แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

ประสบการณ์การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

ที่มา ประชาไท



ผมได้รับการติดต่อจากสถานทูตไทยประจำกรุงลอนดอนให้ไปช่วยจัดการการเลือก ตั้ง ณ วัดพุทธปทีป ในวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557 ทำนองว่าให้เป็น กกต. รปภ. หรืออะไรก็ตามแต่ จึงเป็นโอกาสดีที่ผมจะได้ไปเลือกตั้งและช่วยจัดการการเลือกตั้งไปพร้อมๆ กัน ทางเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ นัดให้ไปพร้อมกันเวลา 8.00 น. เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งในเวลา 9.00 น. โดยได้รับแจ้งล่วงหน้าจากทาง กปปส. สาขาประเทศอังกฤษแล้วว่าจะมีการชุมนุมเพื่อคัดค้านการเลือกตั้ง และทางสถานทูตฯ ได้ประสานงานกับทางวัดและทางเจ้าหน้าที่ตำรวจของทางอังกฤษ โดยจัดสถานที่เป็นเต๊นท์สนามสำหรับให้ผู้มาชุมนุมอยู่เป็นสัดส่วนไม่ให้กีด ขวางกระบวนการการเลือกตั้ง
เวลา 9.30 น. ทางผู้ชุมนุมก็เริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มหนาตา ด้วยความที่อยากรู้อยากเห็นผมจึงไปเดินสังเกตการณ์การประท้วงของผู้ชุมนุม ซึ่งประดับด้วยลวดลายธงชาติตามค็อนเส็ปของกลุ่ม กปปส. รวมทั้งมีแผ่นป้ายรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง แม้ผู้ชุมนุมจะคอยโปรยยิ้มสยามอันเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยให้แก่ผู้มาใช้สิทธิ เลือกตั้ง แต่ผมกลับสัมผัสได้ถึงความไม่จริงใจผ่านคำพูดเสียดสีชิงชังจากผู้ที่เรียกตน ว่าเป็นผู้รักษาคุณธรรมและรักชาติยิ่งชีพ
คำพูดถากถางนัยว่าเห็นใจนักเรียนทุนฯ ที่ย่อมต้องเห็นดีงามกับทางสถานทูตฯ เพราะว่ารับเงินเดือนค่ากินอยู่จากสถานทูต หรือว่าคำถามที่เพียรถามว่าได้รับค่าจ้างมาเท่าไรนั้น มันช่างบาดใจเสียเหลือเกิน พอพยายามตะล่อมถามว่าไปได้ยินข่าวมาจากไหนว่านักเรียนทุนถูกบังคับให้มาลง ทะเบียนเลือกตั้ง สิ่งที่ได้แทนคำตอบกลับเป็นคำถามว่าไปได้ยินข่าวนี้มาจากไหน ราวเสียกับว่าผมมโนข่าวนี้ขึ้นมาเสียเอง ด้วยความที่จำที่มาของข่าวนี้ไม่ได้ผมก็คงต้องยอมรับโดยดุษฎีว่าเป็นความผิด ผมที่ด้อยข้อมูลเอง (มานึกออกทีหลังคือได้ยินจากคลิปที่ผู้ชุมนุมกลุ่มเดียวกันไปชุมนุมหน้าสถาน ทูตฯ ในวันที่ 13 มกราคม 2557 ลิงค์ข่าว: http://www.naewna.com/politic/86006)
เมื่อมีผู้เริ่มทะยอยมาใช้สิทธิเลือกตั้งและต้องฝ่าด่านปราการผู้ชุมนุม ผู้คอยกระเซ้าเย้าแหย่ นัยว่ามาเลือกตั้งกันทำไม สนับสนุนให้พวกทรราชพาชาติล่มจมกันอย่างนั้นล่ะหรือ? บางท่านก็ค่อนแคะถามผู้ใช้สิทธิเลือกว่าสะใจหรือไม่ที่มีส่วนช่วยทำลาย ประเทศชาติ กลุ่มคำถามเหล่านี้ทำให้ผมอดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า สิ่งที่ผู้รักชาติทุกท่านเชื่อมั่นและกระทำกันอยู่นั้นช่างเป็นหนทางอันสุด ประเสริฐล้ำเลิศอันจะพาไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนปราศจากการทุจริตคอรัปชั่น จริงๆ แล้วหรือ?
