แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไทยสามารถร้องขอกองกำลังสหประชาชาติช่วยเลือกตั้ง

ที่มา Thai E-News

"เจ้าหน้าที่ทหารขององค์การสหประชาชาติ (UN Military Personnel)  สามารถลาดตระเวนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ว่าสามารถทำการออกเสียงเลือกตั้งตามสิทธิของตนในระบอบประชาธิปไตย โดยปราศจากความกลัวต่อความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้" 


การให้ความช่วยเหลือด้านการเลือกตั้งขององค์การสหประชาชาติ (UN Peacekeeping Electoral Assistance)
รศ.พ.ต.อ.หญิง ณหทัย ตัญญะ   December 29, 2013 at 5:40pm
กองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ (UN Peacekeeping) ให้ความช่วยเหลือกระบวนการเลือกตั้งในหลายวิธีการ รวมไปถึงการเตรียมการด้านการรักษาความปลอดภัย (Provision of Security), การให้คำปรึกษาทางเทคนิค (Technical Advice) และการสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง (Logistical Support)
เมื่อพรรคการเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายใต้เหตุการณ์ความขัดแย้ง ต่างให้ข้อตกลงว่าจะยุติการต่อสู้แล้ว การกำหนดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นนั้นบ่อยครั้งจะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์ อักษรในข้อตกลงเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการบริหารประเทศอย่างถูกต้องตาม กฎหมาย บ่อยครั้งที่การปฎิบัติการรักษารักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาตินั้น ได้รับอำนาจให้แสดงบทบาทโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการเหล่านี้
หลายปี ที่ผ่านมากองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือทาง ด้านเทคนิคและการส่งกำลังบำรุงในการเลือกตั้งที่เป็นขั้นตอนสำคัญในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, ประเทศโกตติวัวร์ (Côte d’Ivoire), ประเทศอัฟกานิสถาน, ประเทศไลบีเรีย และประเทศซูดาน เป็นต้น
บทบาทของกองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ: (The Role of UN Peacekeeping)
องค์การสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ หลากหลายประเภทที่กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่มีการเลือกตั้งเป็นต้นว่า:
  • การช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (Technical Assistance)
  • การสังเกตการณ์ในการเลือกตั้ง (Election Monitoring)
  • การจัดระเบียบองค์กรและการควบคุมดูแลการเลือกตั้ง (Organization and Supervision of Elections) 
จากกฎปฎิ บัติทั่วไปในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีบทบาทในการสนับสนุนด้านความช่วย เหลือในการบริหารการเลือกตั้งภายในประเทศของประเทศนั้นๆ หน้าที่ส่วนใหญ่ที่กองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติจะต้องมุ่ง เน้นเป็นพิเศษคือ การช่วยเหลือทางเทคนิคให้กับองค์กรฝ่ายบริหารของประเทศที่มีหน้าที่เกี่ยว ข้องกับการเลือกตั้ง
การช่วยเหลือทางด้านเทคนิค:  (Technical Assistance)
ประเทศต่างๆสามารถร้องขอความช่วยเหลือกับองค์กรที่มีอำนาจภายในประเทศของตน ซึ่งเป็นผู้ดูแลในการเลือกตั้ง งานและหน้าที่ของกองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติในด้านนี้มีความเกี่ยวข้องกับ:
  • การให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการปฎิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมไปถึงกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าคะแนนเสียงที่ลงไปนั้นได้รับการอารักขาเป็นอย่างดี
  • การให้การสนับสนุนทางด้านการส่งกำลังบำรุง เป็นต้นว่า การแจกจ่ายสัมภาระต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัตรเลือกตั้ง หรือหีบเลือกตั้ง
  • การ ให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ข้อมูลกับประชาชน และให้ความรู้กับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติที่มีอยู่ตามพันธกิจภายในพื้นที่ รวมไปถึง การใช้วิทยุออกอากาศ

