แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปภ.เผยน้ำท่วม7จังหวัด!จนท.เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ที่มา Voice TV

 ปภ.เผยน้ำท่วม7จังหวัด!จนท.เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย


อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผย น้ำท่วม 7จังหวัด จนท.เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
 
 
 
 
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัย 7 จังหวัด ได้แก่ ตาก น่าน สกลนคร กาญจนบุรี เชียงราย พะเยา และปราจีนบุรี ดังนี้
          
 
ตาก ระดับน้ำในแม่น้ำเมยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำล้นสปิลเวย์ไหลเข้าท่วมในพื้นที่เทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด รวม 9 ตำบล โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนจอกจอ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนพื้นที่อื่นระดับน้ำสูง 50 - 100 เซนติเมตร อีกทั้งได้เกิดดินทรุดตัวและสไลด์ปิดทับเส้นทางบ้านขุนห้วยแม่สอด ตำบลพระธาตุผาแดง รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเปิดเส้นทางแล้ว
          
 
น่าน เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 4 อำเภอ 9 ตำบล ได้แก่ อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอสองแคว ประชาชนเดือดร้อน 1,011 ครัวเรือน
          
 
สกลนคร เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ 17 ตำบล ได้แก่ อำเภอพังโคน อำเภอบ้านม่วง และอำเภอโพนนาแก้ว ประชาชนเดือดร้อน 14,568 ครัวเรือน
          
 
กาญจนบุรี น้ำป่าซัดสะพานไม้ข้ามแม่น้ำซองกาเลีย (สะพานอุตตมานุสรณ์หรือสะพานมอญ) ขาดเป็นระยะทางประมาณ 70 เมตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกประกาศห้ามใช้สะพาน พร้อมเร่งดำเนินการซ่อมแซมสะพานโดยด่วนแล้ว
         
 
 เชียงราย น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น และ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
          
 
พะเยา เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในอำเภอเชียงคำ รวม 6 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนเดือดร้อน 2,603 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตจากการถูกต้นไม้ล้มทับ 1 ราย
          
 
ปราจีนบุรี น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไหลหลากเข้าท่วมในอำเภอเมืองปราจีนบุรี และถนนสุวรรณศร สาย 33 ปราจีนบุรี - ประจันตคาม บ้านขอนขว้าง ระหว่างหมู่ที่ 10 และ 13
          
 
ทั้งนี้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ได้ร่วมกับ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเจ้าหน้าที่และเครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ เร่งระบายน้ำออกจากถนนและพื้นที่ลุ่มต่ำ พร้อมนำเรือท้องแบน เรือเล็ก รถลากจูง รถแบ็คโฮ รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุก และรถไฟฟ้าส่องสว่าง ออกปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย อีกทั้งนำเครื่องอุปโภคบริโภค ถุงยังชีพ ข้าวกล่อง และน้ำดื่มสะอาด แจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย ตลอดจนเร่งตรวจสอบและสำรวจความเสียหายของพื้นที่ประสบภัย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง
          
 
สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจาก อุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
 
 
Source :   News   Center / naewna /  VoiceTV  ( Image)
 
30 กรกฎาคม 2556 เวลา 19:12 น.

รวมวาทะ 108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง?

