แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ถลกหนังรัชตะ ประธานที่ประชุมอธิการบดีฯ: ขี้ข้าเผด็จการจารีตตัวเอ้

ที่มา Thai E-News

 
หากวันนี้ พรุ่งนี้ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระที่ต้องรับผิดชอบคือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)  ภายใต้การนำของประธาน ทปอ. คนล่าสุด คือ ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศิษย์รักของ ศ. นพ. อรรถสิทธ์ เวชชาชีวะ พ่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

โดย ที่สุมหัวอธิการบ่ดี

หากวันนี้ พรุ่งนี้ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระที่ต้องรับผิดชอบในฐานะสมรู้ร่วมคิดกันปล้นอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชน คือ “ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) 

ภายใต้การนำของประธาน ทปอ. คนล่าสุด คือ ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศิษย์รักของ ศ. นพ. อรรถสิทธ์ เวชชาชีวะ พ่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ต้องหาบงการสังหารหมู่ประชาชนจากการชุมนุมทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2553
ดูเหมือนว่าตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลอันกว้างใหญ่มีมากมายหลายวิทยาเขต ยังไม่สามารถตอบสนองตัณหา และความกระสันลาภยศ สรรเสริญของ นพ.รัชตะ ได้เพียงพอ 

หรืออาจจะเป็นเพราะต้องตอบแทนอาจารย์ผู้มีพระคุณ อย่าง นพ. อรรถสิทธิ์ที่ผู้สนับสนุนให้ได้ตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาครอง หรืออาจจะเป็น “มือที่มอง (ไม่) เห็นชัดเจนแล้วในปัจจุบัน” ที่ส่งตัวแทนมาเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยบ่อยๆ ทั้งอย่างเปิดเผย และไม่เปิดเผย ฯลฯ ที่ทำให้ นพ.รัชตะ พยายามอย่างเต็มที่ในการรับใช้เผด็จการอำมาตย์ 

ตลอดจนใช้อำนาจในฐานะผู้บริหารสูงสุดของสถาบันวิชาการ ออกมาแสดงจุดยืนตรงข้ามฝ่ายประชาธิปไตย อย่าง ไร้ซึ่งหิริโอตตัปปะ (Conscience) และทำทุกอย่างทั้งในที่ลับและที่แจ้งเพื่อโค่นล้มอำนาจของประชาชนส่วนใหญ่ที่มอบให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ผ่านการเลือกตั้งอย่างถูกต้องในระบอบประชาธิปไตย และเป็นรัฐบาลรักษาการในปัจจุบัน หลังประกาศยุบสภาเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2556
อันที่จริง จุดยืนของ นพ. รัชตะ ก็ไม่ต่างไปจากผู้บริหารส่วนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และนิด้า ในปัจจุบัน ที่ถูกครอบงำโดยเผด็จการจารีต ที่มีบทบาทร่วมด้วยช่วยกันโค่นล้มอำนาจของประชาชน 

ถ้าจะว่าไปแล้ว มหาวิทยาลัยเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็น “นอมินี” ของเผด็จการจารีต โดยเฉพาะมหิดล ที่นับวันจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ 

ในยุคปัจจุบันที่ นพ.รัชตะเป็นอธิการบดี งบประมาณที่ได้รับจากการจัดสรรให้โดยรัฐบาล ส่วนใหญ่ (80-90%) ทุ่มไปให้คณะแพทย์และสาขาด้านสาธารณสุขในสังกัด และผ่านไปสนับสนุนบางสถาบันนอกมหาวิทยาลัยที่เป็นของเผด็จการจารีต 

ดังนั้น การที่ นพ.รัตชะ ออกมาร้องโหยหวนผ่านสื่อเป็นระยะๆ ว่าถูกรัฐบาลตัดงบประมาณมากเกินไป ไม่ถือเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องให้ความเห็นใจแต่อย่างใด เพราะงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรจากภาษีประชาชนให้ไปนั้น นอกเหนือจากเงินเดือนอาจารย์และเจ้าหน้าที่แล้ว ผู้บริหารทีมปัจจุบันของมหิดลได้นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ของคณะที่ตนสังกัด พวกพ้อง 

ตลอดจนช่วยเหลือเกื้อกูลเหล่าเผด็จการจารีต ให้มาโค่นรัฐบาลของประชาชน อาจารย์/นักวิชาการ/นักวิจัยทีสังกัดคณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ถูกจัดความสำคัญให้อยู่ในอันดับท้ายๆ ในการสนับสนุนงบประมาณในการทำวิจัย ต้องรอคอยเศษเงินงบประมาณอันน้อยนิด (ไม่ถึง 10%) 

