แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

"นายกฯ ยิ่งลักษณ์" แถลงผลการดำเนินการของครม.ฯ ปีที่ 1 (ชมคลิป)

ที่มา go6tv

วันที่ 24 กันยายน 2556 (go6TV)  ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร ถึงผลการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี ตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐบาลปีที่ 1 โดยมีถ้อยคำแถลงดังต่อไปนี้


กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉันนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ขอเรียนท่านสมาชิกที่เคารพว่า ดิฉันขอใช้เวลาเล็กน้อยในเบื้องต้นในการกล่าวถึงผลการดำเนินงาน 1 ปีของรัฐบาลต่อสภาแห่งนี้ กราบเรียนว่าตั้งแต่วันแรกที่รัฐบาลนี้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ปี 2554 ท่านคงทราบดีว่าบนบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่ และปัญหาสังคมต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่ ปัญหายาเสพติด ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็มีปัญหาในเรื่องของอุทกภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในปี 2554 และในช่วงจังหวะเดียวกันนั้น รัฐบาลได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแห่งนี้ในวันที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยได้ยึดหลักการบริหาร จุดมุ่งหมาย 3 ประการด้วยกัน เรื่องแรก คือการสร้างเศรษฐกิจสมดุลเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ ประการที่สอง คือการสร้างบรรยากาศความเชื่อมั่นที่จะมุ่งไปสู่สังคมของการปรองดองบนหลักของความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ประการที่สาม คือการเตรียมพร้อมการก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
ฉะนั้น ในการส่วนการบริหารงานของรัฐบาลก็ขอเรียนท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในส่วนของ ความท้าท้ายในการบริหารประเทศที่เข้ามาของรัฐบาลในหนึ่งปีแรกนั้น จะเห็นว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจในส่วน จีดีพี ของภาครัฐ หรือรายได้ของภาครัฐนั้น เรายังพึ่งพาการส่งออกอยู่ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การเติบโตในประเทศนั้น ต้องมีการพัฒนาในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจภาย ในประเทศจึงเป็นที่มาของการที่เราได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาว่า เราอยากเห็นการช่วยกันปรับปรุงพัฒนาให้เกิดความสมดุล และเสริมสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแรง
ถ้าเรามาดูในส่วนของรายได้ครัวเรือน ก็จะเห็นว่าถ้าดูจากอัตราการกระจายตัวของผู้ที่มีรายได้น้อยเทียบกับผู้ที่มีรายได้สูงนั้น ยังมีช่องว่างที่ยังมากอยู่ ดังนั้น ถ้าเรากลับไปดูรายได้เป็นรายครัวเรือนของพี่น้องประชาชน จะเห็นว่ามีจำนวนหนี้นอกระบบเกิดขึ้นมากมาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ภาครัฐต้องพยายามช่วยกันแก้คือทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนทีเป็นต้นทุนถูก ทำให้ลดในเรื่องของค่าใช้จ่ายไปได้ ขณะนั้น ปัญหายาเสพติดก็เกิดขึ้นทั่วบ้านทั่วเมือง จึงเป็นวาระที่รัฐบาลได้เสนอเป็นวาระแห่งชาติในการที่เราจะร่วมมือร่วมใจกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
