นเนื้อเดียวกัน (homogenity) ของสังคม ความสมานฉันท์มิได้ต้องการสังคมที่คนทุกคนคิดเหมือนกันหมดลักษณะเหมือนกัน หมดราวกับเป็นสสารที่มีเนื้อเดียวกัน ตรงกันข้ามความสมานฉันท์ต้องการให้ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยของสังคมมีความ หลากหลายและแตกต่าง แต่จะทำอย่างไรให้ความแตกต่างดังกล่าวอัดตัวกันเป็นก้อนที่มีความแข็งแกร่ง ไม่บุบสลายง่ายๆ ดังนั้นการสร้างความสมานฉันท์ในฝรั่งเศสจึงต้องมีการแยกรัฐออกจากศาสนาเสีย ก่อนหรือ แยกศาสนาออกจากสถาบันทางการเมือง เพราะถึงแม้ลัทธิสมานฉันท์จะยอมรับความแตกต่างด้านความเชื่อทางศาสนา แต่ก็มิใคร่ยินดีให้ศาสนาเข้ามาเชื่อมต่อกับอำนาจทางการเมือง เพราะการเชื่อทางศาสนาสามารถพัฒนาไปสู่ศรัทธาที่เหนือการใช้เหตุผลของมนุษย์ หรืออาจนำไปสู่ความคลั่งศาสนาจนขยายลุกลามกลายเป็นความรุนแรงและสงครามศาสนา ในโรงเรียนตลอดจนสถานที่ราชการในฝรั่งเศสจึงเป็นเขตที่แยกศาสนาออกชัดเจน
นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาความคิดเห็นต่างของคนในสังคมโดยไม่ใช้ความรุนแรง สามารถกระทำได้โดยการให้พื้นที่ความคิดที่หลากหลายของทุกๆความคิดได้มีที่ ระบายออกมา เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็นจึงเป็นสิทธิทางการเมืองพื้นฐานที่ทุกคน พึงมี เปิดพื้นที่สาธารณะให้คนที่ความเห็นต่างได้ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2. สิ่งที่ทำให้ความสมานฉันท์ของฝรั่งเศสมีความแตกต่างจากประเทศอื่นอีกประการ คือ การนำคำว่าสมานฉันท์มาผูกติดกับคำว่าภราดรภาพอันเป็นสามเสาหลักของคติสร้าง สาธารณรัฐฝรั่งเศส ความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นมาได้เมื่อทุกคนต่างมองสมาชิกคนอื่นๆในชาติเสมือน พี่น้องร่วมกันและมีหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความสมานฉันท์มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของปัจเจกชนหรือมองความเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตนของปัจเจกชนในแง่ร้าย แต่กลับมองว่าเป็นการดีที่ปัจเจกชนหวงแหนสิทธิและประโยชน์ของตนเองเป็นที่ ตั้งเพราะ ผลประโยชน์ส่วนตนหลายๆคนสามารถเชื่อมต่อกันกลายเป็นผลประโยชน์ของสังคมที่ งอกเงยมา อย่างไรก็ตามการขวนขวายแสวงหาเพียงแต่ผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่มีข้อจำกัดเอง นั้นก็สามารถเบียดบังผลประโยชน์ของคนอื่นในสังคม การสร้างความสมานฉันท์ในฝรั่งเศสจึงวางอยู่บนการร่วมมือกันระหว่างผล ประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ของสังคมค่อยเสริมซึ่งกันและกัน และรัฐจึงมีหน้าที่เข้ามาจัดแจงกระจายผลประโยชน์ของส่วนปัจเจกบางส่วนไปให้ สังคม โดยคนที่ร่ำรวยกว่าต้องช่วยเหลือคนที่ยากจนกว่า คนที่มีความสามารถมากกว่าต้องช่วยคนที่มีความสามารถน้อยกว่า คนที่แข็งแรงกว่าต้องช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่า รัฐต้องทำหน้าที่สอนให้พลเมืองมองเห็นผลประโยชน์ส่วนใดเป็นผลประโยชน์ สาธารณะและ พลเมืองพร้อมที่จะเสียสละบางส่วนโดยเต็มใจเพราะเป็นหน้าที่อันควรกระทำเพื่อ ให้สังคมเกิดภราดรภาพและอยู่รอดต่อไปได้
3. นอกจากนี้ความสมานฉันท์ของฝรั่งเศสยังผูกติดกับความเป็นสาธารณรัฐเช่นกัน กล่าวคือ ความต่อเนื่องของสาธารณรัฐจะมีได้เมื่อมีลัทธิสมานฉันท์เป็นแกนกลางสร้าง ชาติสืบต่อไป และความสมานฉันท์จะสิ้นสุดทันทีเมื่อใดก็ตามที่ฝรั่งเศสไม่ได้ปกครองด้วย ระบอบสาธารณรัฐแต่เป็นระบอบการเมืองอื่น ความเป็นสาธารณรัฐมิใช่หมายถึงรัฐที่มีเฉพาะเขตดินแดน แต่หมายถึงรัฐที่เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ถึงแม้จะมีรัฐบาลกี่ยุคกี่สมัยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาบริหารประเทศ แต่ความเป็นสาธารณรัฐและความสมานฉันท์ในฝรั่งเศสต้องดำรงสืบต่อไป สังคมต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อความหลากหลายทางความคิดและพลเมืองของรัฐต้อง มีหน้าที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมิจำกัดแต่เพียงเฉพาะพลเมืองที่อยู่ในยุค เดียวกันเทานั้นแต่หมายถึง พลเมืองทุกยุคทุกสมัยต่างมีหน้าที่ผูกมัดให้ความช่วยเหลือ ประชาชนในยุคปัจจุบันต้องมองเห็นความสำคัญและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหลาน หรือประชาชนในยุคก่อนหน้านี้ และสร้างความสมานฉันท์ในสังคมสืบต่อไป
กล่าวโดยสรุปไม่มีสังคมใดในโลกปราศจากความขัดแย้ง แต่การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อสังคมเรียนรู้ที่จะ จัดการความขัดแย้งมิให้บานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมือง การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยใช้ความรุนแรงแต่เป็น การใช้ความอดทนอดกลั้นและการยอมรับความเห็นต่างทางความคิด นอกจากนี้การเกิดความสมานฉันท์ต้องอาศัยสมาชิกในสังคมทุกคนที่พร้อมจะเรียน รู้ไปพร้อมๆกันมากกว่าความเกลียดชัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น