ที่เหลือจากการปันส่วนให้คณะแพทย์/สาธารณสุข ไม่ว่างบฯ นั้นจะมาจากรัฐบาลโดยตรง หรือจากหน่วยงานให้ทุนของภาครัฐที่จัดสรรให้กับมหาวิทยาลัยต่างหากในแต่ละปี
จึงเป็นเรื่องตลกร้ายเมื่อ นพ.รัชตะ ในฐานะประธาน ทปอ. ได้กล่าวในตอนหนึ่งของการแถลงข่าวออกสื่อกดดันซ้ำชากให้รัฐบาลรักษาการณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลาออก เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ว่า ทปอ.จะขออาสาเป็น จ้าภาพในการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี” 

เพราะในความเป็นจริง สาขาดังกล่าวนี้ที่มหิดลภายใต้การบริหารของ นพ. รัชตะ มีสภาพไม่ต่างจากลูกที่เกิดกับคนขับรถข้างบ้าน (ย่ำแย่กว่าลูกเมียน้อย) ขณะที่เหตุผลของ ทปอ. ในการขอให้รัฐบาลรักษาการณ์ฯ ลาออก ยิ่งน่าขยะแขยงมากกว่า 

โดยสรุปใจความว่า เนื่องจากมีความรุนแรงเกิดขึ้น มีประชาชนบาดเจ็บล้มตาย ดังนั้นรัฐบาลรักษาการฯ จึงควรรับผิดชอบด้วยการลาออก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในกรอบที่เกี่ยวข้องด้านบน) โดย ทปอ. หลีกเลี่ยงไม่แตะต้องม็อบ กปปส.ที่ประชาชนค่อนประเทศ รับรู้ได้ว่า การชุมนุมไม่เลิก พร้อมอาวุธสงครามครบครันของการ์ด กปปส. เป็นต้นเหตุของความรุนแรง และการบาดเจ็บล้มตาย นับตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. 2557 เป็นต้นมา

นอกจากการบริหารมหิดลด้วยความอยุติธรรมแล้ว นพ.รัชตะยังใช้ตำแหน่งหน้าที่ และอำนาจในฐานะผู้บริหารสูงสุดของมหาวิยาลัยในทางการเมืองทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย เพื่อโค่นล้มรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย 

หรือถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่งให้ชัดเจนก็คือ นายแพทย์มือถือสาก ปากถือศีลคนนี้ รับงานเผด็จการจารีตมาทำ โดยหวังลาภยศ สรรเสริญที่มากกว่าการเป็นอธิการบดี 

จึงไม่แปลกที่ที่ทำงานส่วนหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล ในบางวิทยาเขต ถูกใช้เป็นวอร์รูมวางแผนโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มานานแล้ว และมีการประชุมกันหนักขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา (ช่วงที่มีข่าวลือว่า นายกยิ่งลักษณ์จะถูกอุ้ม) จนถึงปัจจุบัน 

ในบางครั้ง นั่งประชุมกันข้ามวันข้ามคืน ไม่ได้หลับได้นอนทั้งหัวหงอก หัวดำ คณบดีบางคณะฯ ที่มีสภาพเหมือนลูกที่เกิดกับคนขับรถข้างบ้านก็ไปร่วมสุมหัวทำเรื่องชั่วกับเขาด้วย จนเมียที่บ้านระแวงคิดว่าไปมีกิ๊ก (หรือแอบไปมีจริงๆ ก็ไม่ทราบ) ฯลฯ
นี่คือสภาพที่น่าอดสูของมหิดลภายใต้การบริหารของ นพ. รัชตะ ที่ไม่เหลือสภาพความเป็นสถาบันวิชาการให้เป็นที่พึ่งของประชาชน และสังคมอีกต่อไป เพราะเลือกข้างเผด็จการจารีตที่ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามประชาชน 

แต่ขณะเดียวกันก็ทำมาหากินบนหลังประชาชนมาหลายทศวรรษ แต่นักศึกษาและครูบาอาจารย์ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจ (โดยไม่ชอบ?) ของ นพ. รัชตะ ไม่มากก็น้อย 

ตัวอย่างเช่น การประกาศงดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2556 ระหว่างเวลา 8.30 – 10.30 น. เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ไปร่วมกันยืนประท้วง/ต้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ในเวลาราชการ (ดูรายละเอียดในประกาศของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม) 