ที่มา ประชาไท


วันที่ 26 ก.ค. 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) จัดเสวนาหัวข้อ 108 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน ซึ่งมีผู้ร่วมให้เหตุผลไว้ ดังนี้
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศาสตราจารย์ประจำและอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
"ที่เรามารวมตัวกันที่นี้ เพื่อบอกว่า นักโทษการเมือง จะต้องหมดไปจากประเทศไทยด้วยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ขณะเดียวกัน การนิรโทษกรรมในปี 2556 ต้องไม่ใช่การนิรโทษกรรมเช่นใน เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ที่เป็นการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" ที่ผู้ก่อความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองได้รับการนิรโทษกรรมไปด้วย เพราะประวัติศาสตร์บอกเราชัดเจนว่า ตราบใดที่ผู้กระทำผิดไม่ถูกลงโทษ ก็จะมีความุรนแรงตามมา อย่าให้ประวัติศาสตร์สอนเราว่า เราไม่เคยเรียนรู้อะไรจากประวัติศาตร์ต่อไปอีกเลย"
นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“การนิรโทษกรรมในอดีตที่ผ่านมา 81 ปี ของประชาธิปไตยไทย เป็นการนิรโทษกรรมผู้ที่ละเมิดสิทธิของประชาชน เป็นการนิรโทษกรรมในการทำร้ายประชาชน”
“การนิรโทษกรรมนั้นเป็นสถานปนาความยั่งยืนของประชาธิปไตย จะทำอย่างไรให้ประชาชนที่แตกแยกกลับมาสร้างความเป็นพลเมืองเป็นพลเมืองที่ รอบรู้และเท่าทันเพราะเราไม่สามารรถจะตัดสินใจหรือตัดสินได้ว่าจะเกิดรัฐ ประหารหรือเปล่า หรือเกิดความวุ่นวายทางกรเมืองหรือเปล่า สิ่งที่ขยายไปทางอีสานและภาคเหนือ พบว่าความเสียหายต่อพวกเราที่เกิดขึ้นจากความเสียสละ การนิรโทษกรรมนี้ต้องยืนหยัดปกป้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการชุมนุม สิทธิในการแสดงความเห็น อารยะขัดขืนต่อความฉ้อฉลทางการเมือง สิ่งนี้สำคัญต้องยืนหยัดในการเคลื่อนไหว ไม่ให้บุคคลที่แปลกปลอมทางการเมืองเข้ามาครอบงำ”
“สิ่งที่เป็นปัญหาในระบบของการร่างกฎหมายคือรัฐสภา ร่างฯ ของภาคประชาชนเข้าสู่สภาแต่ไม่เคยมีกฎหมายฉบับไหนประสบความสำเร็จเลย ไม่ว่าจะเป็นป่าชุมชน ประกันสังคม ….”
“มีแต่พวกเราเท่านั้นภาคประชาชนทีได้รับผลกระทบทุกสีทุกกลุ่มต้องผนึก กำลังสังคมให้นิรโทษกรรมเป็นกฎหมายภาคประชาชน และทำให้การเมืองตะหนักว่าการเมืองมวลชนตื่นตัวรู้เท่าทันในการเรียกร้อง สิทธิที่เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนอย่างแท้จริง”
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ศาสตราจารย์ประจำและหัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“หนังเรื่อง only god forgives แปล่าวมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ให้อภัย แปลว่ามนุษย์ไม่ ในหนังก็พูดแบบเดียวกัน ประเด็นของมันก็คือว่าในที่สุดแล้วคนซึ่งอย่าจะแก้แค้นก็ไม่ยอมให้อภัย ไม่ยอมคิดถึงเรื่องของการนิรโทษกรรม 2 เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเดียวกันแต่ก็พันกันอยู่ ดังนั้นในหนังก็เลยอธิบายว่าในสังคมนี้ก็ไม่สามารถจัดการความรุนแรงที่เกิด ขึ้นได้ยกเว้นต้องใช้ความรุนแรงด้วยกันเอง ดังนั้นมีแต่พระเป็นเจ้าเท่านั้นที่จะให้อภัยได้”
“ทำไมการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองในสังคมไทยจึงยาก ในสังคมไทยถ้ามองไป ผมคิดว่าถ้าดูจากพุทธประวัติ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของพระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าเทวทัต ที่สัมพันธ์กับพุทธองค์นี่ ในที่สุดแล้วทั้ง 2 ซึ่งเคยขอยกกรรมซึ่งเคยทำไว้ แม้แต่พระพทธองค์ก็ไม่สามารถที่จะยกกรรมที่พวกเขาทำไว้ได้ ในระบบของจักรวาลวิทยาแบบพุทธนี่การยกโทษจากกรรมการนิรโทษจากกรรมคงทำได้ ยากกว่าในศาสนาอื่น”
นิรโทษกรรมในภาษาฝรั่งใช้คำว่า “Amnesty” คำนี้เป็นญาติกับอีกคำหนึ่ง คำนั้นคือคำว่า “Amnesia” แปลว่าความหลงลืม ปัญหาอยู่ที่ว่าในสังคมต่างๆ ซึ่งถ้าจะคิดเรื่อการนิรโทษกรรมแล้วมันพันกับความหลงลืม บางที่กลายเป็นว่าจะต้อลืมบางอย่าง คำถามที่น่าสนใจในทางสังคมศาสตร์ก็คือว่า ความทรงจำเป็นเรื่องสำคัญ แต่วันนี้ก็คงจะเห็นว่าประเด็นเรื่องความทรงจำมันเปลี่ยนไป หลายสำนักคิดก็พูดว่าจริงๆการหลงลืมก็สำคัญพอกัน ดังนั้นการหลงลืมเป็นฐานของสังคมการเมืองได้ไหม ก็ได้นะครับ”
“เวลาเราคิดเรื่องการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง เรากำลังพูดถึง ความแตกต่างในสังคม เรากำลังพูดถึงการจัดการคามแตกต่างในสังคม เรากำลังพูดถึงสังคมนี้ซึ่งมีประวัติศาสตร์ของการใช้ความรุนแรงจัดการกับ ความแตกต่างในสังคมการเมือง กับความคิดความอ่านทั้งหลาย พอทำไปแล้วปัญหาที่ตามมาก็คือ แล้วจะอยู่ต่อไปอย่างไร ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งในชีวิตของทมนุษย์คือว่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต สิ่งที่ตามมาก็คือมันแก้ไม่ได้ ชีวิตของคุณทั้งกลายที่เดินผ่านมาในอดีตมันกลับไปเปลี่ยนไม่ได้แล้ว คำถามเลยกลายเป็นว่าถ้ามันเปลี่ยนไม่ได้แล้วจะอยู่กับมันอย่างไร ด้วยเหตุนี้การคิดเรื่องการนิรโทษกรรม การคิดเรื่องการให้อภัย การคิดเรื่องวิธีการจัดการกับอดีตเลยกลายเป็นเรื่องสำคัญในทางสังคมการ เมือง”
“สังคมนี้ปล่อยให้มีโรคภัยบางอย่าง โรคภัยนี้คือการบอกว่าถ้าเราคิดต่างกันทางการเมืองคนนั้นเป็นอันตราย เราเชื่ออย่างนี้กันมาตลอด โรคภัยนี้นำมาสู่การจัดการคนซึ่งคิดต่างทางการเมือง ไม่ว่าจะด้วยใช้ยี่ห้ออะไร แล้วในที่สุดจะกลายเป็นต้องปราบ จับกุม ทำร้าย ความทุกข์ทรมานก็เต็มไป ทางออกก็คือเราสงสัยต้องหาวิธีดิ้นให้หลุดจากกับดักทางประวัติศาสตร์ กับดักที่เราไม่ยอมเปลี่ยนแปลงทางความคิดของเรา ถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทยต้องคิดถึงว่าในประเทศนี้มีความเห็นต่างจริงๆ แล้วมันอาจจะต้องคิดต่อไปว่าสิ่งซึ่งเราคิดว่าเป็นความเห็นทางการเมืองแท้ จริงเป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน”
จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย
“การนิรโทษกรรมที่เกิดขึ้นมาหลายครั้งหลายหนจำนวนมากในประเทศไทยส่วนใหญ่ ที่เกิดขึ้นและเกิดขึ้นโดยง่ายก็เป็นการนิรโทษผู้ที่ทำรัฐประหาร นิรโทษตัวเอง นอกจากนั้นก็เป็นการนิรโทษผู้มีอำนาจด้วยกันเอง เช่นผู้ก่อกบฏและผู้ปราบได้ ไม่อยากให้ทะเลาะกันต่อไปก็นิรโทษกรรมกันไปเสีย เป็นการนิรโทษคนระดับสูงในสังคม ส่วนการนิรโทษที่นานๆ จะมีครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยและเกิดขึ้นได้ยากมากก็คิดการนิรโทษประชาชน ผู้ที่เป็นผู้ต้องหา ผู้ที่เป็นจำเลยหรือผู้ที่ถูกคุมจังทางการเมือง”
“การนิรโทษกรรมเป็นการแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐ ไม่ใช่ประชาชนกับรัฐบาล การปล่อยสภาพที่เป็นอยู่มันทำให้คนเผชิญหน้ากับรัฐ และความไม่เท่าเทียมกันมันก่อให้เกิดความโกรธแค้นต่อกันและกัน ไม่เท่าเทียมในการใช้กฎหมาย”
“การนิรโทษเป็นการเยียวยาผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการ ยุติธรรมแบบรวดเร็ว เนื่องจากเขาไม่มีฐานจากการต้องการใช้ความรุนแรงมาแต่ต้นอยู่แล้วด้วย”
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มหาวิทยาลัยแห่งชาติ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต
“ปรองดองกันไม่ได้เมื่อความจริงยังไม่จบ เราทิ้งไว้ข้างหลังแล้วไม่หันกลับไปดู คุณพูดได้เพราะเขามีญาติผู้เสียชีวิต เขาลืมไม่ลง ความจริงต้องปรากฏก่อนที่เราจะเกินไหน้าไปข้างหน้า ดังนั้นตองมีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง และนักโทษการเมืองต้องได้รับการพิจาณาคดีอย่างเป็นธรรม “
“ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมชิกของประชาคมโลกก็มีพันธกรณีในการกป้องสิทธิ มนุษยชนของตัวเอง ในอาเซียนมีสามประเทศที่เดินหน้าในเรื่องนี้อย่างมาก (อินโดนีเซีย, พม่า, กัมพูชา) ไทยก็ควรต้องแสดงให้เห็นว่าไทยปกป้องงสิทธิมนุษยชน อาเซียนเองก็มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และมีการพูดคุยกัยฝ่ายไทยขอให้มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว ไทยเองก็ได้รับแรงกดดดันจากประเทศอื่นเช่นสหภาพยุโรป เมื่อไหร่ที่มีการเจรจาก็จถถูกหยิบยกมาถกเสมอ เราจะเลื่อนการตัดสินใจเรื่องนี้ได้นานแค่ไหน”
