แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิธีพูดคุย เพื่อหาทางออกจากวิกฤตการเมือง มาร์ค ตามไท

ที่มา Thai E-News



Published on Feb 27, 2014

วิธีพูดคุย เพื่อหาทางออกจากวิกฤตการเมือง : สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.มาร์ค ตามไท

เป็นอีกครั้งที่วิกฤตการเมืองไทยนำพาสังคม­มาสู่จุดตัดของความขัดแย้งรุนแรงที่ก่อให้­เกิดสูญเสียทั้งผู้เกี่ยวข้องและผู้บริสุท­ธิ์ ซึ่งอาจดูเหมือนว่าหนทางที่คู่เห็นต่างจะห­ันหน้ามาพูดคุยเจรจากันเหลือน้อยลงทุกที ....ท่ามกลางความพยายามหาทางออกอย่างมีควา­มหวัง ได้มีตัวอย่างของการลงมือทำด้วยวิธีการ "เจรจา" ให้เห็น กรณีข้าราชการอย่างรองปลัดกระทรวงยุติธรรม­และหลวงปู่พุทธะอิสระ หนึ่งในแกนนำ กปปส. ได้เปิดการพูดคุยกันเพื่อหาทางออกให้ข้ารา­ชการกระทรวงยุติธรรมได้เข้าไปทำงานได้สำเร­็จ และนำมาสู่การหาแนวทางร่วมกันที่จะปฏิรูปก­ระบวนการยุติธรรมด้วยนั้น อาจป็นรูปธรรมหนึ่งของจุดเริ่มต้นของความห­วังในการเจรจา ซึ่งอาจเป็นภาพจำลองกระบวนการพูดคุยของผู้­ที่ คิดต่างในระดับใหญ่หรือวงกว้างขึ้น เพื่อหาแนวทางให้วิกฤตการเมือง ไม่ต้องจบลงด้วยความสูญเสีย คุณวลัยลักษณ์ แสงเปล่งปลั่ง ผู้สื่อข่าว ThaiPBS สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.มาร์ค ตามไท ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพ ที่ผ่านประสบการณ์กระบวนการพูดคุยทั้งในปร­ะเทศและต่างประเทศ ถึงขั้นตอน และแง่มุมต่อวิธีการพูดคุย ร่วมกันเพื่อหาทางออกด้วยการเจรจา
ooo
วิธีเจรจา เพื่อหาทางออกจากวิกฤตการเมือง : สัมภาษณ์พิเศษ มาร์ค ตามไท


เป็นอีกครั้งที่วิกฤตการเมืองไทยนำพาสังคมมาสู่จุดตัดของความขัดแย้งรุนแรง ที่ก่อให้เกิดสูญเสียทั้งผู้เกี่ยวข้องและผู้บริสุทธิ์ ซึ่งอาจดูเหมือนว่าหนทางที่คู่เห็นต่างจะหันหน้ามาพูดคุยเจรจากันเหลือน้อย ลงทุกที

….ท่ามกลางความพยายามหาทางออกที่หลากหลาย การเจรจาคือหนทางหนึ่งที่หลายฝ่ายยังคงหวังจะให้เกิด แต่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครจะต้องทำสิ่งใดบ้างที่จะสามารถทำให้วิกฤตการเมืองไม่ต้องจบลงด้วยความสูญ เสีย

คุณวลัยลักษณ์ แสงเปล่งปลั่ง ผู้สื่อข่าว ThaiPBS สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.มาร์ค ตามไท ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพ ที่ผ่านประสบการณ์กระบวนการพูดคุยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถึงขั้นตอน และแง่มุมต่อวิธีการพูดคุย ร่วมกันเพื่อหาทางออกด้วยการเจรจา

