แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความยากยิ่งในการพยากรณ์การเมืองอียิปต์

ที่มา ประชาไท


อนาคตอาจจะมีคนอียิปต์จำนวนมากอาจเข้าสู่ภาวะนิ่งเฉยในเรื่องการเมือง เพราะเกรงว่าความขัดแย้งที่รุนแรงมากกว่านี้อาจนำอียิปต์ไปสู่ความเป็นรัฐ ล้มเหลวจนถึงวินาทีนี้อาจมีคนอียิปต์เสียชีวิตเพราะถูกกองทัพปราบปรามอย่าง หนักหน่วงถึงหรือกว่า 1,000 ศพไปแล้ว ทำให้ผู้เขียนระลึกถึงตอนปี 2553 ที่มีคนไทยเสียชีวิตไปเกือบร้อยศพกลางเมืองหลวงด้วยสถานการณ์เดียวกัน ข้อกล่าวหาแบบเดียวกัน และสิ่งที่น่าสลดหดหู่เช่นเดียวกันระหว่างไทยกับอียิปต์คือความนิ่งเฉยจากคน ส่วนใหญ่ของประเทศ อาจมีคนบางกลุ่มประท้วงรัฐบาลบ้าง อันนี้ผู้เขียนไม่แน่ใจแต่ที่แน่ชัดก็คือไม่มีคนอียิปต์ออกมาประท้วงการ สังหารหมู่เช่นนี้เป็นเรือนล้านเหมือนกับตอนขับไล่นายมอร์ซีเมื่อก่อนวันที่ 3 กรกฏาคม อันสะท้อนภาพให้เห็นได้ว่าคนอียิปต์โดยเฉพาะพวกเสรีนิยมมีความหวาดกลัวต่อ อิทธิพลของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมซึ่งเป็นกลุ่มมุสลิมหัวอนุรักษ์นิยมและนิยม ความรุนแรงเสียจนต้องไปซุกปีกอันอบอุ่นของทหาร แม้อาจจะเป็นเพียงชั่วคราวก็ตามแต่คงมีคนอียิปต์จำนวนมากถือสุภาษิตว่า "ศัตรูของศัตรูคือมิตรของเรา" อย่างน้อยทหารถึงแม้จะเป็นอภิสิทธิ์ชนแต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนอียิปต์จำนวน มากชื่นชอบคือการไม่ข้องเกี่ยวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของพวกเขา เพราะประธานาธิบดีอียิปต์ที่ผ่านมาหลายคนพยายามสร้างลัทธิฆารวาสนิยม (Secularism) เพื่อคานอำนาจกับพวกมุสลิมหัวรุนแรง
เมื่อมีนักวิชาการแนวสังคมนิยมบางคนจะพยายามวิเคราะห์เป็นเรื่องของผล ประโยชน์ของชนชั้นและบทบาทของมวลชนคือชนชั้นแรงงาน แต่ดูเหมือนท่านจะไม่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลามใน อียิปต์และทั่วโลกซึ่งมีความหลากหลายคือเป็นไปได้ตั้งแต่หัวรุนแรง หัวปฏิรูป หัวปานกลางจนเป็นไปถึงหัวอ่อนหรือฆารวาสที่เน้นทางโลก นักวิชาการท่านนี้จึงไม่สามารถพยากรณ์เหตุการณ์การสังหารโหดเช่นนี้ได้ในบท ความแรก (และผู้เขียนบทความนี้เองก็ยอมรับเหมือนกันว่ามองข้ามบทบาทของกลุ่มภราดรภาพ มุสลิมเหมือนกันอาจเพราะข้อมูลเกี่ยวกับอียิปต์มีไม่เพียงพอ) ท่านได้สรุปเพียงว่าเพราะคนไม่พอใจการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐที่หันไปซบ กับเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ทำให้มวลชนออกมาประท้วงซึ่งดูเหมือนจะจงใจเน้นบทบาทของชนชั้นกรรมาชีพ จนลืมไปว่าผู้ออกมาประท้วงนายมอร์ซีนั้นมีชนชั้นกลางจำนวนมากที่ไม่ได้พอใจ ความไร้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของนายมอร์ซีเพียงอย่างเดียว  เพราะถ้านายมอร์ซีมาจากพรรคการเมืองธรรมดาเป็นพวกเสรีนิยม ประชาชนก็คงไม่ออกมาประท้วงเป็นจำนวนมากและรวดเร็วเช่นนี้เพราะได้ดำรง ตำแหน่งเพียง 1 ปี (หากมองให้เป็นกลาง อาจเป็นไปได้ว่านายมอร์ซีไม่ได้ตั้งใจแช่แข็งการเมืองยุคมูบารักเสมอไป แต่เพราะเขาเข้ามาดำรงตำแหน่งบนเงื่อนไขและสภาพของสังคมที่ระบอบเก่ายังคง ทรงอิทธิพลอยู่ และอำนาจของเขาก็ยังคงมีจำกัด จึงน่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เขาเห็นว่าการสร้างอิทธิพลของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ย่อมทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งให้นานเสียก่อนที่จะมีการปฏิรูปหรือเปลี่ยน แปลงอย่างอื่น)  