“ตอนนี้มู้ดทั้งหมดของคนทั่วไปอยู่ที่คนที่ถูกจับกุมจากการสลายการชุมนุม แต่คนที่ได้รับผลกระทบไม่แพ้กันคือ 112 ซึ่งเป็นนักโทษการเมืองแบบหนึ่งและสะท้อนให้เห็นความผิดปกติของสังคมไทยเป็น อย่างมาก ที่ใช้มาตรานี้อย่างพร่ำเพรื่อ มากมาก ใช้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ ใช้ปิดกปากคนทื่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันทางด้านการเมือง นอกจากนี้คนที่ถูกจับกุมไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม ไม่ต้องพูดถึงกฎหมายที่อมนุษยธรรมมาก นี่เป็นประเทศที่บอกว่ารักสถาบันกษัตริย์ แต่มีกฎหมายที่โหดร้ายรุนแรงมากๆ และผมอายมากๆ ที่เป็นพลเมืองจากประเทศไทยที่ยังพูดอยู่ลอดเวลาว่าเราเป็นประชาธิปไตยมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข แต่เนื้อแท้ไม่ใช่”
อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ เจ้าของ รางวัลปาล์มทองคำ เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 63
“ผมพูดในฐานะคนสร้างภาพที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีกิจกรรมหลักคือการสร้าง ภาพ และเป็นประเทศที่ตอแหลใส่กันจนสร้างความลำบากแก่กันอย่างมาก เมื่อไหร่ที่ไทยจะเลิกตอแหลใส่กัน”
“เราทุกคนตอแหลกันจนเป็นสันดาล และในการตอแหลของเราสร้างความลำบากให้พี่น้องประชาชนอีกมากมาย มันเหมือนน้ำที่หยดลงหิน สิ่งที่เราไม่อยากทำแต่เราต้องทำ จนทำให้สามัญสำนึกของเราสึกกร่อน นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะบอกว่าสิ่งสำคัญที่หายไปจากชีวิตเราก็คือสามัญสำนึก”
“เมื่อเรามาดูร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับต่างๆ ที่เราคุยกัน ผมคิดว่าทุกฉบับยังมีความไม่ชัดเจน หรือไม่ก็ปัดความเกี่ยวข้องกับนักโทษคดี 112 ไปเลย โดยระบุว่าให้ขึ้นอยู่กับศาลจะตีความว่าเกี่ยวกับการขัดแย้งทางการเมืองหรือ ไม่ ผมคิดว่าเราแสดงความขลาดและการเอาตัวรอดโดยหวังลมๆแล้งๆ ว่าศาลจะให้ความเป็นธรรมกับคนกลุ่มนี้ พวกคุณคิดหรือว่าเขาจะให้ความเป็นธรรมกับนักโทษ 112 แน่นอนสำหรับผมคดีนี้เป็นการเมืองยิ่งกว่าการเมืองอีก”
 “รัฐได้กระทำอาชญากรรมทางความคิดแก่ประชาชน ในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมานี้ รัฐได้ประโหมประโคมเยินยอภาพลักษณ์ขงสถาบันกษัตริย์จนล้นปรี่ จนทำให้ตรรกะต่างๆ มันวิบัติ แล้วคุณไม่คิดหรือในเวลา 50 ปี จะมีสักกลุ่มคนหนึ่ง ที่พยายามดึงให้ตรรกะเข้ารูปเข้ารอย หรือแม้จะถามคำถาม แต่สิ่บที่รัฐทำกับคนพวกนี้ ก็คือการอ้างว่าละเมิด ปิดปาก จับเข้าคุก นี่คือความเสื่อมในสำนึกของรัฐอย่างหนึ่ง”
“ผมอยากจะเห็นศาลที่เชิดชูการเห็นต่าง เราไม่จำเป็นต้องปรองดอง ตัวผมผมไม่อยากปรองดองกับใครเลย คือเราอยู่ด้วยกันได้ คุณมีสิทธิพูดเขียนทำหนัง จะเชิดชูฝักใฝ่พรรคการเมืองไหนคุณก็แสดงออกมาคุณต้องโชว์ออกมา แล้วเราไม่เห็นชอบร่วมกันก็ไม่ทำให้ชาติสลาย”
“ที่ผ่านมานักโทษการเมืองเราเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากนักโทษการมเองที่เป็นเจ้า สมัยกบฎบวรเดช จนถึงนักศึกษา จนเป็นนักเขียน นักคิด จนถึงขณะนี้นักโทษการเมืองส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้าน ผู้ซึ่งสำนึกแล้วว่าตนเองเป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริง”
“สังคมไทยมีอาการสามัญสำนึกเสื่อม เราอยู่ในประเทศไทยเหมือนตกนรก เราร่วมชะตากรรมและคนทั้งประเทศอยู่กับเรา ให้เราได้คิดว่าอะไรคือความเป็นไทย อะไรคือความเมตตาอย่างแท้จริง พรบ. นิรโทษกรรมเป็นหนึ่งในการแก้ปมที่บรรพบุรุษและเราได้สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะ บีบรัดกันและกัน เราต้องสร้างรัฐที่เคารพความเป็นคน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเชื่อสิ่งใดก็ตาม และเมื่อนั้นเราจะได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง”
อภินันท์ บัวหภักดี นักเขียน-ช่างภาพ อนุสาร อสท. อดีตนักโทษการเมืองจาก ม.112 สมัย 6 ต.ค.19
“ในการทำสงครามสมัยก่อนถ้าแฟร์ๆกันจริงๆ หัวหน้าต่อหัวหน้าเขาก็มาสู้กัน เขาไม่ปล่อยให้ลูกน้องเป็นอะไร หวัหน้าต่อหัวหน้ามาฟันกันเลย เพราะฉะนั้นบรรดาหญ้าแพรกทั้งหลายปล่อยเขาไปเถอะครับ ช้างสารชนกันก็ให้ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็ปล่อยเขาไปเถอะครับ”
วาสนา มาบุษย์ มารดาของนักโทษการเมือง นส.ปัทมา มูลมิล
“ตลอดสามปีไม่เคยได้รับความเป็นธรรม ไม่เคยได้รับการประกันตัว ศาลก็ไม่เคยไต่สวนว่าลูกสาวทำผิดอะไร ตำรวจ ก็จับตามสำนวน  อยากขอร้องผู้มีอำนาจให้ปล่อยลูกสาวดิฉันด้วย”
สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะแกนนำกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลและกลุ่ม 29 ม.ค.หมื่นปลดปล่อย
“การนิรโทษกรรมไม่มีรายละเอียดมากมายที่เราจะต้องมาถกเถียง มีแค่หัวใจของคุณที่เป็นมนุษย์คนหนี่งก็พอแล้วค่ะ”
“ภาพของการจับกุมที่ใช้เจ้าหน้าที่ทหารแทนที่จะใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจตาม ภาวะปกติ เป็นต้นทางของความอยุติธรรมทั้งปวง เราคงไม่ต้องบอกว่าทำไมเราถึงเรียกร้องการนิรโทษกรรม เมื่อต้นทางมันไม่เคยเป็นธรรม”
“การปล่อยนักโทษการเมืองไม่เพียงแค่คืนความเป็นธรรมให้กับพวกเขา นักสู้ที่มีความปราถนาดีต่อประเทศชาติเท่านั้น แต่มันกำลังจะเป็นก้าวแรกของสังคมไทยที่จะสามารถร่วมมือกันได้ในทุกๆฝ่าย จะเป็นก้าวแรกของการปรองดองที่จะทำให้สังคมไทยกลับมาไว้เนื้อเชื่อใจกันอีก ครั้ง”
ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ประจำคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา
“มีเหตุผลอยู่ร้อยแปดพันเก้า แต่สุดท้ายแล้วประมวลได้เหตุผลเดียวเท่านั้นคือ ความอยุติธรรม ความอยุติธรรมปรากฏตั้งแต่เรื่องการนิรโทษกรรมในเมืองไทยที่หลายครั้งเป็นกา รนริโทษกรรมให้กับผู้ก่อรัฐประหาร เป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้ก่อความขัดแย้งกันเอง ผู้มีอำนาจกันเอง มันสะท้อนว่ามีชนชั้นคนที่ไม่เท่ากันในสังคม เมื่อไหร่ทีเป็นความขัดแย่งในหมู่ชนชั้นนำ ผู้มีอำนาจกันเองเขานิรโทษกรรมกันเองง่ายเหลือเกิน โดยเฉพาะการก่อรัฐประหารทีเป็นความผิดฐานกบฏ เป็นความผิดที่ลบล้างกันได้ แต่ถ้าคุณเกิดผิดชนชั้นการะทำการกระด้างกระเดื่องต่อรัฐ ตอบโต้ความอยุตธิรรมของรัฐ คุณถูกจับดำเนินความผิด การลบล้างนั้นยากเหลือเกิน”
“การดำรงอยู่ของกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างทีผ่านมาก็สะท้อนภาพสังคมคือความ อยุติธรรมเหล่านี้เป็นพื้นฐาน การกระทำใดๆ ที่จะได้รับนิรโทษกรรมนั้นขึ้นกับชนชั้น ความอยุตธิรรมประการที่สองที่สำคัญมาก คือกระบวนการยุติธรรม แต่ทุกวันนี้เราน่าจะพูดกันชัดๆ ว่ากระบวนการยุติธรรมอันไม่เที่ยงธรรมซึ่งคือกระบวนกรรอยุติธรรม”
“ปัญหานักโทษการเมืองหรือการนิรโทษกรรมมีหลักง่ายๆ คือเมื่อไหร่มีนักโทษการเมือง ควรจะปล่อย เพราะในประเทศอารยะ ประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าอยากให้เชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยไม่ควรมีนักโทษการเมือง ถ้าหากรัฐบาลนี้ยอมรับหรือรัฐบาลไหนก็แล้วแต่ยอมรับว่ามีนักโทษการเมืองก็ ต้องปล่อย เพราประเทศที่ต้องการจะเป็นประชาธิปไตยไม่ต้องมีนักโทษการเมือง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการลงโทษคนอันเนื่องมารจากเหตุผลทางการเมืองหรือคาว มคิดที่แตกต่างกัน ถ้าต้องการเป็นประเทศอารยะ ถ้าพยายามจะเป็นประชาธิปไตย คำตอบคือปล่อยทันที เพราะคนเหล่านี้ไม่มีความผิด”
“ทำไมในต่างประเทศจึงสนใจคดี 112 มองเป็นเลนส์ในการมทองประเทศไทยเพราะต้องการดูว่าประเทศไทยจะสามารถลบล้าง ความป่าเถื่อนที่ดำรงอยู่ได้หรือเปล่า คุณอาจจะด่าว่าเขาไม่เข้าใจความเป็นไทย ผมคิดว่าเขาไม่สนใจ เขามองว่าประเทศไทยยังป่าเถื่อนอยู่”
“ถ้ากระบวนการยุติธรรมทีเป็นธรรมมีอยู่จริง เราไม่ต้องกลัว แต่เพราะกระบวนการมันไม่ยุติธรรม เพราะกระบวนการยุติธรรมเชื่อถือไม่ได้ เพราะกระบวนการยุติธรรมไม่เป็นที่พึ่งกุญแจอยู่ตรงนี้ กระบวนการยติธรรมที่คนดำเนินไปและจัดการได้ แต่เราเห้นอยู่ว่กระบวนกรยติธรรมในประเทศไทยเป็นอย่างไร เอื้ออำนวยให้ผ็มีอำนาจ เอื้ออำนวยให้ชนชั้นหนึ่ง แม้แต่คนที่ตอบโต้กับการกระทำของรัฐที่ไม่ยุติธรรม ก็ยากเหลือเกินที่จะเคลียร์ความผิดให้คนเหล่านี้”
“ตุลาการของไทยยึดฝ่าย ยึดอำนาจ ยึดว่าตัวเองเป็นตุลาการของพระราชา แต่ต้องยึดหลักเดียวคือหลักยุติธรรม ความเที่ยงธรรม แต่กรณีที่เกี่ยวกับกฎหมายความมั่นคง ตุลาการของไทยยึดหลักเข้าข้างอำนาจ นี่เป็นมาตลอดก่อนยุคเสื้อแดงหลายทศวรรษแล้ว ตัวอย่างง่ายๆ ที่นานาชาติไม่เข้าใจคือการไม่ยอมให้ประกันตัว นี่เป็นเรื่องแสนสามัญ เรื่อวที่สุดแสนจะเบื้องต้น แต่การไม่ให้ประกันไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดกับเสื้อแดง”
“คนเหล่านี้ไม่ควรอยู่ในคุกอยู่แล้ว ถ้าหากมองย้อนกลับมา การนิรโทษกรรมที่ผมหวังว่าจะเกิดขึ้นคือการคืนสามัญสำนึกกลับสู่สภาวะที่ควร จะเป็น คือการคืนความยุติธรรม ไม่ใช่การลบล้างความผิดให้แก่ผู้ชุมนุม”