///////

วลัยลักษณ์ : องค์ประกอบของการเจรจา ต้องมีอะไรบ้าง

อ.มาร์ค : ถ้าเป็นความขัดแย้งที่เจรจากันเองได้โดยไม่มีคนที่สาม อาจมีได้บางครั้ง แต่ไม่บ่อยนัก สำหรับกรณีนี้ ผมคิดว่าไม่ได้ จะต้องเป็นบุคคลที่สาม หรือไม่ก็เป็นคณะ หรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ต้องมีอีกฝ่ายที่จะเข้ามา ซึ่งองค์ประกอบของการเจรจาคือจะมีสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทำ เป็นการบ้านหลักของคู่กรณีต้องทำคือ ต้องสามารถอธิบายจุดยืนของตนเองให้ชัดว่า ตนเองต้องการอะไร อยากได้อะไร เรียกร้องอะไร ไม่ใช่แค่ใช้คำเฉยๆ ต้องเป็นแค่รูปธรรมด้วย ไม่ใช่บอกเพียงว่าต้องการประชาธิปไตย แค่นี้ไม่มีประโยชน์เพราะทุกฝ่ายพูดเหมือนกันหมด ต้องชัดมากว่าตัวเองต้องการอะไร ต้องการให้อะไรหายไปจากสังคม ต้องการให้อะไรยังอยู่

ทำไมต้องชัด ก็เพราะในการเจรจา สิ่งสำคัญที่สุดดือแต่ละฝ่ายต้องเข้าใจอีกฝ่าย ไม่ใช่ว่าต้องเห็นด้วยนะ แต่จะต้องเข้าใจว่าอีกฝ่ายกำลังเรียกร้องอะไร เหตุที่ต้องเข้าใจเพราะจะได้บอกได้ สนทนาได้ ว่าที่เขาเรียกร้อง มันเป็นอยู่แล้วหรือไม่เป็น ต้องทำให้จุดยืนตัวเองชัดสำหรับอีกฝ่าย แต่หลายครั้งในประสบการณ์ของผมคือแต่ละฝ่ายไม่สามารถอธิบายความต้องการของ ตัวเองอย่างชัด พอไม่อธิบาย แล้วอีกฝ่ายพูดไปก็ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วต้องการอะไร ฉะนั้นนี่คือการบ้านข้อแรก ทั้งสองฝ่ายต้องชัดมาก เสร็จแล้วต้องเสนอให้อีกฝ่าย ในทางเจรจา ไม่ต้องออกทางโทรทัศน์ก็ได้ ไม่ต้องสาธารณะ พอเขาไม่เข้าใจ ให้โอกาสเขาซักถาม ว่าสิ่งที่คุณบอกว่าต้องการอันนี้คือ อันนี้ แล้วต้องบอกว่าใช่หรือไม่ใช่ ต้องทำให้ตัวเองชัดต่อเขา ทั้งสองฝ่าย

การบ้านข้อที่ 2 ของทั้งฝ่าย ซึ่งอาจจะยาก อาจจะต้องใช้คนที่ 3 ช่วย คือต้องมีจิตนาการที่อยู่กับคนที่เห็นต่างจากเราได้ บางคนไม่ค่อยมีจิตนาการสังคมที่อยู่กับคนที่เห็นต่างจากเรา นึกว่าต้องเห็นเหมือนเราจึงจะอยู่ได้ ถ้าต่างจากเรา เราอยู่กับเขาไม่ได้ หรือเราต้องเปลี่ยนเขา หรือให้เขาออกนอกประเทศ อันนี้เป็นหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ที่ต้องสร้างความเข้าใจกับตัวเอง กับสังคมไทยประเทศไทย ว่าอยู่ร่วมกับคนที่เห็นต่างมากนั้นจะอยู่อย่างไร ซึ่งอันนี้ต้องคนที่สามช่วย เพราะบางครั้งเราไม่ค่อยคุ้นที่จะเข้าใจ เราคล้ายๆว่าจะทำให้เขาเหมือนเรา หรือเราไม่อยากอยู่ใกล้เขา ถ้าในชุมชนเราก็แยกไปอยู่ที่อื่น ไม่ไปยุ่งด้วย แต่ในประเทศไทยมันก็มีแค่นี้ เพราะฉะนั้นเรื่องสำคัญว่าวิธีที่อยู่กับคนที่ต่างจากเรามากจะอยู่อย่างไร ดังนั้นคณะที่สามจะต้องไปพบกับแต่ละฝ่าย เพื่อพัฒนาจุดนี้ บางทีเข้าเรียกว่า จินตนาการทางศีลธรรม คือการไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ถ้าใครไม่เหมือนเราเราไม่อยู่ด้วย อันนี้เป็นการขาดจินตนาการทางสังคม