แน่นอนว่าความหวาดกลัวและความเกลียดชังต่ออิทธิพล ของพวกเคร่งศาสนาอิสลามย่อมเป็นตัวเร่งขนานใหญ่และระเบิดออกมาในรูปแบบของ การสนับสนุนกองทัพในการเข่นฆ่ากลุ่มภราดรภาพมุสลิมโดยทางตรงและตรงอ้อม ทางตรงได้แก่การเดินขบวนสนับสนุนรัฐบาลในขณะที่พวกสนับสนุนมอร์ซีกำลัง ประท้วงหรือบางกลุ่มก็เข้าร่วมในการทำร้ายและเข่นฆ่ากลุ่มสนับสนุนมอร์ซี ด้วย ส่วนทางอ้อมเช่นการนิ่งเฉยดังที่กล่าวมา ตัวอย่างที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือการที่รัฐบาลตัดสินใจกวาดล้างฆ่าฟันคนนับ พันได้ก็ต้องคาดคะเนถึงทัศนคติของประชาชนทั่วประเทศเสียก่อน ดังนั้นเพียงแค่ตีตราพวกสนับสนุนนายมอร์ซีเป็นพวกผู้ก่อการร้าย รัฐบาลก็สามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่กลัวต่อเสถียรภาพของรัฐบาล(เช่นเดียวกับ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์) ที่สำคัญยังมีคนจำนวนมากเห็นว่าผู้บัญชาการทหารเป็นวีรบุรุษขี่ม้าขาวมาช่วย  อนึ่งการสังหารหมู่เช่นนี้ยังเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดูคือให้มวลชนกลุ่มอื่น เกรงกลัวว่าอาจอยู่ในชะตากรรมเดียวกับพวกสนับสนุนมอร์ซี ในที่สุดแล้วความเงียบของชาวอียิปต์ที่เคยอึงคะนึงเมื่อตอนโค่นมูรซีสะท้อน ความคิดว่าถ้าพวกเขาไม่ร่วมมือกับทหารและชนชั้นปกครอง กลุ่มมุสลิมอื่นๆ นอกจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมก็อาจเข้ามาแทรกแซงการเมืองอันอาจซ้ำรอยเดิม เหมือนกับตอนที่นายมอร์ซีได้ขึ้นครองอำนาจก็ได้
การที่นักสังคมนิยมท่านนี้พยายามผูกขาดคำว่ามวลชนเป็นชนชั้นกรรมาชีพโดย เฉพาะในบทความแรกทำให้มองข้ามสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมว่าแท้ที่จริงพวก เขาก็เป็นมวลชนเหมือนกันที่ยึดครองพื้นที่ในการเมืองอียิปต์ที่เหนียว แน่นกว่ากลุ่มสังคมนิยมเพราะตั้งแต่มีการจัดตั้งองค์กรตั้งแต่ปี  1928 แม้ว่าจะถูกรัฐบาลทหารพยายามกวาดล้างเพียงใด องค์กรนี้ก็ยังคงดำรงอยู่และเฟื่องฟูในยุคท้ายๆ ของนายมูบารักจนได้เป็นรัฐบาลในที่สุด   สมาชิกขององค์กรนี้ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางและชนชั้นกลางค่อนล่าง แต่น่าจะมีอีกมากที่เป็นชนชั้นรากหญ้า ประกอบอาชีพเป็นกรรมกร เป็นช่างฝีมือต่างๆ ที่ก็หวังถึงชีวิตที่ดี สวัสดิการที่ดี และคิดว่านายมอร์ซีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์ของอียิปต์คงจะนำเศรษฐกิจของประเทศหรืออย่างน้อยก็กลุ่มของตัวเองให้ ดีขึ้น สิ่งที่แตกต่างจากกลุ่มสังคมนิยมคือคนพวกนี้ยึดมั่นในศาสนาและองค์การแบบขวา จัดอย่างเหนียวแน่น (ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้ว่าเป็นคนดีเสมอไปเพราะไปก่อกวนและทำร้ายกลุ่มศาสนา คริสต์นิกายคอปติก) ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยกับการตัดความสำคัญของศาสนาออกไปโดยเฉพาะบริบทของ ภูมิภาคตะวันออกกลางดังเช่นการเมืองอียิปต์นั้นเราไม่สามารถวิเคราะห์ได้โดย ชนชั้นและผลประโยชน์ของชนชั้นเช่นเรื่องเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวเพราะสังคม อียิปต์คือความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอัตลักษณ์อันหลากหลายซึ่ง ถูกกดทับในยุคของนายมูบารัก โดยเฉพาะกลุ่มทางศาสนาคงไม่ได้มีแค่ภราดรภาพมุสลิมแต่ก็คงกลุ่มมุสลิมหัว รุนแรงกลุ่มอื่นเช่นกลุ่มนูร์ที่นับถือนิกายซาลาฟิสต์ พวกนิกายชีอะห์   กลุ่มศาสนาคริสต์นิกายคอปติก ฯลฯ  รวมไปถึงกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ  หรือแม้แต่กลุ่มสตรีซึ่งเสียเปรียบมาตลอดไม่ว่ายุคไหน แม้แต่ตอนออกมาประท้วงก็โดนล่วงละเมิดทางเพศ