‘อุทัย’ วอนถอน กม.นิรโทษฯ เลี่ยงปะทะ ขอผู้มีอำนาจเร่งช่วยเหลือง-แดงพ้นคุก

ที่มา ประชาไท


นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภาเผยแพร่จดหมายเปิดผนึก วอนให้ถอนร่างกฎหมายปรองดอง-นิรโทษกรรม หวั่นคนไทยปะทะกัน ขอผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเร่งช่วยทั้งพันธมิตรฯ และ นปช.ออกจากคุก
30 ก.ค.56 มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภาและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกเรื่องความปรองดองแห่งชาติส่งถึงประชาชน ส.ส. ส.ว. คณะรัฐมนตรี ผู้พิพากษา และตุลาการ มีใจความโดยสรุปว่า
ในฐานะทำงานการเมืองมานาน มีความห่วงใยกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันอย่างยิ่งที่ประชาชนและผู้มี อำนาจทั้งหลายในแผ่นดิน กำลังสับสนในเรื่องของความสามัคคี เสนอกฎหมายในลักษณะ พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ หรือพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหตุการณ์ความผิดทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2549 ถึงปัจจุบัน
ผมเห็นว่าแทนที่จะก่อให้เกิดความปรองดอง หรือความสามัคคีของคนในชาติ กลับจะทำให้ความแตกแยกขยายวงความรุนแรง จนอาจเกิดความไม่สงบที่ยากจะเยียวยาได้ ซึ่งเริ่มตั้งเค้าต่อต้านการเสนอกฎหมายทั้ง 2 รูปแบบ หากพิจารณาให้ดีและมองเรื่องนี้อย่างไตร่ตรองแล้ว จะเห็นว่าเรื่องที่เสนอนี้ไม่มีความจำเป็นเลย เพราะมองว่าสังคมปัจจุบันเป็นปกติอยู่แล้ว