หน้าที่ของคนหรือคณะที่ 3 ก็คือมีหน้าที่ 2 แบบ คือ 1.หน้าที่ก่อนเจรจา และ 2.ขณะที่เจรจา กรณีที่ก่อนเจรจาจะต้องเตรียม เตรียมสถานที่ให้คนสบายใจ ต้องสบายในหลายๆลักษณะเพื่อที่ให้พร้อมจะเปิดใจคุย ซึ่งคนที่ 3 จะทำแบบนี้ได้ ต้องเข้าใจแต่ละฝ่ายลึกมาก ถ้าความขัดแย้งทางการเมือง สถานที่เหมาะสมก็เป็นที่แห่งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นรัฐบาลกับชาวนา ก็อาจจะเป็นอีกที่หนึ่งที่ทำให้สบายใจ อาจจะไม่ใช่โรงแรมหรูหราเป็นต้น คือต้องหาที่ทีเหมาะสม ฉะนั้นต้องเข้าใจทั้งสองกลุ่มลึกมากว่าอะไรที่ทำให้เขาสบายใจ

นอกจากเรื่องที่ว่าจะต้องอธิบายตนเองให้ชัดถึงจุดยืนแล้ว สิ่งต่อมาที่จะต้องคือตนเองต้องเข้าใจว่าตนเองอยากเห็นอะไร อยากเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไรในระยะยาว ไม่ใช่อยากเห็นประเทศไทยปีนี้เป็นอย่างไรนะ ถ้าสองกลุ่มมีฝันยาวของประเทศ หาจุดร่วมได้ สิ่งนั้นจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเจรจาที่ดีที่สุด

การเจรจามีสองแบบ คือ เจรจาเพื่อยุติชั่วคราว ถ้าเป็นการยิงกัน คือหยุดความรุนแรงชั่วคราว ลงนามนิดหน่อย แต่แบบนี้พอยุติความรุนแรงชั่วคราว ปีหน้าก็กลับมาใหม่ได้ แต่การเจรจาอีกแบบคือ เพื่อหาความเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือจะเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้ประเด็นขัดแย้งหายไป ต้องใช้เวลาระยะยาว ซึ่งใครจะมีแรงกระตุ้นที่จะพร้อมทำระยะยาว ก็ต้องเห็นอะไรร่วมกันในระยะยาวด้วย เช่นความฝันของประเทศไทยในระยะยาว พอพูดแบบนี้มันเหมือนนามธรรม แต่จริงๆแล้วเวลาคุยกัน นี่คือประเด็นที่เป็นหัวใจ เพราะถ้ามีอะไรร่วมกันในระยะยาวก็ทำงานร่วมกันไปถึงจุดนั้นไม่ได้ ระยะสั้นต่างกันไม่เป็นไร วิธีการไปสู่เป้าหมายอาจจะเห็นต่างและเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของโลก สภาพเศรษฐกิจ ฯลฯ ก็ไม่เป็นไร แต่เป้าหมายต้องเหมือนกันนะ แต่ถ้าเป้าหมายต่างกันอันนี้ ยาก เพราะกำลังอยากไปคนละที่กันเลย อันนี้ต้องหาให้ได้ก่อน.

วลัยลักษณ์ : ตอนนี้หลายคนก็พูดถึงการปฏิรูปประเทศที่เป็นเป้าหมายระยะยาวร่วมกัน แต่ระยะใกล้มองต่างกัน ใช้วิธีการต่างกัน ?

อ.มาร์ค : หลายครั้งเวลาพูดถึงระยะยาวเหมือนใช้ภาษาเดียวกัน เช่นคำว่าปฏิรูป แต่มีปัญหาระยะสั้น เป็นไปได้สองอย่าง อย่างที่ 1 คือไม่ชัดเจนว่าเป้าหมายระยะยาวตรงกันจริงรึไม่ชัด พอไม่ชัด ไม่มีคำออกมาเป็นรูปธรรมก็ไม่รู้เนื้อหา เช่นมีแต่คำว่า ปฏิรูปการเมืองที่ใช้กัน อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างน้อยชัดเจนว่าในวงต้องพูดเรื่องการเมือง แต่มันคืออะไร อะไรยอมได้ อะไรยอมไม่ได้ ต้องแจงออกมา อย่างที่ผมบอกในตอนแรกว่าทุกฝ่ายต้องเข้าใจให้อีกฝ่ายเข้าใจจุดยืนของตัวเอง คืออะไร อาจจะอธิบายการปฏิรูปการเมืองแปลว่าอะไร ซึ่งยังไม่ใช่วิธีไปถึงนะ เป็นเพียงแค่อธิบายความหมายของมัน