ส่วนความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้นก็ยังมี ก็จะมีทั้งความเหลื่อมล้ำทางด้านของโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในส่วนของสาธารณูปโภค ในส่วนของคมนาคม การศึกษา สาธารณสุข และสังคม ดังนั้นโจทย์จึงเป็นความท้าทายที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนนั้นได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกันและลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่อยู่ในจังหวัดห่างไกลต่างๆ นั้น ถ้าเรามาช่วยกันในการบูรณาการอย่างนี้ และนอกจากนั้นการขาดความต่อเนื่องในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แน่นอนค่ะ ความผันเปลี่ยนความผันแปรทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการบริหารอย่างบ่อยครั้ง มีผลทำให้ความต่อเนื่องในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขาดการติดต่อ ประเทศเรายังไม่เคยมีการลงทุนครั้งใหญ่เป็นเวลา 7 ปี ทำให้ขีดพัฒนาความสามารถในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคมนาคม หรือเรื่องอื่นๆ ต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
สำหรับการเปลี่ยนแปลงถ้าเราดูจากระดับในประเทศไปแล้ว ก็มองว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคหรือในระดับโลก ก็จะเห็นว่าเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ในขณะเดียวกันโอกาสในการเติบโตนั้น ก็ก้าวเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคมีความเปลี่ยนที่พิถีพิถัน และซับซ้อนคำนึงถึงสุขภาพ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
วันนี้ หลายครั้งที่เราเริ่มพูดกันในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาสุขภาพ และสุขภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เราต้องคำนึงถึงในเรื่องของความท้าทายในการที่ จะนำเข้ามาสะท้อนในการบริหารประเทศโดย โครงสร้างความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่มีเทคโนโลยีต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีผลในเรื่องของภัยคุกคามใหม่ ๆ และมีผลการต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงานต่าง ๆ ในวันนี้เปลี่ยนจากโครงสร้างที่เป็นระบบเทคโนโลยีที่อยู่ตามออฟฟิต เปลี่ยนมาเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ล้อมรอบตัวเองไม่ว่าจะเป็น แท็บเล็ตพีซี หรือระบบมือถือต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนามากขึ้นเพื่อให้คนนั้นสามารถใช้เทคโนยีเพื่อตอบ สนองกับชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปจึงทำให้มีผลกับบางอุตสาหกรรมที่จะ ต้องปรับตัวในเรื่องของเทคโนโลยี อย่างเช่น ทางด้านอุตสาหกรรมหลายคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะพีซีตั้งโต๊ะ เปลี่ยนมาเป็นมือถือ แท็บเล็ต ไอแพ็ด นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่รัฐบาลต้องนำเอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ความท้าทายที่เกิดจากปัจจัยภายนอกนั้นมา
ถ้าเรามาดูเรื่องของโครงสร้างประชากร ถ้าเราดูในระยะยาวประเทศจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ การเตรียมมิติต่าง ๆ ที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นฝีมือแรงงาน หรือฝึกแรงงาน หรือการดูแลผู้สูงอายุ วิธีการอย่างไรนั้นก็คงต้องมาสะท้อนในส่วนนี้ด้วย และสุดท้ายการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 คือการรวมตัวก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน
จากความท้าทายต่าง ๆ นั้น มาถึงในส่วนปีแรกของการบริหารงานของราชการชุดนี้ รัฐบาลชุดนี้เข้ามาเราคงไม่ต้องพูดซ้ำว่า ขณะที่เข้ามาเราเผชิญกับปัญหาภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ รัฐบาลได้ประกาศตั้งศูนย์ ศปภ.ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้าง ขณะนั้น ถ้าท่านสมาชิกรัฐสภาคงจำกันได้ว่าในวันนั้น เมื่อปี 2554 รัฐบาลนี้ต้องจัดทำงบประมาณประจำปี พ.ศ.2555 วันนั้น เราไม่มีใครรู้ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นเท่าไหร่ ไม่มีรู้ว่าจะต้องดูแลพี่น้องประชาชนอย่างไร แต่เราทราบแต่เพียงว่ารัฐบาลต้องหางบประมาณในการจัดสรรเพื่อช่วยเหลือเยียวยาไม่วาจะเป็นเรื่องของอุทกภัยต่อชีวิต ผู้คน ทรัพย์สินในส่วนราชการ เราจึงตัดสินใจในการขอตัดงบประมาณปกติจากทุกกระทรวงลงพื้นมาเป็นงบหนึ่งแสนสองหมื่นล้านนั้นเอง ก็จะเป็นงบประมาณที่เราใช้เพื่อการดูแลเยียวยาความเสียหายต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ไร่นา ทรัพย์สินต่างๆ  รวมถึงภาครัฐ ดังนั้นเงินในส่วนนี้มีเพียงประมาณ 8 หมื่นล้านบาท  ที่ใช้เพื่อการป้องกันอุทกภัยไว้ระดับหนึ่ง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาในปีต่อ ๆ ไป เพื่ออย่างน้อยชลอในส่วนของการทำสิ่งก่อสร้างที่จะป้องกันเพื่อไม่ให้น้ำไหล เข้าสู่ปลายน้ำอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจ  
นอก จากนี้  รัฐบาลได้มีการออกพ.ร.ก.กู้เงิน 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท ที่จะแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน  ซึ่งวันนั้นถ้าเราไม่มีการประกาศพ.ร.ก. กู้เงิน 3 แสน 5 หมื่นล้านบาทนั้น  เราก็เชื่อว่าความมั่นใจของนักลงทุนจะขาดความความมั่นใจ เพราะนักลงทุนต้องการเห็นความชัดเจนของรัฐบาลว่า เราจะดูแลปกป้องโดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจหรือการลงทุน  วันนั้นเราตัดสินใจเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิต  และได้มีการบูรณาการการแก้ไขข้อมูลต่างๆ  เพื่อให้เป็นเอกภาพ มีการจัดตั้งกบอ. เพื่อที่จะทำให้เป็นศูนย์วิเคราะห์ในการสั่งการให้เป็นจุดเดียว    รวมถึงการปรับปรุงบูรณาการข้อกฎหมายต่างๆ  ซึ่งในขณะนี้ประเทศได้ประสบปัญหาอุทกภัยอีก รัฐบาลก็ได้ใช้ศูนย์ฯ ในการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ ที่เรียกว่า  กบอ. หรือ  Single Command Center  ในการประกาศเป็นศูนย์ส่วนหน้าที่จะคอยดูแลช่วยเหลือประชาชน อันนี้ก็เป็นเนื้อหาทั้งหมดในส่วนของการแก้ไขและป้องกันในช่วงของการเริ่มต้น
แต่ขณะเดียวกันด้วยความที่เราก็ได้ร่วมมือร่วมใจกันก็ทำให้รัฐบาลนี้สามารถที่จะผ่านพ้นวิกฤตไปได้    ถ้าดูจาก GDP  จะเห็นว่า ตัวเลขการเติบโตของ GDP ในปี 2554 ขณะที่เกิดวิกฤตนั้นก็ถดถอยลงไปประมาณ 0.8 ถึง 0.9% ในขณะเดียวกันได้ก่อขึ้นมาใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน   ถ้าดูจากผลภาพรวมของ GDP  ก็จะอยู่ประมาณ  6% กว่า ในปี 2555
ด้วยการที่ประเทศไทยต้องฟื้นฟูวิกฤตหลังเกิดปัญหาอุทกภัย เวลาของรัฐบาลที่ควรจะต้องแก้ปัญหานั้นก็เกิดต้องแก้ปัญหาในเรื่องของอุทกภัยไป  ก็หายไปแล้ว ประมาณ 5- 6 เดือนแล้ว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ก็ยังมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาในการสร้างความเชื่อมั่นและการเริ่มมีเรื่องของนโยบาย 16 ข้อที่ได้มีการแถลงไว้ต่อรัฐสภา
สำหรับ เรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นนั้น   รัฐบาลได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศโดยการเร่งออกนโยบายเร่งด่วนทั้ง หมด 16 ข้อ เพื่อที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีความเข็มแข็ง  และที่สำคัญพื้นฐานของความสงบและพื้นฐานของการแก้ปัญหาในประเทศก็เป็นพื้น ฐานการเติบโตของเศรษฐกิจ  