เหตุการณ์ที่คูหาเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรผ่านไปอย่างสงบและปราศจากการ ปะทะ แตกต่างจากบรรยากาศการเลือกตั้งล่วงหน้าที่ไทยที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน อย่างชัดเจน ข่าวที่พอได้รับคือมีผู้เดินทางไปใช้สิทธิถูกฉุดทึ้งโดยฝ่ายผู้ชุมนุมในความ สงบเพราะผู้ประสงค์ใช้สิทธินั้นดื้อรั้นจะเข้าไปเลือกตั้ง บางเขตเลือกตั้งมีการปิดกั้นประตูรั้วจนผู้ประสงค์ใช้สิทธิเลือกตั้งต้องดึง ดันปีนรั้วเข้าไปเอง พอมองย้อนกลับไปในสิ่งที่ผมเพิ่งเจอในรอบวันนั้นก็เริ่มทำให้ผมเริ่มสงสัย ว่า แม้ผู้มาใช้สิทธิสามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้อย่างไม่เดือดร้อนนัก แต่เขาสามารถเข้าไปใช้สิทธิในเขตเลือกตั้งได้อย่างเสรีจริงหรือ?
สิ่งเดียวที่ดีกว่าสถานการณ์ที่ไทยคือการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่วัด พุทธปทีปนั้นไม่มีการปะทะ แต่ความรุนแรงทางความคิดและวาจาไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การเดินผ่านกลุ่มผู้ชุมนุมอาจทำให้ผู้ใช้สิทธิต้องหน้าชาได้ทั้งๆ ที่มีความมั่นใจในสิ่งที่กำลังทำและเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ในฐานะผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งคนหนึ่ง ผมถูกหยิบยื่นความไม่รักชาติให้โดยไม่ต้องร้องขอจากผู้ผูกขาดคำนิยามความรัก ชาติจนผมนึกอยากถามออกไปดังๆ (แต่ทำไม่ได้เพราะหน้าบาง) ว่า ”ใครที่ควรจะคิดถึงความรักชาติมากกว่ากัน ระหว่างคนที่หันหลังให้ประเทศบ้านเกิดของตนแล้วมาใช้ชีวิตในประเทศโลกที่ หนึ่งอย่างเกือบจะถาวร กับนักเรียนทุนคนหนึ่งที่มาอยู่ต่างประเทศเพียงเพื่อเรียนหนังสือและท้ายที่ สุดก็ต้องกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศที่พวกคุณๆ หันหลังให้”
"ถึงผมจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูด แต่ผมจะปกป้องสิทธิในการพูดของคุณด้วยชีวิต" วอ ลแตร์อาจจะไม่ได้กล่าวประโยคนี้อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจผิดกัน แต่มันสื่อถึงสิ่งที่ผมเชื่อมั่นได้มากทีเดียว ถึงผมจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูด ผมจะพยายามไม่ปิดกั้นโอกาสในการที่คุณจะพูดแสดงความเห็น ถึงแม้ผมจะหน้าชาไปบ้างกับความเลวที่ไม่ได้ก่อก็อาจเป็นความผิดที่หน้าผมบาง เอง

อย่างไรก็ดี หากคุณไม่เห็นด้วยกับการที่ผมจะไปเลือกตั้ง แล้วมาลิดรอนสิทธิของผมหรือใครคนอื่นที่มีความปรารถนาคล้ายกัน ผมคงยอมไม่ได้ การมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นไม่ได้หมายความว่าคุณมีสิทธิในการมาก้าวก่าย สิทธิของคนอื่น คุณมีสิทธิโน้มน้าวผมให้เห็นคล้อยตามด้วยเหตุและผล แต่คุณไม่มีสิทธิบังคับขู่เข็ญให้ผมเชื่อในสิ่งที่คุณเชื่อหรือรักในสิ่งที่ คุณรัก
หรือคุณอยากให้สังคมไทยเป็นสังคมจูงจมูก ทำตาม เชื่อตามกัน  ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าสังคมเช่นนั้นคงสงบสุขดีพิลึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น