ทั้งนี้ไม่นับชนชั้นกลางจำนวนหลายล้านคนซึ่งต่อต้านนายมูบารักและนายมอร์ ซีเพราะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและคุณภาพของชีวิตในภาพรวม จำนวนมากคงไม่ใส่ใจเรื่องเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่หรือบางทีไม่รู้จักเสีย ด้วยซ้ำนอกจากเรื่องปากท้องของตน คงมีจำนวนมากที่สนใจในเรื่องประชาธิปไตยผสมทุนนิยมทั่วไปไม่ได้สนใจแนวคิด สังคมนิยมหรืออาจจะต่อต้านเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นไปได้ยากที่คนเหล่านั้นจะสามารถเป็นพันธมิตรกันได้ไปตลอดแม้ว่า ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจจะได้รับการแก้ไขอย่างน่าพอใจในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีตัวแปรสำคัญคือสหรัฐฯ และโลกตะวันตกซึ่งวิตกกังวลอยู่เรื่องเดียวคือความมั่นคงของอียิปต์ที่จะไม่ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมุสลิมหัวรุนแรงหรืออยู่ในภาวะไร้ขื่อไร้แปรเหมือน ซีเรีย
นักสังคมนิยมท่านนั้นอาจมองการเมืองอียิปต์ในด้านดี เชื่อมั่นในพลังมวลชนที่สามารถคลี่คลายไปทางเดียวในอนาคตคือการโค่นล้ม รัฐบาลเผด็จการและนายทุนได้ในที่สุด สารภาพว่าตามจริงแล้วผู้เขียนก็อยากจะให้เป็นเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เขียนเห็นว่าอียิปต์ในยุคหลังมอร์ซีได้เข้าสู่ภาวะ ที่พยากรณ์ได้ยากยิ่งเพราะการเมืองอียิปต์เข้าสู่ภาวะแบบแตกเป็นเสี่ยงๆ  (Fragment) เกินกว่าจะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายแบบง่ายๆ มีชนชั้นปกครองและชนชั้นถูกปกครองที่ร่วมใจกันประท้วง แต่ผู้เขียนขอเสี่ยงตายทำนายว่าในอนาคตไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจได้หรือไม่ ชนชั้นปกครองที่มีอำนาจทับซ้อนกับรัฐบาลอย่างเช่นทหารและตุลาการก็ยังได้รับ การสนับสนุนจากมวลชนอย่างล้นหลามไม่ว่าจะมีจำนวนผู้ประท้วงมากเท่าใดก็ตาม ปัจจัยหนึ่งก็เพราะความกลัวต่อความขัดแย้งของกลุ่มทางศาสนา (Sectarian rift)  ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเปิดประตูให้กับผู้ก่อการร้ายและความวุ่นวายสับสนในสังคม อียิปต์มากขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนี้ได้เกิดมาแล้วกับอิรักที่ใครหลายคนเชื่อว่ากำลังมุ่งหน้า สู่สงครามกลางเมืองหลังจากกองทัพสหรัฐฯ กำจัดซัดดัม ฮุสเซนออกไปในปี 2003
ผู้เขียนยังเชื่ออีกว่าในอนาคตอาจจะมีคนอียิปต์จำนวนมากอาจเข้าสู่ภาวะ นิ่งเฉยในเรื่องการเมือง เพราะเกรงว่าความขัดแย้งที่รุนแรงมากกว่านี้อาจนำอียิปต์ไปสู่ความเป็นรัฐ ล้มเหลว ตัวอย่างที่น่าสลดของซีเรียอาจจะทำให้คนอียิปต์จำนวนมากหวาดกลัวและต้องการ กลับไปอยู่ในยุคของมูบารักอีกก็เป็นได้
อย่างไรก็ตามบทความชิ้นนี้จะถูกต้องหรือไม่ก็ต้องดูสถานการณ์กันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น