แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดัน"ไฟต์บังคับ"

ที่มา มติชน


คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร



ประเมินท่าที พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ขณะนี้)แล้ว ชัดเจนว่า จะไม่รัฐประหาร

ด้วยเหตุผลอย่างที่ทราบกัน

ปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ผ่านมากว่า 7 ปี นอกจากจะไม่ทำให้ชาติดีขึ้น ยังทำ "ติดหล่ม" อยู่กระทั่งวันนี้ และยาวไปถึงอนาคต

และที่สดๆ ร้อนๆ ก็คือการรัฐประหารที่อียิปต์ ที่ "กระแทก" เข้าไปในความรู้สึกผู้คน เมื่อมีการเข่นฆ่า ฝ่ายต่อต้านเจ็บ ตาย กว่าพันคน

พีระมิด สถาปัตยกรรมอันมหัศจรรย์และมั่นคงพังทลายใน "ความรู้สึก" คนทั้งโลกไปแล้ว

นี่เป็นผลจากการใช้ปลายกระบอกปืน แก้ปัญหาการเมือง

ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ทราบดี

จึงพยายามย้ำเตือนให้ฝ่ายขัดแย้งทุกฝ่าย ยึดกฎกติกา ยึดกฎหมาย อย่าดึงทหารไปทำวิธีการ "พิเศษ" อื่นใด

ท่า ทีของผู้บัญชาการทหารบก เช่นนี้ ย่อมจะทำให้ฝ่ายอยากจะโค่นล้มรัฐบาล หรือโค่นล้มระบอบทักษิณ ตระหนักดีว่าการคาดหวัง ให้ ทหารทำรัฐประหาร โดย "ภาคสมัครใจ" คงยาก

ต้องมองหาทางอื่น

อยากได้ "รัฐประหาร" มาเป็นตัวช่วย

ต้องทำเป็น "ไฟต์บังคับ" ไม่ใช่ไฟต์สมัครใจ

ซึ่งก็พอจะมองเห็นอยู่สักสองประการ

ประการหนึ่ง พยายามให้เกิด "ปัญหาละเอียดอ่อน" ขึ้น

คงไม่ต้องลงลึกในรายละเอียด หากหลายคนคงพอมองเห็นความพยายามนั้น

ล่า สุดก็คือกรณี "ประมุข" ที่เกิดขึ้นกับ "อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ" พร้อมๆ กับโยนเผือกร้อนไปยังมือของ พล.อ.ประยุทธ์ ด้วยการตั้งคำถามว่า ทำไมไม่จัดการให้สมกับการเป็นผู้ปกป้อง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

อีก ประการหนึ่ง ขอเป็นการอุปมาอุปไมยกับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในสภา ระหว่างการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมก็แล้วกัน

คือมีความพยายาม ให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น

ซึ่ง ไม่อยากกล่าวหาว่า ใครหรือพรรคใด อยากจะ "ซ้อมใหญ่" ให้เกิดความคุ้นชิน เผื่อบางทีต้องเปลี่ยนเวทีจาก "สภา" ออกไป "ท้องถนน" จะไม่ได้ไม่เคอะเขิน

เป้าหมายคือความปั่นป่วนควบคุมไม่ได้

ดังที่เห็นในที่ประชุมสภา ที่บางฝ่าย บอกว่าเป็นเรื่อง "อัปยศ"

ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ

เป็นนักข่าวสภามาหลายปีดีดัก ไม่เคยเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นแต่ก็ได้เห็นในวันนี้

อัน นำไปสู่ ภาพ "กองทัพตำรวจสภา" ยาตราเข้ามารายล้อมบัลลังก์ ประธานรัฐสภา ตรึงกำลังไม่ให้ผู้ทรงเกียรติ กระทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับการ "ทรงเกียรติ"

เป็น "ไฟต์บังคับ" ที่ตำรวจสภาต้องทำ

ไม่ทำไม่ได้

ทั้งที่โดยปกติ ตำรวจสภา "หงอ" และ "หวาดกลัว" ผู้ทรงเกียรติ อะไรที่ไม่คอขาดบาดตาย ไม่หือเด็ดขาด

แต่เพื่อความสงบต้องทำ

ตรงนี้ เลยคิดเลยเถิดไปว่า หรือนี่อาจจะเป็น "โมเดล" ให้ใครหรือฝ่ายใด หยิบมาทดลองใช้

นั่นคือ "ป่วนเหตุการณ์ให้หนักเข้าไว้"

โดยหวังว่า "ฝ่ายที่ 3" ยื่นมือเข้ามาแทรกแซง

ในสภา เป็น "ตำรวจสภา"

ส่วนถ้าเป็น "ท้องถนน" อาจจะมีผู้คาดหวังถึง "ฝ่ายที่ 3" คือ "กองทัพ" เข้ามาควบคุมหรือแทรกแซง

ความ คาดหวังเช่นนี้เอง จึงอาจเป็นแรงจูงใจให้บางฝ่ายที่ตั้งใจจะออกจากสภาไปเคลื่อนไหวบนท้องถนน นอกจากจะยื่นนิ้วก้อยไปผูกมิตรกับกลุ่มมวลชนต่างๆ เพื่อให้ตนเอง "ตัวใหญ่" ขึ้นแล้ว

ยังต้องเคลื่อนไหว "แรง" ถึง "แรงที่สุด" เพื่อให้เกิดภาวะ "ควบคุม" ไม่ได้

จะได้เป็นไฟต์บังคับ ให้ฝ่ายที่ 3 ออกมาแทรกแซง

แล้วจะนำไปสู่ "พิธีพิเศษ" ที่ตนเองต้องการ

ถามว่าเป็นไปได้ไหม ก็คงเป็นไปได้

แต่จบไหม อันนี้ ตอบไม่ได้และอดรู้สึกยะเยือกไม่ได้

เพราะการเมืองบนถนน เส้นแบ่งระหว่างประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย "บางเฉียบ"

หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม หน้า 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น