แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข้อเรียกร้องของเราต่อนายกอภิสิทธิ์และคนเสื้อแดงก่อนพฤษภาอำมหิต 2553 - See more at: http://blogazine.in.th/blogs/charnvit-kasetsiri/post/4312#sthash.Oq0y2C4y.dpuf

ที่มา ประชาไท

 

OUR PETITION TO PREMIER ABHISIT AND THE RED SHIRTS BEFORE THE BLOODY MAY OF 2010

ก่อนหน้าการนองเลือด “พฤษภาอำมหิต” (2553) เพียง 5 วัน เรานักวิชาการ/กัลยาณมิตร “สันติประชาธรรม” ได้เสนอ “คนเสื้อแดง” ให้ยุติการชุมนุม และให้ “รัฐบาลอภิสิทธิ” ใช้สันติ-ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ก่อนหน้านั้น เราได้เสนอให้ “ยุบสภา” เป็นทางออก)

ก. เราได้เสนอ 3 ช้อ ดังนี้ (โปรดดูแถลงการณ์เต็ม ด้านล่างสุด)

1.       แกนนำ นปช. ที่เป็นฝ่ายช่วงชิง และยึดกุมการนำอยู่ในขณะนี้  ต้องพยายามอย่างถึงที่สุด ที่รักษาชีวิตของผู้ชุมนุมให้ได้  โดยจะต้องยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด  แม้ว่าแกนนำบางส่วนของ นปช. จะไม่ได้รับการประกันตัวตามวิถีทางประชาธิปไตยก็ตาม

2.       รัฐบาล จะต้องมีความอดกลั้นและความมุ่งมั่น ที่จะแก้ปัญหาด้วยแนวทางสันติวิธีให้มากขึ้น นายอภิสิทธิ์ต้องไม่ใช้เรื่องการปรองดอง เพียงเพื่อสร้างภาพพจน์และซื้อเวลาให้กับตนเอง รัฐบาลจะต้องยุติความพยายามใช้กำลังเข้าสลายและปราบปรามผู้ชุมนุม

3.       รัฐบาลจะต้องยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นหลักประกันว่า แกนนำและมวลชนของ นปช. จะต้องได้รับการปฏิบัติทางกฎหมายตามวิถีทางประชาธิปไตย โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติแบบ "สองมาตรฐาน" โดยเด็ดขาด


ข. ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้น ผมได้ส่งบทกวีกรีก ให้ นรม. อภิสิทธิ์ เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ บทกวีมหากวีกรีก Cavafy ว่าด้วย YES หรือ NO

Dear PM Abhisit Vejjajiva: The great Yes or No ?

"For some people the day comes
when they have to declare the great Yes
or the great No.
 
It's clear at once who has the Yes
ready within him; and saying it,
he goes from honor to honor,
strong in his conviction.

He who refuses does not repent.
Asked again,  he'd still say no.
Yet that no--the right no--
drags him down all his life."

(C.P. Cavafy: 1863-1933)
Sincerely yours,
Charnvit Kasetsiri
Thammasat University


ค. บทกวีดังกล่าว เกษียร เตชะพีระ ได้แปลเป็นไทยงดงาม
“แล้ววันหนึ่ง ก็มาถึง เผชิญหน้า
ถามเขาว่า จะประกาศ เป็นอย่างไหน
คำตอนนี้ ชี้ชะตา ตลอดไป
ใช่หรือไม่ ตามตรง จงตอบมา

เห็นได้ชัด ใครมีใช้ ในจิตมั่น
คำตอบนั้น เสริมศักดิ์ สูงสง่า
ใครดื้อรั้น ตาใส ไม่ลดรา
คำว่าไม่ ลากพา ลงโลกันต์”


ง. แถลงการณ์ วันนี้ 14 พฤษภา 2553 (ฉบับเต็ม)
แถลงการณ์โดย กลุ่มสันติประชาธรรม  (๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓)

สังคมต้องการเจตน์จำนงอันแน่วแน่ และแผนปรองดองแห่งชาติ

เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง  ที่ความพยายามที่จะประนีประนอม  ระหว่างรัฐบาลและแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (นปช.) เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเมือง ที่ดำรงอยู่ในขณะนี้  ต้องพังทลายลงอย่างรวดเร็วจนน่าใจหาย  เงามืดของความรุนแรง  การนองเลือด  กำลังก่อตัวเข้าปกคลุมพื้นที่ของผู้ชุมนุมอย่างน่ากลัว  ความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงการขาดเอกภาพในหมู่แกนนำ นปช.   แต่ยังชี้ให้เห็นถึงการขาดเจตน์จำนงอันแน่วแน่ของฝ่ายรัฐบาล  ที่จะแก้ปัญหาด้วยแนวทางประชาธิปไตย-เสรีภาพ-เสมอภาค-ภราดรภาพ  และสันติวิธี