นายอุทัยกล่าวว่า มีความจำเป็นใดที่จะเสนอ พ.ร.บ.ทั้ง 2 เรื่องให้เกิดเรื่องขึ้นมา ได้โปรดอย่าทำได้ไหม ถอนญัตติทั้ง 2 รูปแบบออกจากสภาฯ เสีย ถ้าเห็นแก่ความสามัคคีปรองดองอย่างจริงใจ แต่ยอมรับว่ายังมีคนประมาณ 200-300 คน ถูกจับกุมคุมขัง ถูกดำเนินคดีในศาล บางส่วนเดือดร้อนอยู่ คนเหล่านี้รักชาติ ไม่ว่าจะกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คนไม่เกิน 300 คนนี้ต่างหาก ที่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองจะดำเนินการอย่างไรกับเขาให้จบๆ โดยไม่ต้องเอาคนทั้งประเทศมาตั้งขบวนปะทะกัน ดังนั้นควรรีบเร่งพิจารณาโดยด่วน
กระบวนการยุติธรรมต้องอย่าเช้าชามเย็นชาม เอาคดีเหล่านี้มาเป็นคดีสำคัญของสังคม เมื่อเขาขอประกันก็ควรใช้ดุลยพินิจให้ประกันทันที โดยไม่ต้องเรียกหลักทรัพย์
อย่าลืมว่าคนเหล่านี้ ไม่ใช่อาชญากร หากผิดกฎหมายก็ว่าไปตามความเหมาะสมของโทษและการกระทำ อย่างนี้บ้านเมืองจึงจะได้ชื่อว่ามีขื่อมีแปและการเมืองภาคประชาชนก็จะเข้ม แข็ง ความแตกแยกที่ตั้งเค้าอยู่จะได้สลายไป อย่าทำแบบหักด้ามพร้าด้วยเข่าเลย

ครม.อนุมัติหลักการเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกองทุนหมู่บ้าน เห็นชอบร่าง พรบ.ปรับปรุงภาษีเงินได้

ที่มา ประชาไท


ครม.อนุมัติหลักการร่าง พรก.เว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และมีมติเห็นชอบร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

30 ก.ค.56 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง) และเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรม และให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ)
โดย ครม.พิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น และคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะประมาณ 160 ล้านบาทต่อปี
สาระสำคัญของร่าง พรก.ดังกล่าว กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะเฉพาะการกู้ยืมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
นอกจากนี้ ครม.ยังมีมติเห็นชอบร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง โดยสาระสำคัญ คือ การปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ดังนี้
สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญ ให้เสียภาษีเงินได้สุทธิ ร้อยละ 20 สำหรับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้เสียภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ร้อยละ 20 โดยกำหนดให้ มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมิน ประจำปีภาษี พ.ศ.2556 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ.2557 เป็นต้นไป

น้ำมันท่วมเกาะเสม็ด เสร็จดราม่า

ที่มา Thai E-News

 รูปภาพ : A crab coated with oil on Ao Prao Beach in Koh Samet, where a PTT pipeline leak has caused an environmental disaster. Photograph by Athit Perawongmetha.






ถูกใจหน้านี้ · ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว 

ThaiPBS ก็ไม่น้อยหน้าน่ะฮะ...เป็นสื่อได้ยังไง ควรจะตรวจสอบภาพที่คุณมาลองก่อนสิฮะ... ‪#‎อ่าวพร้าวเสียหายจากคราบน้ำมันไม่ต้องเสียหายจากน้ำลายอีกหรอ‬http://www.w739.com/91.html


ปี 1991 เครดิตตามลิ้งค์ http://www.w739.com/91.html



ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว 

ภาพเก่า ปลาอ่าวตะกวน..ตาย ปี 54 ไม่ใช่ตอนนี้
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=686904
ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว 

พูดด้วยภาพเอาละกันครับ
เห็นหลายคนชอบพิจารณาจะภาพของนักข่าว งั้นมาดูมุมของทำงานงานบ้างนะครับ ขอชีแจงนะครับ ภาพนี้ถ่ายเมื่อเวลา 15 นาฬิกา นะครับ กลัวแชร์รูปกันออกไปแล้วจะคงาดเคลือน ไม่อยากให้เกิด ดราม่า
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=557987644257860&set=a.322054337851193.75127.100001398875541&type=1&theater
"ร่วมทำไส้กรอกเส้นผม...ช่วยวิกฤตเกาะเสม็ด!!!"
อย่า อยู่เฉยจนเกาะเสม็ดเสร็จน้ำมัน ขอแรงเพื่อนๆ รวบรวม "เส้นผม" จากร้านทำผม หรือที่ไหนๆ เอามาทำ 'ทุ่นดักน้ำมัน' ที่รั่วลงทะเลกระจายไปทั่วระยอง

ช่วยกันหาเส้นผมใส่ในถุงน่องเก่า มัดเป็นทรงไส้กรอก จะได้ เอามาต่อกัน แล้วทำทุ่นดูดซับน้ำมัน ส่งต่อให้ทีมอาสาในระยองตามที่อยู่นี้... บริษัท แอซซ่าเอ็นจิเนียริ่งแอนด์เซอร์วิส จำกัด 104/6 ม.7 ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง 21000 (โทร. 038-663-373 โทรสาร 038-663-539 จันทร์-ศุกร์ 8:00-17:00)

ดูประสิทธิภาพไส้กรอกเส้นผมได้จากคลิปนี่เลยhttp://www.youtube.com/watch?v=W68L53WkIAw
รูปภาพ : "ร่วมทำไส้กรอกเส้นผม...ช่วยวิกฤตเกาะเสม็ด!!!"
อย่าอยู่เฉยจนเกาะเสม็ดเสร็จน้ำมัน ขอแรงเพื่อนๆ รวบรวม "เส้นผม" จากร้านทำผม หรือที่ไหนๆ เอามาทำ 'ทุ่นดักน้ำมัน' ที่รั่วลงทะเลกระจายไปทั่วระยอง

ช่วยกันหาเส้นผมใส่ในถุงน่องเก่า มัดเป็นทรงไส้กรอก จะได้เอามาต่อกัน แล้วทำทุ่นดูดซับน้ำมัน ส่งต่อให้ทีมอาสาในระยองตามที่อยู่นี้... บริษัท แอซซ่าเอ็นจิเนียริ่งแอนด์เซอร์วิส จำกัด 104/6 ม.7 ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง 21000 (โทร. 038-663-373 โทรสาร 038-663-539 จันทร์-ศุกร์ 8:00-17:00)

