แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สภาประชาชน คือ ทางออก

ที่มา ประชาไท



ท่ามกลางสถานการณ์การต่อสู้ของประชาชนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง อำนาจทางการเมืองในขณะนี้ มวลมหาประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันว่าต้องการใช้สิทธิการปฏิวัติ(Right of Revolution) ของตนโค่นรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรมแล้ว คำถามสำคัญคือรัฐบาลนั้นจะต้องถูกแทนที่ด้วยอำนาจของประชาชนอย่างไร? ย่อมไม่ใช่ด้วยกองทัพเข้าทำการรัฐประหาร และจัดตั้งรัฐบาลที่ถูกเลือกโดยกองทัพ สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ชอบธรรมเพราะนั่นไม่ใช่อำนาจของประชาชน
ยิ่งในขณะนี้ข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมืองได้ถูกเสนอออกมา แล้ว เราต้องการปฏิรูปประเทศให้เกิดประชาธิปไตยที่จริงแท้ ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นธรรมได้ผู้แทนที่รับใช้ประชาชน เราต้องการข้าราชการที่รับใช้ประชาชน เราต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมกันนำพาการศึกษาของชาติให้พ้นจากความตกต่ำด้วย การตั้งใจลงมือแก้ไขอย่างจริงจังให้เป็นวาระแห่งชาติ ฯลฯ ข้อเสนอเหล่านี้ ต้องการความร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนทุกภาคส่วนเข้าร่วมผลักดันให้เป็นจริง ไม่ใช่เพียงแค่กำลังของแกนนำ หรือกลุ่มบุคคลในแวดวงชั้นนำเพียงหยิบมือหนึ่งซึ่งได้รับการแต่งตั้งเข้ามา
เราจึงต้องมีการจัดตั้งตนเองของประชาชน (Self organization) เพื่อแทนที่รัฐบาลเดิมและผลักดันข้อเสนอที่ดี ที่ตรง ที่สมควร และที่นำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง การจัดตั้งนั้นเป็นอย่างไร
หนึ่ง. การจัดตั้งนั้นเรียกว่า สภาประชาชน ซึ่งเป็นอำนาจของประชาชนที่เข้าแทนที่อำนาจสภานิติบัญญัติของประชาธิปไตยที่ทุนเป็นใหญ่
สอง. สมาชิกสภาประชาชนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมต่อสู้ ประชาชนในที่นี้คือ บุคคลในสาขาอาชีพต่างๆทั้งปวงที่เห็นด้วยกับการปฏิวัติโค่นรัฐบาลที่ปราศจาก ความชอบธรรม และมีการรวมตัวต่อสู้ในสถานที่ต่างๆ สภาประชาชนอาจเกิดขึ้นในขอบเขตจังหวัด อำเภอ ตำบล เทศบาล และ/หรือสาขาอาชีพต่างๆ ตลอดจนองค์กรของประชาชน เช่น สภาคนทำงานสาธารณสุขสุราษฎร์ธานี สภาคนงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออก สภาสภาชาวนาจังหวัดสุรินทร์ สภาข้าราชการทหารทุกระดับชั้นของกองทัพภาค๓ เป็นต้น สมาชิกสภาประชาชนต้องถูกกำกับดูแลและตรวจสอบ กระทั่งถูกถอดถอนได้โดยประชาชนที่เป็นผู้เลือกเข้าไปได้ตลอดเวลา
สาม สภาประชาชนทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศส่งผู้แทนสภา ประชาชนที่ได้รับเลือกของตนมารวมตัวกันจัดประชุมใหญ่ผู้แทนสภาประชาชนแห่ง ชาติที่กรุงเทพฯเพื่อทำหน้าที่กำกับการต่อสู้ของประชาชน และผลักดันข้อเสนอหรือแนวทางในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
สี่ สภาประชาชนแห่งชาติจะต้องจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น โดยเลือกตั้งฝ่ายบริหารจำนวนหนึ่งไปทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระยะ เปลี่ยนผ่าน ทำให้ข้อเสนอที่ได้สัญญาไว้กับประชาชนระหว่างการต่อสู้ เป็นสัญญาประชาคมแห่งการต่อสู้ ให้บรรลุผลเป็นจริง
ห้า สภาประชาชนแห่งชาติเตรียมการให้มีการเลือกตั้งด้วย ระบบที่ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมเป็นใหญ่ แทนที่ระบบเลือกตั้งที่ทุนเป็นใหญ่ กล่าวคือ ให้การเข้าร่วมการเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆตั้งอยู่บนการใช้งบประมาณ แผ่นดินที่เท่าเทียมกัน และเน้นการประชันขันแข่งกันในด้านแนวนโยบายพัฒนาประเทศที่มุ่งเพื่อผล ประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ โดยลงโทษหรือตัดสิทธิ์อย่างรุนแรงกับการใช้ทุนหรือกลไกรัฐเพื่อให้ได้คะแนน เสียง
หก สภาประชาชนแห่งชาติจะมุ่งส่งเสริมกระบวนการมีส่วน ร่วมของภาคประชาชน และการจัดตั้งตนเองในรูปแบบของสภาประชาชน สิทธิการชุมนุม การรวมตัว และสิทธิการปฏิวัติ ให้อยู่อย่างยั่งยืนเพื่อตรวจสอบ และปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหาร และผู้แทนของประชาชน
นี่คือ ประชาธิปไตยทางตรงของประชาชนพลเมืองที่มีสำนึกที่ประชาชนทุกสาขาอาชีพมาร่วม ต่อสู้กันอย่างเสมอบ่าเสมอไหล่เพื่อกำหนดชะตากรรมของสังคมร่วมกัน(Active citizen) ซึ่งแตกต่างจากพลเมืองที่ไร้สำนึกในชีวิตประจำวันปกติและเป็นแต่ผู้ถูก ปกครองภายใต้ประชาธิปไตยที่ทุนเป็นใหญ่(Passive citizen)
นี่คือ ประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่เหนือกว่าประชาธิปไตยที่ทุนเป็นใหญ่
นี่คือ พลังประชาชนที่ไปพ้นจากการพึ่งพาอำนาจอื่น โดยพึ่งพาตนเองและมีความเป็นตัวของตัวเอง
นี่คือทางสายเอกที่จะนำพาประชาชนไปสู่การมีอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น