เมื่อแกนนำ นปช. ปฏิเสธ  ที่จะสลายการชุมนุมในทันทีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เสนอเงื่อนไขให้มีการ เลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน และยุบสภาระหว่างวันที่ 16-30 กันยายนได้ทำให้ภาพพจน์ของนปช. กลายเป็นฝ่ายที่บิดพริ้วข้อตกลง ต้องการให้เกิดการแตกหัก  พร้อมจะเอามวลชนเข้าแลก  บ้างก็ว่าเพื่อฟื้นฟูผลประโยชน์ของอดีต นรม. ทักษิณ  บ้างก็ว่า นปช. เป็นพวกได้คืบ  จะเอาศอก  รองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ อุตส่าห์เข้ารายงานตัวต่อกรมสอบสอนคดีพิเศษ หรือ DSI แล้ว นปช.ก็ยังไม่พอใจ กลับเปลี่ยนเงื่อนไขให้นายสุเทพเข้ามอบตัวต่อตำรวจแทน สำหรับผู้ที่ไม่ชอบมวลชนคนเสื้อแดง   ปฏิกิริยาดังกล่าวของ นปช. ย่อมตีความเป็นอื่นไม่ได้

แต่หากวิเคราะห์ข้อเรียกร้อง ที่ให้นายสุเทพเข้ามอบตัวต่อตำรวจแทน DSI  ก็จะพบว่าข้อเรียกร้องดังกล่าว  แยกไม่ออกจากความแค้นเคืองต่อเหตุการณ์ 10 เมษา  ที่ยังฝังแน่นอยู่ในสำนึกของมวลชนคนเสื้อแดง ที่จนกระทั่งบัดนี้  ก็ไม่มีแม้แต่คำกล่าวขอโทษจากนายอภิสิทธิ์  เสมือนว่าการตายและบาดเจ็บจำนวนมากในวันนั้น  เกิดขึ้นกับชีวิตของพลเมืองที่ไร้ค่าของประเทศนี้  อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สังคมไทย โดยเฉพาะสื่อมวลชนกระแสหลัก  ปฏิบัติต่อความตายของคนเสื้อแดงนั้น  แตกต่างราวฟ้ากับดินกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับมวลชนเสื้อเหลือง  เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551  นี่คือภาวะ "สองมาตรฐาน" อีกประการหนึ่ง  ที่สังคมใช้กับคนเสื้อแดง

ฉะนั้น  ก่อนที่จะประกาศให้มวลชนแยกย้ายกันกลับบ้าน  แกนนำ นปช. จำเป็นต้องแสดงให้มวลชนของตนเห็นว่า   เมื่อได้สิ่งที่ต้องประสงค์คือการยุบสภาและเลือกตั้งแล้ว  พวกเขาจะไม่เดินข้ามศพมวลชนของตนไปอย่างรวดเร็ว  แต่พวกเขาต้องการความยุติธรรมเพื่อยืนยันสิทธิในชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บเฉกเช่นประชาชนชาวไทยทุกผู้ทุกนามจะพึงมีโดยเสมอเหมือนกัน

นอกจากนี้  เมื่อแกนนำ นปช. ประกาศรับแผนปรองดองของรัฐบาล   ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่มวลชนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อย  ที่เจ็บแค้นอย่างมากต่อเหตุการณ์ 10 เมษายน นี่คือสิ่งที่สื่อกระแสหลังมองไม่เห็นและไม่เข้าใจ

จริงอยู่ ไม่ว่านายสุเทพ  จะมอบตัวกับ DSI หรือตำรวจ ทุกฝ่ายรู้ดีว่านายสุเทพ จะไม่มีวันถูกจับกุมคุมขัง ตราบเท่าที่พรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นรัฐบาลอยู่ แต่อย่างน้อยประชาชนเสื้อแดง ก็มีความรู้สึกที่ดีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมากกว่า DSI ในยุคของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ ข้อเรียกร้องให้นายสุเทพ เข้ามอบตัวต่อตำรวจจึงเป็นเสมือนพิธีกรรม ว่าการดำเนินคดีต่อผู้มีส่วนในอาชญากรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน ได้เริ่มขึ้นแล้ว เป็นพิธีกรรมเพื่อลดกระแสความไม่พอใจของมวลชนเสื้อแดงที่แกนนำ "สายพิราบ" ตัดสินใจจะยุติการชุมนุม

ปัญหาคือ รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์  ยอมรับพิธีกรรมง่าย ๆ เช่นว่านี้ไม่ได้เชียวหรือ  ทำไมจึงปล่อยให้ประเด็นปลีกย่อยเช่นนี้  มาทำลายเป้าหมายทางการเมือง  ที่สำคัญกว่าหลายเท่า ได้อย่างง่ายดาย  ทำไมเจตน์จำนงที่จะให้เกิดการปรองดองแห่งชาติ  ของนายอภิสิทธิ์จึงอ่อนแอได้อย่างไม่น่าเชื่อ  หรือจริง ๆ แล้วนายอภิสิทธิ์ไม่เคยเชื่อในแผนปรองดองแห่งชาติของตนจริง ๆ เลย  แต่เป็นเพียงกลอุบาย  เพื่อซื้อเวลาให้กับพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลต่อไปเท่านั้