ดูประสิทธิภาพไส้กรอกเส้นผมได้จากคลิปนี่เลย http://www.youtube.com/watch?v=W68L53WkIAw
เป็นข้อมูลความรู้ เส้นผมคนและสัตว์เลี้ยงเช่น หมา แมว ใช้ซับน้ำมันรั่วในทะเลไม่ได้ผลนะคะ ต่างประเทศเคยรณรงค์กรณีนี้กันมาแล้วเมื่อปี 2010 ตอนน้ำมันรั่วที่อ่าวเม็กซิโก ซึ่งต่อมามีข่าวว่า ไม่มีการนำเส้นผมหรือขนสัตว์เลี้ยงที่มีผู้บริจาคไปใช้เลย เพราะใช้ไม่ได้ แต่การรณรงค์นั้น ก็เพื่อให้คนทั่วไปได้รู้สึกว่า มีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหา


เสม็ดโดนน้ำมันแค่ฝั่งตะวันตกนะคะ ส่วนฝั่งตะวันออกตั้งแต่หาดทรายแก้ว หาดแสงเทียน ไปจนท้ายเกาะยังน้ำใสทรายขาวเหมือนเดิม แบบที่เห็นตามรูปนี่ถ่ายมาลงสดๆวันนี้ ไปเที่ยวกันได้นะคะ ^^








โอ๊ค โพสต์ คลิปเทียบวิสัยทัศน์ การปกครอง 'ทักษิณVs อภิสิทธิ์'

ที่มา Voice TV

 โอ๊ค โพสต์ คลิปเทียบวิสัยทัศน์ การปกครอง 'ทักษิณVs อภิสิทธิ์'


นายพานทองแท้ ชินวัตร โพสต์เฟซบุ๊ก ลงคลิปเปรียบเทียบวิสัยทัศน์ การปกครองของอดีต 2 นายกฯ   ทักษิณ- อภิสิทธิ์ 
โดยระบุข้อความดังนี้ 
วิสัยทัศน์ทางด้านการปรองดองของ 2อดีตนายกฯ ดูได้ที่นี่ครับ


คลิปสั้นๆนี้ มีคนตัดต่อส่งมาให้ผมดูครับ ช็อตต่อช็อต ประเด็นต่อประเด็น เพื่อให้เราได้พิจารณาถึง วิธีคิด, มุมอง, วุฒิภาวะ, และวิสัยทัศน์ ของ2อดีตนายกฯ โดยใช้เนื้อหาจากคลิปวันเกิดคุณพ่อผม และการปราศรัยพูดถึงการปรองดองของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 
 
 
ฝ่ายหนึ่งมีตัวช่วยเป็นพี่น้องประชาชน และบัตรเลือกตั้งคนละ 1ใบ เลือกตั้งกี่ครั้งก็ชนะขาด แต่ต้านทานอำนาจของรถถังและการรัฐประหาร ตลอดจนกระบวนการยุติธรรมแบบ 2มาตรฐานไม่ไหว จึงต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน พลัดพรากจากลูกเมียจนทุกวันนี้ ได้ออกมาวิงวอนขอให้ทุกฝ่ายเลิกใส่หน้ากากเข้าหากัน ลดทิฐิมานะของตัวเองหันหน้ามาคุยกัน เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้
 
 
อีกฝ่ายหนึ่งมีตัวช่วยเป็นอำมาตย์ รถถังและค่ายทหาร พรรคฯของตนเองได้เป็นรัฐบาลแทบทุกครั้งจากวิกฤติของประเทศ เคยเสนอขอ นายกฯพระราชทาน โดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 7สามารถกระทำได้ ผลปรากฏว่าหน้าแหก หมอไม่รับเย็บกลับมา ได้กล่าวคำที่ไม่น่าเชื่อว่าจะออกจากปาก ของคนที่อยู่ในฝั่งผู้ดีไม่ใช่ฝั่งไพร่ว่า "ให้ไปปรองดองกับเหี้ย" เหตุผลเพียงเพราะว่า ตนเองไม่เห็นด้วยกับการปรองดอง
 
 
ลองดูกันครับ เป็นคลิปสั้นๆไม่ยาวเลย เหี้ยเต็ม2หูชัดเจน โดยต่างคนต่างก็พูดกันคนละเวที แต่ได้สะท้อนเห็นแง่คิดและมุมมอง ของแต่ละฝ่ายที่เป็นปัจจุบันได้อย่างชัดเจน คิดไปกันคนละทางแบบนี้ ทางออกของประเทศไทย คงจะอยู่ไกลกว่าที่คิดครับ
 
 
ถ้าชนชั้นผู้นำยังไม่ฟังเสียงประชาชน ไม่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยังคิดว่าการเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เช่นเดียวกับประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว จึงมีการสั่งการ, มีธงจากมือที่มองไม่เห็นมาคอยชี้ว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นคนเลว แบบนี้บ้านเมืองสงบยากครับ พี่น้องประชาชนคงยอมทำใจลำบาก
 
ลองดูคลิปแล้วคอมเม้นต์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดูแล้วกันครับ
 
 
30 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:46 น.

ปตท. ยันคราบน้ำมันอยู่ในวงจำกัด-พร้อมชดเชยค่าเสียหาย

ที่มา Voice TV

 ปตท. ยันคราบน้ำมันอยู่ในวงจำกัด-พร้อมชดเชยค่าเสียหาย


 ปตท.ยันคราบน้ำมันอยู่ในวงจำกัด-พร้อมชดเชยค่าเสียหาย และเร่งฟื้นฟูหาดโดยเร็ว   ด้าน ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง เผยถ้ากำจัด"น้ำมันดิบ"ไม่ทันสุดสัปดาห์นี้ การท่องเที่ยวอ่วมแน่   
 
 
 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) PTT กล่าวถึงความคืบหน้าการขจัดคราบน้ำมันที่ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ว่า จะใช้เวลาไม่กี่วันในการขจัดคราบน้ำมัน ซึ่งขณะนี้คราบน้ำมันอยู่ในวงจำกัดเพียง 50 เมตรจากฝั่ง โดยวันนี้จะสามารถนำเครื่องจักรกลหนัก และอุปกรณ์เข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่ได้ โดยจะมีกำลังคนประมาณ 500 คน เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา
          
 
ทั้งนี้ ยอมรับว่า อุปสรรคหลักอยู่ที่เส้นทางภายในเกาะเสม็ดที่ยังเป็นทางดินขรุขระ ทำให้การนำเครื่องจักรกลหนัก เช่น รถดูด Vacuum Truck ทำได้ลำบาก ขณะที่อ่าวพร้าวมีคลื่นลมแรง จึงไม่สามารถนำเรือลำเลียงเข้ามาได้
         
 
 อย่างไรก็ตาม หลังจากเก็บกู้คราบน้ำมันได้หมดแล้ว PTTGC จะเร่งฟื้นฟูชายหาดให้กลับมาสู่สภาพเดิม ส่วนคราบน้ำมันตามโขดหินจะใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดเพื่อชำระล้าง ส่วนทรายที่ปนเปื้อนคราบน้ำมันจะจัดเก็บไปบำบัดเช่นกัน
          
