แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สังคมไทย One-night Stand

ที่มา Thai E-News



One-night Stand ผมได้ยินวัยรุ่นพูดกันบ่อยๆที่ส่อไปในทางเพศ แต่ไม่เคยรู้คำแปลและความหมายแท้จริง เพิ่งจะรู้ว่าหมายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว หรือความสัมพันธ์ชั่วคราว จากข้อเขียนในหนังสือชื่อ 
คู่รัก เมืองใหญ่ และความเร้าใจ Urban “One-night Stand” ของ ยรรยง บุญ-หลง (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2557 หน้า 51-61) 
ที่ผมอ่านอย่างเร้าใจ แล้วอยากให้ใครหลายๆ คนอ่าน จะคัดตอนสำคัญมา ดังนี้
“ตั้งแต่ช่วงยุค 1960 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมาจากหลักคิดของปรัชญา ‘One-night Stand’ ไม่ว่าจะเป็นระบบการคมนาคม ไฟฟ้า ประปา หรือที่อยู่อาศัย
ประเทศไทยได้ชูธุรกิจการ ‘ท่องเที่ยว’ เป็นธุรกิจแม่บทในการพัฒนาประเทศ ซึ่งฟังดูเผินๆ ก็ไม่แปลกอะไรสำหรับประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามจำนวนมาก-ไม่ต่าง อะไรกับยุโรป
แต่หากมองลึกลงไปแล้วเราจะเห็นว่าประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป นั้นได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญๆไปพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนาปรัชญาศิลปะแขนงต่างๆ อย่างมากมาย
ระบบโครงสร้างพื้นฐานของยุโรปได้เสร็จสิ้นลงเป็นเวลานาน แล้ว ก่อนที่ประเทศเหล่านี้จะกลายเป็น ‘เมืองท่องเที่ยว’ อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ระบบคมนาคมแบบรางของยุโรปไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยว แต่มันได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจระหว่างประเทศต่างๆในยุโรป
แต่สำหรับประเทศไทยนั้น ระบบโครงสร้างพื้นฐานได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้เพื่อปรนเปรอธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยในช่วงสงครามเย็น (ปี ค.ศ. 1950-1960) เป็นจุดยุทธศาสตร์และฐานทัพ One-night Stand ขนาดใหญ่ที่เร้าใจที่สุดสำหรับทหารอเมริกัน ก่อนที่พวกเขาจะต้องออกไปรบที่อินโดจีนใน ‘สงครามเวียดนาม’ (หลายท่านที่ไป ก็ไม่ได้กลับมาประเทศไทยอีก) 
ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่ผุดกำเนิดขึ้นมารองรับทหารกองหน้าเหล่า นี้ จะต้องเป็นธุรกิจแบบ ‘เสร็จครั้งเดียว’ ไม่มีเยื่อใย
ใครจะกลับมาโวยวายล่ะครับ ว่าถูกแท็กซี่คิดค่าโดยสารแพงกว่าปกติถึง 5 เท่า หรือถูกหญิงร้าย ‘ยืม’ กระเป๋าสตางค์ไปกลางดึกก่อนที่เขาจะขึ้นเครื่องบินทิ้งระเบิด
ใครจะกลับมาโวยวายเรื่องระบบรถเมล์หรือระบบรถไฟล่ะครับ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กลับชอบเสียด้วยซ้ำที่ได้เห็นของแปลกๆ สักครั้งหนึ่งในชีวิต 
‘นั่นพิพิธภัณฑ์รถไฟใช่ไหม’ นักท่องเที่ยวชาวจีนกล่าว
‘ผมอยากไปดูจังครับ...’ 
และหลังจากที่ผมได้บอกเพื่อนชาวจีนรายนี้ไปว่ามันไม่ใช่ พิพิธภัณฑ์รถไฟ แต่เป็นสถานีรถไฟที่ยังใช้การได้อยู่ มีชื่อว่า ‘หัวลำโพง’ เขาก็ดีใจจนแทบขาดสติ
‘ผมจะรีบไปจองตั๋วรถไฟเลย! ที่เมืองจีนไม่มีรถแบบนี้แล้ว...ไม่มีอีกแล้ว’ เขาวิ่งฝ่าคิวแท็กซี่เข้าไปในสถานีอย่างรวดเร็ว ทำให้หมาหลายตัวที่กำลังนอนอยู่บนชานชาลาแตกตื่นไปด้วย
‘ฝรั่งมาเที่ยวครั้งเดียวก็ไปแล้ว’ เสี่ยใหญ่หัวเราะ ‘เขาชอบมันดิบๆ แบบนี้แหละ’ 
นี่แหละครับคือเกม One-night Stand ที่ ‘ผู้ใหญ่’ ของเราคุ้นเคย (และการกระทำกันบ่อยครั้งกว่าวัยรุ่นยุคนี้เสียอีก)
ในยุคเดียวกันกับที่ประเทศไทยสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานมา เพื่อรองรับการท่องเที่ยว (ยุค 1960) สิงคโปร์ก็กำลังฟื้นฟูคลองน้ำเน่าของเขา ฟื้นฟูสลัม (เกือบ 70%ของบ้านในสิงคโปร์มีลักษณะที่เรียกได้ว่า ‘สลัม’) ให้กลายเป็นอาคารที่สะอาด ตั้งอยู่ใกล้แหล่งโรงงาน โรงเรียน และระบบขนส่งมวลชน มีการให้ประชาชนถือหุ้นในระบบรถเมล์ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้แก่ชาวบ้าน
‘ผมต้องการให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางของธุรกิจในเอเชีย’ นายลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์กล่าวไว้ในหนังสือของเขา ‘From Third World to First’ 
‘ผมต้องวางระบบโครงสร้างพื้นฐานไว้ให้ดี เพื่อดึงดูดการลงทุนมาลงที่นี่ ผมต้องการให้บริษัทระดับโลกมาตั้งสาขาใหญ่ที่นี่’ ”

ผมอ่านแล้วเพิ่งรู้ว่าสังคมไทย One-night Stand เป็นแบบนี้เอง ของดีมีอยู่ในไทยถึงฉิบหายวายวอด ด้วยหวังรวยเฉพาะหน้าของไทยเองนั่นแหละ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น