รัฐบาลนี้ร่วมกันในการที่จะสร้างบรรยากาศของการปรองดองและไม่ตอบโต้ รวมถึงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย  ทางด้านอุทกภัย  ภาวะอุทกภัยและภัยทางการเมืองด้วย
สำหรับต่างประเทศแน่นอนว่า รัฐบาลได้เร่งการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศอาเซียนหรือพันธมิตรต่าง ๆ  รวมถึงการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ  ซึ่งเราก็ได้มีการเร่งการในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตอนนี้ในกลุ่มแรก รัฐบาลได้เร่งการสร้างความเชื่อมมั่นและสร้างความสัมพันธ์ด้วยการเยือนในกลุ่มของอาเซียนและผู้เจรจา การเยือนนี้ก็เพื่อที่จะแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ  แก้ไขปัญหาในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ซึ่งวันนี้อัตราการเติบโตของการค้าระหว่างอาเซียนนั้นก็มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น  ขณะเดียวกันในกลุ่มต่อไปก็ได้มีเยือนในกลุ่มประเทศมหาอำนาจ เพื่อที่กระชับความสัมพันธ์และรักษาฐานของเราให้คงอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นฐานสำคัญและในการหารือที่จะเพิ่มจำนวนตัวเลขของการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนให้สูงขึ้น ต้องเรียกว่า  การสร้างความสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิมนั้นหรือข้อขัดแย้งเหล่านั้นให้หมดไป  พร้อมรักษาฐานใหญ่ๆ  ของประเทศเพื่อที่จะให้คงอยู่ขณะที่เศรษฐกิจต่างๆ  มีความผันผวน  นอกจากนั้น เราก็เปิดฐานใหม่ อย่างเช่น กลุ่มประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งถือว่าเป็นตลาดใหม่ การที่เราจะไปเปิดตลาดใหม่นั้น แน่นอนการที่จะเข้าไปเริ่มต้นก็ต้องเริ่มต้นจากการสร้างความสัมพันธ์  เริ่มจากการให้ความช่วยเหลือ แล้วถึงจะเป็นเรื่องของการเปิดช่องทางในการที่จะมีการติดต่อระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน ดังนั้น  ลำดับจึงเป็นแบบนี้
นอกจากนั้น ในเรื่องของการเยือน หรือการสร้างความเชื่อมั่นก็ยังมีอีกหลาย ๆ ประเทศที่ต้องการการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของความเป็นประชาธิปไตยของ ประเทศ และกระบวนการต่าง ๆ ของประเทศว่ามีความโปร่งใส เช่น ประเทศในทวีปยุโรป ประเทศกลุ่มใหญ่ ๆ ได้มีการสร้างความเชื่อมั่นทางด้านของการเป็นประชาธิปไตย หรือแม้กระทั่งกลุ่มคณะมนตรีความมั่นคงรัฐอาหรับ จะเป็นกลุ่มที่รัฐบาลต้องสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานเพื่อเสริมสร้างจุด ยุทศาสตร์ของประเทศก็คือความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นจึงเป็นแนวทางของรัฐบาลที่จะต้องมองในเรื่องของมิติ เช่น เรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นในประเทศ และจะทำอย่างไรที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแรง ตลอดจนเสริมสร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศที่ต้องเริ่มจากประเทศในกลุ่ม ที่ใกล้ชิดประเทศไทยมากที่สุด และกลุ่มที่มีการค้ากับประเทศไทยมากที่สุด
ขณะเดียวกันการค้าต่าง ๆ ของประเทศใหญ่ ๆ จำนวนอัตราทางเศรษฐกิจถดถอยลงก็ต้องหาฐานใหม่ จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ในการเยือนต่างประเทศทั้งหมด ขออนุญาตท่านประธานและสมาชิกฯ ในการกล่าวเรียนภาพรวมเบื้องต้นดังนี้ และคณะรัฐมนตรีพร้อมในการที่จะให้รายละเอียดและชี้แจงต่อท่านสมาชิก
ขอบคุณค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น