ตัวอย่างเช่นการทำประชามติเรื่องเอกราชของประเทศซูดานใต้ (
South Sudan) ได้เกิดขึ้นอย่างสงบสุขตามตารางเวลาที่กำหนดไว้เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2554 โดยเสียงส่วนใหญ่อย่างล้นหลามเป็นจำนวน 98.83 % ของผู้ที่มาออกเสียงเลือกตั้งได้ลงคะแนนให้ประเทศของตนเองเป็นอิสรภาพได้ 
ทางการของประเทศซูดานเป็นผู้รับผิดชอบต่อกระบวนการการทำประชามตินี้ด้วยการให้ การปฎิบัติภารกิจขององค์การสหประชาชาติในประเทศซูดาน - United Nations Mission in Sudan (UNMIS) ทำงานร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ - UN Development Programme (UNDP) และ กรมกิจการทางการเมือง - Department of Political Affairs  (DPA) เพื่อให้การสนับสนุน ซึ่งรวมไปถึงการพิมพ์และแจกจ่ายบัตรเลือกตั้งเป็นจำนวนมากกว่า 10 ล้านใบ รวมไปถึงการอบรมเตรียมการเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำอยู่ที่คูหาเลือกตั้งประมาณ 5,000 คูหา ผู้นำฝ่ายภารกิจและคณะกรรมการระดับสูงนั้น ได้รับการแต่งตั้งโดย เลขาธิการใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ - UN Secretary-General) ด้วยการสนับสนุนการเจรจาระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ๆ หลายพรรคของประเทศซูดาน เพื่อป้องกันไม่ให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้น และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับกระบวนการเลือกตั้งอีกด้วย
การสังเกตการณ์ในการเลือกตั้ง : (Election Monitoring)
ในขณะที่การสังเกตการณ์การเลือกตั้งโดยตัวแทนขององค์การสหประชาชาติเป็นสิ่งที่ในปัจจุบันไม่ค่อยเกิดขึ้น องค์การสหประชาชาติจะตอบสนองอย่างเป็นกรณีพิเศษเมื่อได้รับการร้องขอให้ทำการประเมิน รวมไปถึงการรับรองความชอบธรรมของกระบวนการการเลือกตั้ง
ตัวอย่างคือในปี พ.ศ. 2553 หัวหน้าของ ฝ่ายปฎิบัติการรักษาสันติภาพในประเทศโกตติวัวร์ - United Nations Operation in Côte D’Ivoire (UNOCI) ได้ถูกร้องขอให้ทำการรับรองความถูกต้องในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศ (Certify the Presidential Elections)
การจัดระเบียบองค์กรและการดูแลการเลือกตั้ง : (Organization and Supervision of Elections)
มีเหตุการณ์ในอดีตหลายครั้งที่องค์การสหประชาชาติมีอำนาจอย่างเต็มที่ต่อการจัดระเบียบองค์กรของการเลือกตั้งในประเทศหรือรัฐภาคี ตัวอย่างเช่น ภารกิจการรักษาสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ ได้แสดงบทบาทอันสำคัญในประเทศต่างๆ ดังนี้:
  • ประเทศกัมพูชา (Cambodia): (ปี พ.ศ. 2535-2536) องค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในประเทศกัมพูชา - The United Nations Transitional Authority in Cambodia (UNTAC)ได้กำกับดูแลการรณรงค์เลือกตั้งและการลงทะเบียนของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง รวมไปถึงการเลือกตั้งซึ่งเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536  ประชากรจำนวน 4.2 ล้านคน หรือเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของบุคคลที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด ได้กาบัตรลงคะแนนเพื่อทำการเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly)
  •  
  • หัวหน้าขององค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในประเทศกัมพูชาประกาศว่า การเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์และยุติธรรม  ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 รัฐธรรมนูญของประเทศได้ถูกประกาศใช้และรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีสองคนได้เริ่มปฎิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ
  • ประเทศติมอร์-เลสเต (Timor-Leste): (ปี พ.ศ. 2544) องค์การ บริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก - The United Nations Transitional Administration in East Timor (UNTAET) ได้จัดระเบียบการเลือกตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาสองปีหลังจากที่ประชาชนในติมอร์ตะวันออกโหวตให้ดินแดนของตนเองเป็นประเทศเอกราช การเลือกตั้งเป็นการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 88 คนซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่เขียนและนำเอารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้ามาใช้ รวมไปถึงการก่อตั้งโครงสร้างเกี่ยวกับการเลือกตั้งของครั้งต่อๆ ไปในอนาคต และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศเอกราชอย่างสมบูรณ์
การเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านมาไม่นานนี้ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ: (Recent Elections Supported by UN Peacekeeping)
แผนที่ฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสุนต่อการเลือกตั้งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก
ท่านสามารถคลิ๊กที่  ลิ้งค์นี้ เพื่อจะเห็นภาพขยายของแผนที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือในการเลือกตั้ง โดยกองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ 
การทำงานอย่างเป็นพันธมิตร (Partnerships) เพื่อสร้างความมั่นใจให้การเลือกตั้งมีความสงบและน่าเชื่อถือได้(Partnerships to Ensure Peaceful and Credible Elections)
กองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติทำงานร่วมกันอย่างเป็นพันธมิตรกับองค์กรอื่นๆ รวมไปถึงบางส่วนภายในขององค์การสหประชาชาติเอง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการเลือกตั้งจะได้รับความน่าเชื่อถือและมีความโปร่งใส
องค์ประกอบของการเลือกตั้งในส่วนของภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ หน่วยให้ความช่วยเหลือการเลือกตั้งขององค์การสหประชาชาติ - UN Electoral Assistance Division (EAD) ของ กรมกิจการทางการเมือง - Department of Political Affairs (DPA)
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เสนอความช่วยเหลือทางด้านยุทธศาสตร์ตลอดระยะเวลาของการเลือกตั้งทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพื่อแก้ไขปัญหาข้อ พิพาทต่างๆ หลังจากที่การนับคะแนนได้สิ้นสุดลงไปแล้ว
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นองค์การสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งมาแล้วมากกว่า 100 ประเทศในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา
ความเห็นของผู้แปล
ในเวลานี้การสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดความวุ่นวาย ความรุนแรง ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำลายกระบวนการเลือกตั้งที่เป็นหลักสากลของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ทางฝ่ายรัฐบาลไทย สามารถร้องขอเพื่อให้องค์การสหประชาชาติส่งความช่วยเหลือเข้ามาได้ ตามหน้าที่ในสนธิสัญญาของความเป็นสมาชิกในรัฐภาคี
เรื่องนี้รวมไปถึงการใช้กองกำลังทางการทหารเพื่อปกป้องทุจริตและสร้างความบริสุทธิ์ยุติธรรมให้กับการเลือกตั้ง เพราะหากมีการก่อความไม่สงบเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่ทหารขององค์การสหประชาชาติก็จะปฎิบัติตามกฎหมายสากลที่ใช้กันทั่วโลกทันที
กองกำลัง รักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติมีประสบการณ์ในการดำเนินการกับการก่อกวน หรือสร้างความวุ่นวายต่อการเลือกตั้งมาเป็นเวลานานพอสมควร และเมื่อมีกองกำลังเหล่านี้เข้ามาช่วยเหลือในการปฎิบัติงานร่วมกับรัฐบาลใน รัฐภาคีย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า กระบวนการเลือกตั้งแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไรในสายตาของทั่วทุกมุมโลก และโดยส่วนตัวดิฉันเชื่อมั่นว่า ถ้ามีการสร้างความวุ่นวายเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่ทหารขององค์การสหประชาชาติ ก็จะปฎิบัติตามหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาเพราะใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วทุกมุมโลก 
ประชาชน ผู้รักความสงบส่วนใหญ่ในประเทศได้แต่เฝ้ารอว่าเมื่อไรทางฝ่ายรัฐบาลไทยจะส่ง หนังสือร้องขอให้ทางองค์การสหประชาชาติเข้ามาสนับสนุน และเป็นสักขีพยานในการเลือกตั้งเสียที...
เชิญแชร์บทความได้ตามสบายค่ะ
 
หมายเหตุ บทความนี้ปรากฏอยู่ที่ https://www.facebook.com/notes/tanya-nahathai/เรื่องแปล-การให้ความช่วยเหลือด้านการเลือกตั้งขององค์การสหประชาชาติ/563139797101538 และขอขอบคุณ Doungchampa Spencer ที่กรุณาให้คำแนะนำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น