ประเด็นที่ 2 ที่มักจะทำให้เกิดปัญหาในระยะสั้นคือ สมมติว่าพูดกันแล้วเห็นตรงกันในความหมายระยะยาว แต่วิธีไปถึงกลับไม่เชื่อใจกัน เช่น ตกลงว่าจะยุติความขัดแย้งแล้วจะทำแบบนี้ แต่อีกฝ่ายบอกว่าไม่เชื่อว่าจะทำ ทุกครั้งจะเป็นแบบนี้ ทุกแห่งเลย ไม่ใช่เฉพาะที่นี่ เป็นทั่วโลก ไม่เชื่อเพราะระแวงกัน เพราะฉะนั้นหน้าที่ของคนที่สาม ต้องหาวิธีคือมีหลักประกันว่าเบี้ยวไม่ได้ ไม่ใช่ทำให้การระแวงหายไป เพราะมันไม่หายหรอก แต่ทำให้มีหลักประกันว่าเบี้ยวไม่ได้ เหมือนกับการเจรจาการที่มียิงกันระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มต่อต้านบางอย่าง ถ้าบอกว่า “วางอาวุธ” ฝ่ายที่ต่อสู้ก็บอกว่า แล้วเชื่อได้อย่างไร พอเอาอาวุธไปก็กลับไปแบบเดิม ก็ระแวงกันอยู่ตลอด เพราฉะนั้นต้องมีหลักประกันว่า ความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่จะทำให้เกิดนั้นจะทำจริงๆ

ซึ่งหลักประกันมีได้หลายแบบ จะเริ่มจากกลุ่มที่สามเสนอแบบต่างๆ แต่ในที่สุดทั้งสองพวกต้องเห็นด้วย บางครั้งต้องเป็นหลักประกันแบบกฎหมาย เช่นที่แอฟริกาใต้ ก่อนที่กลุ่มต่อสู้จะยอมเขาบอกว่าต้องเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเลย ใส่กฎหมายบางอย่างไว้เลย เช่นกฏหมายนิรโทษ โดยไม่ใช่แค่บอกว่าจะทำแต่ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ที่เป็นหลักประกันเขาถึงจะยอม เพราะเขาจะรู้หรือบางที่เอาสักขีพยานที่เป็นรัฐบาล สองสามแห่งที่เป็นรัฐบาลใหญ่ๆ มาเป็นสักขีพยานว่าตกลงกันจะทำแบบนี้นะ

สำหรับที่นี่ ประเทศไทยไม่ชอบให้ใครมายุ่ง ก็ต้องหาหลักประกัน โดยการหานั้น ผมไม่มีข้อเสนออะไร แต่เป็นหน้าที่ของคณะที่ 3 ที่ต้องเข้าใจทั้งสองฝ่ายดีพอที่จะรู้ว่าอะไรที่เป็นหลักประกันที่ 2 ฝ่ายยอมรับได้ จะเป็นกฎหมายหรืออะไรที่ทำให้เบี้ยวไม่ได้ ในการแก้ปัญหาเป็นความคิดสร้างสรรค์มาก บางครั้งเหมือนไม่มีทางออก จริงๆ คือยังคิดไม่ออก แต่ต้องทำงานหนักสำหรับคนจะพยายามแก้