สิ่งนี้สอดคล้องกับความเข้าใจทั่วไปว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์  ปรารถนาที่จะให้มีการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด  แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากกองทัพและเจ้าหน้าที่ตำรวจ  จึงต้องหันมาใช้แผนปรองดองแห่งชาติ  แต่เมื่อแกนนำ นปช. พลาดท่าเสียทีทางการเมือง สูญเสียความชอบธรรมในสายตาสาธารณชน (โดยมีสื่อกระแสหลักเป็นตัวหนุนช่วย) นายอภิสิทธิ์ก็พร้อมที่จะบอกยกเลิกสัญญาในทันที

ฉะนั้น  กลุ่มสันติประชาธรรม  จึงขอยื่นข้อเรียกร้องต่อทั้งฝ่าย นปช. และรัฐบาลดังนี้

1.       แกนนำ นปช. ที่เป็นฝ่ายช่วงชิงและยึดกุมการนำอยู่ในขณะนี้  ต้องพยายามอย่างถึงที่สุดที่รักษาชีวิตของผู้ชุมนุมให้ได้  โดยจะต้องยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด  แม้ว่าแกนนำบางส่วนของ นปช. จะไม่ได้รับการประกันตัวตามวิถีทางประชาธิปไตยก็ตาม

2.       รัฐบาลจะต้องมีความอดกลั้นและความมุ่งมั่น ที่จะแก้ปัญหาด้วยแนวทางสันติวิธีให้มากขึ้น นายอภิสิทธิ์ต้องไม่ใช้เรื่องการปรองดอง เพียงเพื่อสร้างภาพพจน์และซื้อเวลาให้กับตนเอง รัฐบาลจะต้องยุติความพยายามใช้กำลังเข้าสลายและปราบปรามผู้ชุมนุม

3.       รัฐบาลจะต้องยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นหลักประกันว่าแกนนำและมวลชนของ นปช. จะต้องได้รับการปฏิบัติทางกฎหมายตามวิถีทางประชาธิปไตยโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติแบบ "สองมาตรฐาน" โดยเด็ดขาด

ผู้คนทั่วโลก  กำลังเฝ้าดูว่าความล้มเหลวของแนวทางการเมืองในขณะนี้  จะนำไปสู่ความตายอีกกี่ศพ  บาดเจ็บอีกกี่พันคน คนจำนวนไม่น้อยอาจสะใจหรือไม่รู้สึกรู้สมกับความตายของคนเสื้อแดง  แต่บรรดาผู้ที่เรียกร้องให้มีการปราบปรามประชาชน  โปรดตระหนักด้วยว่าคนจำนวนมหาศาล  จะยิ่งรู้สึกเคียดแค้นกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น  ความเคียดแค้นนี้จะสั่งสมและซ้ำเติมสังคมไทยจนยากที่จะเยียวยาได้  ความคับแค้นนี้จะไม่มีวันสลายตัวไปได้  ตราบเท่าที่สังคมนี้ยังปฏิบัติต่อประชาชนเสื้อแดงด้วย "สองมาตรฐาน" ต่อไป

นายอภิสิทธิ์ต้องตระหนักว่าลำพังแค่เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ตนก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็นผู้นำต่อไป แต่สมควรลาออกและประกาศยุบสภาในทันทีภายหลังเหตุการณ์นั้นแล้ว หากนายอภิสิทธิ์ตัดสินใจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมอีกครั้งหนึ่ง และมีผู้บาดเจ็บล้มตายเพิ่มขึ้นอีก นายอภิสิทธิ์จะเป็นผู้นำพลเรือนคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ที่จะถูกประณามและถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ร่วมกับเผด็จการทั้งหลายทั้งปวงในบ้านนี้เมืองนี้

"ถ้ายึดมั่นในหลักประชาธรรมแล้ว
ไม่มีวิธีอื่นใดเพื่อได้มาซึ่งประชาธรรมนอกจากสันติวิธี...
การใช้อาวุธขู่เข็ญประหัตประหารกันเพื่อประชาธรรมนั้น
แม้จะสำเร็จ อาจจะได้ผลลัพธ์เพียงชั่วครู่ชั่วยาม
จะไม่ได้ประชาธรรมถาวร
เมื่อฝ่ายหนึ่งใช้อาวุธแล้ว
อีกฝ่ายหนึ่งแพ้  ก็ย่อมคิดใช้อาวุธโต้ตอบ
เมื่ออาวุธปะทะกันแล้ว จะรักษาประชาธรรมไว้ได้อย่างไร"
(ป๋วย อึ๊งภากรณ์ “บันทึกประชาธรรมไทยโดยสันติวิธี” 2515)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น