 
นายไพรินทร์ กล่าวว่า  หลังจากฟื้นฟูเสร็จสิ้น PTTGC จะเฝ้าระวังต่อไป โดยย้ำว่าจะดูแลอย่างดีที่สุด เนื่องจากปตท.มีการลงทุนในพื้นที่นี้ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ไม่คาดฝันมาก่อน จึงจะนำเป็นบทเรียนไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นมาอีก สำหรับผลกระทบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เชื่อว่าไม่มากนัก เพราะคราบน้ำมันลอยอยู่ที่ผิวน้ำ ส่วนน้ำมันที่เหลืออีกเล็กน้อยเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่สามารถย่อยสลาย เองได้โดยแสงแดด รวมทั้งจุลชีพในน้ำสามารถบริโภคได้ นอกจากนี้ PTTGC จะเฝ้าติดตามต่อเนื่องไปหลายเดือน และจะดูแลเรื่องของการชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ
 
 
ด้าน นายชูชาติ อ่อนเจริญ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง (ระยอง-จันทบุรี) กล่าวถึงสถานการณ์คราบน้ำมันเข้าเต็มอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ว่าหลังจากจังหวัดระยองได้ประกาศให้พื้นที่อ่าวพร้าวเป็นพื้นที่ประสบภัย พิบัติ ททท.ระยองได้ประสานไปยังนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในรีสอร์ต 3 แห่งบนอ่าวพร้าว เพื่อให้ย้ายไปเข้าพักยังหาดอื่นๆ ที่ขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมันดิบ ไม่ว่าจะเป็นหาดวงเดือน หาดทรายแก้ว หาดปะการัง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ และถือเป็นชายหาดยอดนิยม
          
 
ขณะเดียวกันได้ให้ข้อมูลกับกรุ๊ปทัวร์ต่างๆ เกี่ยวกับจุดที่มีการทะลักของคราบน้ำมันว่า ยังคงเป็นการทะลักเข้าไปเฉพาะชายหาดด้านฝั่งตะวันตกของเกาะคืออ่าวพร้าว ที่มีรีสอร์ตเพียง 3 แห่ง และมีห้องพักรวม 109 ห้องเท่านั้น โดยยืนยันว่าจุดที่เป็นชายหาดยอดนิยมยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว แต่อย่างใด
          
 
นายชูชาติกล่าวว่า เท่า ที่ได้รับรายงานก็คือเริ่มมีกรุ๊ปทัวร์ทั้งชาวไทยและยุโรปยกเลิกการเดินทาง มายังเกาะเสม็ดแล้ว ซึ่ง ททท.ก็กำลังรวบรวมรายชื่อทัวร์ที่ยกเลิกอยู่ อย่างไรก็ตาม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ก็เร่งเก็บคราบน้ำมันเพื่อให้หมดก่อนช่วงสุดสัปดาห์
 
          
 
นายชูชาติกล่าวว่า ขณะนี้ผลกระทบในรูปของเม็ดเงินทางการท่องเที่ยวยังมีไม่มากนัก เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่างสุดสัปดาห์ที่แล้ว จนถึงวันธรรมดาของสัปดาห์นี้ การเข้าพักของนักท่องเที่ยวยังมีไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม หากพีทีทีฯไม่สามารถขจัดคราบน้ำมันให้หมดก่อนสุดสัปดาห์ที่จะถึงนี้ก็คาดว่า การท่องเที่ยวของระยองจะเสียหายเป็นอย่างมาก
        
 
 
Source :   News   Center /  Matichon /    bangkokbiznews  /  VocieTV ( Image) 
30 กรกฎาคม 2556 เวลา 15:29 น.

ศภช. เตือน 9 จ.น้ำท่วม - ดินถล่ม ห่วงจ.ตาก โดนหนัก

ที่มา Voice TV

 ศภช. เตือน 9 จ.น้ำท่วม - ดินถล่ม ห่วงจ.ตาก โดนหนัก


 ศภช. เตือนภัยฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่ม 9 จังหวัด ห่วง จ.ตากแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประชาชนควรระวัง
          
 
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ ศภช. รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติ เรื่องระวังภัยฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ว่า ในวันที่ 29 - 30 ก.ค.นี้ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี สกลนคร นครพนม และ มุกดาหาร
          
 
ทั้งนี้ในช่วงเดียวกัน พบว่าสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในพื้นที่ อ.แม่สอด อ.พบพระและ อ.อุ้มผาง จ.ตาก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวระมัดระวัง หากมีข้อมูลเพิ่มเติมศภช. จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป หรือตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ndwc.go.th
 
 
Source :  News   Center /    INN  /  VoiceTV  ( Image) 
 
29 กรกฎาคม 2556 เวลา 20:11 น.

การปฏิบัติงานคือการปฏิบัติธรรม.

ที่มา Buddhadharm



การปฏิบัติงานคือการปฏิบัติธรรม
พุทธทาส อินฺทปญฺโญ
ธรรมบรรยาย อบรมคณะครูอาจารย์
ลานหินโค้ง,สวนโมกขพลาราม
5 กันยายน 2527

นายกฯห่วงสถานการณ์น้ำมันดิบรั่ว สั่งเร่งแก้ปัญหา

ที่มา Voice TV




 นายกรัฐมนตรี  แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์น้ำมันรั่ว จ.ระยอง  สั่งกองทัพเรือ มหาดไทย พลังงาน สาธารณสุข เร่งแก้ปัญหา และให้ความช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่โดยด่วน
 
 
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ ณ สาธารณรัฐโมซัมบิกเกี่ยวกับกรณีท่อรับ-ส่งน้ำมัน ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) รั่วบริเวณชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จ. ระยอง และคราบน้ำมันไหลเข้าสู่บริเวณอ่าวพร้าว  เกาะเสม็ด ว่า ได้สั่งการด่วนให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งลงพื้นที่แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยด่วน และในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งให้กองทัพเรือเข้าพื้นที่เพื่อดูแลให้ความช่วยเหลือ โดยบริษัท  PTT  จำกัด (มหาชน)  ต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ยอมรับว่าอาจจะต้องมีการประสานขออุปกรณ์ หากจำเป็นก็ต้องหยิบยืมจากประเทศเพื่อนบ้าน  
 
 
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า ได้รับรายงานก่อนออกเดินทาง แต่อาจเป็นเพราะสภาพอากาศเป็นอุปสรรคในการจัดการปัญหา ขณะนี้ ได้สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูแลความปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างเร่งด่วน
 
 
ระหว่างนี้ นายธีรัตถ์  รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานบทสัมภาษณ์นายปลอดประสพ สุรัสวดี  รองนายกรัฐมนตรี ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวกรณีน้ำมันรั่วว่า ต้องเน้นรักษาสภาพแวดล้อม การท่องเที่ยว การประมง เมื่อเกิดเหตุแล้วต้องมีการตรวจสอบ ตั้งชุดเผชิญเหตุ และหันมาดูกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าอุปกรณ์ดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นของไทยมีไม่พอ ควรจะมีการตั้งคณะกรรมการถาวรขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดย ย้ำว่าต้องป้องกันไม่ให้คราบน้ำมันไหลขึ้นฝั่ง ต้องใช้ทุ่นน้ำมันกันไว้ ถ้าไม่พอ ก็ควรขอยืมจากเพื่อนบ้านเช่นสิงคโปร์ซึ่งมีอุปกรณ์มาก 
 
 อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งนี้กองทัพเรือควรเป็นศูนย์กลางเพราะมีอุปกรณ์ครบ ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดย ปตท.ต้องออกเงินทุกบาท ซึ่งสิ่งที่ต้องเร่งทำจากนี้ คือการเก็บคราบน้ำมันให้เร็วที่สุด โดยมีอาสาสมัครเข้ามาช่วย ป้องกันสัตว์ไม่ให้โดนคราบน้ำมัน
 
 
Source : www.thaigov.go.th
30 กรกฎาคม 2556 เวลา 14:35 น.