เป็นผลให้อาจารย์และนักศึกษาส่วนหนึ่งที่มีการเรียน-การสอนในช่วงเช้าของวันดังกล่าว ต้องงดการเรียน-การสอนไป และต้องหาเวลานอกมาเรียน มาสอนเอาเองภายหลัง โดยที่ นพ.รัชตะไม่ได้รับผิดชอบแต่อย่างใด หรืออาจไม่ได้ให้ความสำคัญเท่ากับกิจกรรมโค่นล้มรัฐบาล ก็เป็นได้

ก็จริงอยู่ที่ทุกคนมีสิทธิ์เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง แต่ในฐานะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ไม่ควรใช้อำนาจมาประกาศหยุดการเรียน-การสอนเพื่อระดมมวลชนไปทำกิจกรรมดังกล่าวในเวลาราชการ 

ถือเป็นการคอรัปชั่นเวลา และเงินภาษีของประชาชนที่ส่วนหนึ่งนำมาใช้เป็นเงินเดือนสูงๆ ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยที่ส่วนหนึ่งมาจากเงินของประชาชนที่จ่ายเป็นค่าเทอมส่งลูกหลานมาเรียน 

ปากบอกว่ารับไม่ได้กับคนชั่ว คนโกง แต่เคยส่องกระจกชะโงกดูเงาตัวเองบ้างไหม นพ. รัชตะ และผู้บริหาร อาจารย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่มหิดลส่วนหนึ่งที่เห็นดีเห็นงามไปกับม็อบกบฏล้มล้างประชาธิปไตย เห็นเรียกร้องอยากปฏิรูปโน่น ปฏิรูปนี่ ปฏิรูปตัวเองให้มีหิริโอตตัปปะกันก่อนดีกว่าไหม 

แต่ก็ช่างเถอะเพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้โง่ หรือเคลิบเคลิ้มไปด้วยก ก็รู้ๆ กันอยู่ ว่า ทั้งอาจารย์ (นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ) และลูกศิษย์ (นพ.รัชตะ) และสมุนบริวารเผด็จการจารีต กำลังทำทุกอย่างเพื่อแต่งตั้งรัฐบาลคนดี คนกลาง (ใจพวกเดียวกัน) และถ้าจะได้ดีเลิศประเสริฐศรีต้องมีพรรคประชาธิปัตย์ที่อุตส่าห์ Boycott การเลือกตั้งครั้งล่าสุด เป็นรัฐบาลด้วยนะ โดยใช้ทุกองคาพยพและองค์กรอิสระแต่งตั้งโดยอำมาตย์ โค่นล้มรัฐบาลปัจจุบันที่เป็นตัวแทนอำนาจของประชาชน อย่างโจ๋งครึ่ม หน้าด้านๆ ฉาวโฉ่ไปทั่วโลกตอนนี้
อีกเรื่องหนึ่งคือการเอา ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)” มาหากินทางการเมือง ด้วยการบิดเบือนเจตนารมณ์ที่แท้จริงขององค์กรอิสระนี้ ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลักในการช่วยเหลือกันเองระหว่างมหาวิทยาลัย โดยมีจุดยืนที่ชัดเจนว่า
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรอิสระไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง เป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ ความคิด การสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวกับกิจการอุดมศึกษาของประเทศที่เป็นความสนใจร่วมกัน การดำเนินงานจะมุ่งที่ความคล่องตัวและยึดหลักความเป็นอิสระของแต่ละสถาบัน หลีกเลี่ยงไม่ให้มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับทบวงมหาวิทยาลัย แต่จะเสริมและสนับสนุนกัน เพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของการอุดมศึกษาของประเทศ บทบาทของที่ประชุมอธิการบดีฯ นั้นจึงขึ้นอยู่กับบทบาทของมหาวิทยาลัย/สถาบันสมาชิกเป็นหลักสำคัญ
ข้อความข้างต้นนี้คัดลอกมาจากเว็บไซต์ของ ทปอ. (อ่านรายละเอียดได้เพิ่มเติมจากกรอบข้างล่าง หรือที่ลิงค์ http://www.cupt-thailand.net/history.php ถ้าไม่ถูกลบไปเสียก่อน) ที่ นพ.รัชตะ และสมาชิก ทปอ. ควรอ่านทบทวนหลายๆ รอบหน่อย จะได้เข้าใจจุดประสงค์ บทบาทและภารกิจของ ทปอ. ได้ดีขึ้น 

หรือถ้าไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ก็ควรแก้ไขให้ตรงกับความเป็นจริง อย่าปล่อยให้สังคมเข้าใจผิด หรือประจานพฤตกรรมของตัวเองและเหล่าสมาชิกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