วิธีที่ง่ายที่สุดคือทางกลุ่มยอมรับคณะที่ 3 แต่ไม่ได้หมายความว่าให้คณะที่ 3 มาเป็นผู้ตัดสิน เป็นเพียงผู้ประสานการเจรจา บางคนเข้าใจว่าคณะที่ 3 มาแทรกแซง หรือตัดสินแทน ซึ่งจุดนี้น่าจะง่ายขึ้นนิดหน่อยถ้ายอมรับว่า คณะที่ 3 มีอำนาจจำกัด ผมคิดว่าหลายคนที่ไม่ยอมรับคณะนั้น คณะนี้เพราะกลัวว่าคณะที่ 3 จะมาตัดสินหรือมีอำนาจมาก เพราะหลายที่ทำเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น ศาลที่เป็นบุคคลที่ 3 เวลา 2 คนขัดแย้ง และศาลมาตัดสิน แต่เวลาขัดแย้งเช่นนี้ไม่ใช่ ใช้รูปแบบนี้ไม่ได้ คณะที่ 3 ไม่ใช่คนตัดสิน แค่เป็นผู้ประสานซึ่งผมคิดว่าถ้าเข้าใจจุดนี้ทั้งสองฝ่ายน่าจะทดสอบกลุ่ม ต่างๆ เพราะไม่ได้เสียหายอะไร ถ้าใช้ไม่ได้ก็ไม่เอาก็ได้ ไม่ได้เสียหายอะไร น่าจะลอง ซึ่งผมเคยมีประสบการณ์คณะที่ 3 ที่ประชุมครั้งเดียวเลิกเลยก็มี เพราะพอประชุมครั้งแรกว่าคณะนี้ทำไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจบริบทความขัดแย้ง ก็เลิก ไม่ได้เสียหายอะไร ที่จะลองคณะที่ 3 เพราะเราไม่ได้มอบให้เขาตัดสินอะไร เพียงแต่มองว่าเขามีความคิดสร้างสรรค์ มีวิธีการอย่างไรเท่านั้น

วลัยลักษณ์ : ครั้งนี้อาจารย์ลองประเมินว่า การเจรจาน่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่

อ.มาร์ค : มันจะไม่เกิดถ้าคู่กรณีไม่อยากให้เกิด เช่นถ้าเขาไม่มา การเจรจาก็จะไม่เกิด แต่ภาพพจน์ของการเจรจาคือการยอม เหมือนสู้แล้วมายอมกัน เช่นกรณีภาคใต้ที่ผมเคยคุยด้วยบอกว่าที่เจรจาไม่ได้เพราะว่าพรรคพวกเขาเสีย ชีวิตมาตั้ง 2 รุ่นในการสู้กับรัฐไทยเพื่อปัตตานี บางคนเข้าใจว่าการเจรจาเป็นการลดถอยของอุดมการณ์ แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นวิธีได้สิ่งที่ต้องการนะ ไม่ใช่เป็นการยอม เพราะความกดดันนี้ไม่ได้มาเฉพาะแกนนำ แต่มาจากสังคมด้วย เช่นถ้าสังคมบอกว่า จะไปยอมเจรจาทำไม แต่ถ้าเข้าใจว่าการเจรจาคืออีกวิธีหนึ่งที่อาจจะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ก็น่าจะลอง ซึ่งจะได้หรือไม่ ก็ต้องลอง และไม่เสียหายถ้าจะลองแล้วยังไม่ได้ ก็ต้องลองต่อไป และที่คนชอบบอกว่าจะหาใครไม่ได้ ผมก็คิดว่าต้องหาต่อไป

วลัยลักษณ์ : มีเงื่อนไขอะไร ที่จะต้องลดเพื่อให้เกิดการเจรจาไหม เช่นการที่รัฐบาลประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือท่าทีของผู้ชุมนุม

อ.มาร์ค : อะไรก็ได้ ในกรณีที่ฆ่ากันทุกวันเขายังเจรจากันได้ วางระเบิดกัน ตัดหัวกัน เผากัน กลุ่มอย่างนั้นเขายังเจรจากันเลย เรายังไม่ถึงขั้นนั้น ดังนั้นผมคิดว่าทำได้ แต่วิธีทำต่างหาก โดยอาจไม่ใช่วิธีเปิดในตอนแรก และจะต้องไม่เกี่ยวกับการสัญญาใดใด เพราะจะไม่มีความหมายเพราะจะไม่ทำตามสัญญา ไม่ใช่เรื่องสัญญา มันเป็นเรื่องของการหาวิธี

ภาพขนาดย่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น