อันที่จริง สังคมไทยก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ ทปอ. หรอก ถ้าไม่ออกมาตีกลองร้องปล่าวโฆษณากลุ่มของตัวเองผ่านหน้าสื่อพร้อมๆ กับพฤติกรรมทุเรศๆ อย่างที่ปรากฎ เพราะ ทปอ. มีสมาชิกอยู่ไม่กี่คน (คาดกว่าไม่น่าจะเกิน 50 คน) ที่เป็นตัวแทนจากมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด ให้มาทำภารกิจตามที่ระบุไว้ในกรอบข้างล่าง ไม่ใช่ให้มาเล่นการเมือง 

ดังนั้น ด้วยกลุ่มคนจำนวนนี้ เมื่อเทียบกับคนไทยทั้งประเทศ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ 1 คน 1 เสียงเท่ากัน จึงถือเปกลุ่มเรียกร้องทางการเมืองอื่นๆ กลุ่มขอทานตามวัดบางแห่งตอนมีงานเทศกาล ยังมีจำนวนมากกว่าด้วยซ้ำ 

ดังนั้น ขอร้องเถอะ ท่านประธาน ทปอ. และสมาชิก กรุณาอย่ามาทำเสียงดังคับประเทศ ชี้หน้าว่าคนนั้นเลว คนนี้ชั่ว ต้องออกไป เพราะ พวกท่านเองก็ชั่วไม่น้อยหน้าใครในประเทศนี้ แค่การร่วมมือกับเผด็จการจารีตโค่นล้มประชาธิปไตย พยายามจะยึดอำนาจของคนส่วนใหญ่ไปปกครองกันเอง ก็จัดว่าเลวทรามต่ำช้าที่สุดแล้ว
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้คาดหวังจะเตือนสติ นพ.รัชตะ และพรรคพวกที่ฝักไฝ่เผด็จการ และลาภยศ สรรเสริญต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบแทนถ้าทำงานสำเร็จ เนื่องจากดูท่าจะกู่ไม่กลับเสียแล้ว 

เพียงแค่อยากจะย้ำอีกครั้งว่า “หากวันนี้ พรุ่งนี้ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระที่ต้องรับผิดชอบในฐานะสมรู้ร่วมคิดกันปล้นอำนาจประชาชน จนเป็นเหตุแห่งสงครามนี้ คือ “ทปอ.และในฐานะที่ นพ.รัชตะเป็นประธาน ทปอ. ก็ต้องรับผิดชอบมากกว่าสมาชิก ต่อการถูกเช็คบิลในอันดับต้นๆ คงไม่มีใครไปทำอะไรตัวมหาวิทยาลัยที่มีลูกหลานของประชาชนเล่าเรียนอยู่มากกว่าลูกหลานอำมาตย์ แต่ที่ทำงาน และที่อยู่อาศัยของเหล่าเผด็จการและสมุนทั้งหลาย ไม่ใช่ข้อยกเว้น นี่ไม่ใช่แค่คำขู่คุกคามแบบที่กบฏสุเทพ และแกนนำม็อบ กปปส. กำลังทำอยู่รายวัน 

แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ยากจะหลีกเลี่ยงในภาวะสงครามกลางเมืองที่เคยเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศบนโลกใบนี้
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ประวัติความเป็นมา
ตามประวัติความเป็นมาของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนั้น  ปรากฏว่าก่อนที่จะมีการก่อตั้งที่ประชุมแห่งนี้ขึ้นอาจกล่าวได้ว่า  มหาวิทยาลัยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต คือ รัฐบาลในขณะนั้นกำลังดำเนินการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน ต้องการให้มีการจัดรูปงานและองค์การของราชการเสียใหม่ให้มีหน่วยงานเท่าที่ จำเป็นเท่านั้น คณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารของคณะรัฐบาลได้เสนอให้โอนมหาวิทยาลัยทั้งหมดไป สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจวบกับขณะนั้นได้มีกิจการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ขึ้น และมีปัญหาอยู่ไม่น้อย เหตุดังกล่าวจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่มีส่วนทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ หันมาให้ความร่วมมือแก่กันมากขึ้น  ในการจัดตั้งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนั้น  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  ณ นคร, ศาสตราจารย์ นพ.สวัสดิ์  สกุลไทย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ยกร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นข้อตกลงว่าด้วยการประชุมอธิการบดี พ.ศ. 2515 ขึ้น เมื่อร่างเสร็จจึงมีการจัดประชุมขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 29 มกราคม 2515 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ตกลงเลือกให้ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ  ศรเทศน์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร  ศรีสะอ้าน เป็นเลขานุการฯ  สมาชิกสถาบันที่เริ่มต้นลงนามในข้อตกลงครั้งแรกมี 12 สถาบัน ในภายหลังได้ขยายเพิ่มเป็น 16 สถาบัน และปัจจุบันที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยมีสมาชิกทั้งสิ้น 27 สถาบัน ที่ประชุมอธิการบดีมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Rectors Conference  ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น Council of University Presidents of Thailand เป็นองค์กรอิสระ  ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของอธิการบดีมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีการประชุม พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อประโยชน์ในการประสานงานกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางที่เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น  เสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการอุดมศึกษาของประเทศ และผลักดันความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นให้เกิดผล
บทบาทและกิจกรรมของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงว่าด้วยการประชุมอธิการบดีฯ พ.ศ. 2515 ข้อความในข้อ 3 ระบุว่า ที่ประชุมอธิการบดีทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และติดต่อประสานงาน ที่อยู่ในขอบข่ายความสนใจร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบัน ต่างๆ ที่เข้าร่วมในข้อตกลงที่ประชุมนี้ไม่เป็นองค์กรทางการเมือง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2522 (ในการประชุมครั้งที่ 6/2522) ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนและกำหนดบทบาทของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ดังนี้
1. ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นแหล่งประสานงานส่งเสริมความช่วยเหลือ และการพัฒนามหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น การพัฒนาบุคลากร การร่วมมือพัฒนาคุณภาพ และคุณวุฒิอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยไม่ดำเนินการซ้ำซ้อนกับงานของทบวงมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย ปัจจุบันคือ สกอ.)
2. ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นองค์กรกลางระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ช่วยแนะนำให้คำปรึกษาแก่ทบวงมหาวิทยาลัย และรัฐบาลหรือแสดงท่าทีในด้านต่างๆ ให้รัฐบาลได้รับทราบ
3. ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นองค์กรกำหนดนโยบายในลักษณะการกำหนดท่าที หรือความคิดเห็นกว้างๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นผลประโยชน์หรือปัญหาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาล ส่วนเรื่องใดทำได้เองก็ร่วมมือร่วมใจให้
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรอิสระไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง เป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ ความคิด การสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวกับกิจการอุดมศึกษาของประเทศที่เป็นความสนใจร่วมกัน การดำเนินงานจะมุ่งที่ความคล่องตัวและยึดหลักความเป็นอิสระของแต่ละสถาบัน หลีกเลี่ยงไม่ให้มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับทบวงมหาวิทยาลัย แต่จะเสริมและสนับสนุนกัน เพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของการอุดมศึกษาของประเทศ บทบาทของที่ประชุมอธิการบดีฯ นั้นจึงขึ้นอยู่กับบทบาทของมหาวิทยาลัย/สถาบันสมาชิกเป็นหลักสำคัญ
ปฏิญญาว่าด้วยพันธกิจและสถานภาพของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในศตวรรษใหม่
ประกาศเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2542
ในการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2542 ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
-------------------------------------------
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จึงร่วมกันกำหนดพันธกิจและสถานภาพขององค์กรดังต่อไปนี้
พันธกิจ
1. ทปอ. จะเพิ่มบทบาทการชี้แนะเชิงนโยบายแก่รัฐบาล และชี้นำ ชุมชนและสังคมในการแก้ไขปัญหาพัฒนาและ สร้างภูมิคุ้มกันแก่ชุมชนและสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยองค์ ความรู้จากการศึกษาวิจัยเพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองบนฐานวัฒนธรรม ไทยและด้วยสัมพันธภาพที่ดีกับนานาประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี
2. ทปอ. จะเร่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการของแต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบันและดำรงอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัย โดย
2.1 สร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการ ที่มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ทั้งด้านการเงินการคลัง วิชาการ และบุคลากร
2.2 ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านการวิจัย การบริการวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษา การเรียนการสอน การเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบัน การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนิสิตนักศึกษา และความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ  เป็นต้น
2.3 ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางวิชาการร่วมกันเพื่อความประหยัด และการเพิ่มประสิทธิภาพ
3. ทปอ. จะดำเนินกิจกรรมร่วมกันในโครงการพิเศษอื่นๆ เพื่อส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัย ในด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย และการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทสตรี สันติภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในชาติและในประชาคมโลกด้วย
4. ทปอ. จะสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับรัฐบาล สังคมและชุมชน เพื่อปฏิบัติภารกิจในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสังคมยุคใหม่ ให้เป็นสังคมความรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร และชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น