มติฝ่ายค้านไม่รับร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ หวั่นนำไปสู่ความขัดแย้ง

ที่มา Voice TV

 มติฝ่ายค้านไม่รับร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ หวั่นนำไปสู่ความขัดแย้ง


ฝ่ายค้าน มีมติ ไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม กังวลอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง พร้อมแนะยังไม่ควรใช้กฏหมายพิเศษควบคุมการชุมนุม
 
 
นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ฝ่ายค้านมีมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏร เพราะเห็นว่าเป็นกฏหมายที่ทำลายระบบนิติรัฐ นิติธรรม ล้างผิดให้กับคดีก่อการร้ายซึ่งคลอบคลุมถึงคดีหมิ่นสถาบัน และอาจมีการนำร่าง
พรบ.ปรองดองฉบับอื่นสอดแทรกเข้าสู่การ พิจารณา อีกทั้งไม่นำประเทศไปสู่ความปรองดอง แต่อาจนำไปสู่วิกฤติของบ้านเมือง เพราะขณะนี้เริ่มมีประชาชนออกชุมนุมต่อต้านแล้ว ขณะเดียวกันอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30
 
อย่างไรก็ตามวันที่ 1 ส.ค. ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดประชุมสภาฯ ฝ่ายค้านจะจับตาและมีมาตรการรองรับ หากมีการหยิบยก พรบ.นิรโทษกรรมมาพิจารณาแทนญัตติอื่นๆและกระทู้ถาม พร้อมเห็นว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ยังไม่จำเป็นตั้งใช้กฎหมายพิเศษควบ คุมการชุมนุม แต่ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันเหตุวุ่นวาย
 
สำหรับสัปดาห์นี้ ฝ่ายค้านจะตั้งกระทู้ถามกรณีท่อส่งน้ำมันรั่วไหลกลางทะเลจังหวัดระยอง เพราะตั้งแต่เกิดเหตุยังไม่มีผู้นำระดับรัฐมนตรีลงพื้นที่แก้ปัญหา ซึ่งหากเป็นต่างประเทศก็จะมีการลงพื้นที่ติดตามอย่างใกล้ชิด จึงถือเป็นการละเลย เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศภาวะ เศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระทู้ถามเรื่องการจ่ายค่าทำศพ ตาม พรบ.ผู้สูงอายุ ที่งบประมาณปี 2557 ไม่มีการตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้
 
 
Source : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
30 กรกฎาคม 2556 เวลา 12:57 น.

โสภณ พรโชคชัย: ไฮไลท์อสังหาริมทรัพย์นานาชาติ

ที่มา ประชาไท


วันนี้ขอฉายภาพหลายกรณีศึกษาอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่พึงศึกษาไว้ เพื่อพัฒนาประเทศชาติของเราเอง ตั้งแต่ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกาล่าสุด การล่มสลายของนครดีทรอยท์ การพัฒนาปากแม่น้ำสิงคโปร์ให้กลายเป็นอ่างเก็บน้ำ และท่าเรือน้ำลึกมาเลเซียที่มุ่งแข่งกับสิงคโปร์
ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกา
ราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 ซึ่งเป็นเดือนล่าสุดที่สำรวจ เพิ่มขึ้น 0.7% และเดือนเมษายน ก็เพิ่มขึ้น 0.5%  ทั้งนี้ราคาบ้านเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 15 เดือนติดต่อกันแล้ว  แสดงชัดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัว ซึ่งมีปัจจัยมาจากเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัว จึงมีกำลังซื้อบ้านกลับเข้ามาใหม่ จนดันราคาบ้านเพิ่มขึ้น
อาจกล่าวได้ว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พฤษภาคม 2555-2556 ราคาบ้านเพิ่มขึ้น 7.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงกว่าราคาบ้านใน กรุงเทพมหานครที่ประมาณ 5% เสียอีก  อย่างไรก็ตามราคาบ้าน ณ เดือนเมษายน 2556 หรือเดือนล่าสุดนี้ ยังต่ำกว่าราคาที่เคยขึ้นสูงสุด ณ เดือนเมษายน 2550 อยู่ประมาณ 11.2%  ราคาบ้านล่าสุดนี้เท่ากับราคาบ้านเมื่อเดือนมกราคม 2548 หรือ 27 เดือนก่อนที่ราคาบ้านจะขึ้นสูงสุดและดิ่งเหวลงมา
การตกต่ำของราคาบ้านในสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ที่ราคาบ้านสูงสุด จนถึงเดือนมีนาคม 2554 เป็นเวลารวมกันถึงเกือบ 4 ปี (46 เดือน) นับแต่เดือนพฤษภาคม 2550 แล้ว ราคาบ้านก็ทรง ๆ ต่อมาจนถึงเดือนมกราคม 2555 เป็นเวลา 7 เดือน และหลังจากนั้น ราคาบ้านก็เริ่มเพิ่มสูงขึ้นจนถึงเดือนพฤษภาคม2556 ที่สำรวจล่าสุด
โดยที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาฟื้นตัว ก็น่าจะส่งผลดีต่อโลก ทำให้มีกำลังในการซื้อสินค้าและบริการจากทั่วโลก ทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้รับอานิสงส์ไปด้วย  คาดว่าประเทศไทยจะได้รับผลดีตามไปด้วยในอนาคต และประเทศไทยควรรณรงค์เชิญชวนนักลงทุนและนักท่องเที่ยวเข้ามายังประเทศให้มากขึ้น

การล้มละลายของนครดีทรอยต์
ไม่กี่วันที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ลงข่าวกันพอสมควรถึงการล้มละลายของนครดีทรอยต์ที่เคยเป็นมหานครใหญ่อันดับหนึ่งในห้าของสหรัฐอเมริกาที่เป็นศูนย์รวมผลิตรถยนต์ของประเทศ  แต่ขณะนี้ ตกต่ำอย่างหนักจนนครแห่งนี้มีหนี้ท่วมถึง 450,000 ล้านบาท บริการสาธารณะต่าง ๆ ก็ต้องปิดไป หรือไม่ก็มีบริการที่ไม่เพียงพอ  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินก็ด้อยลงอย่างมาก  เดือนหน้าผมจะไปถ่ายรูปมาให้ดูครับ เพราะผมมีคิวไปบรรยายในนครใกล้ ๆ
นครแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2353 หรือ 202 ปีก่อน มีอายุน้อยกว่ากรุงเทพมหานครเล็กน้อย ปีที่มีประชากรสูงสุดคือปี พ.ศ.2503 โดยในเขตนครมีประชากรถึง 1,670,144 คน ณ ขนาดเมืองที่ 359 ตารางกิโลเมตร แต่ลดลงเหลือเพียง 713,777 คนในการสัมโนล่าสุด พ.ศ.2553 และล่าสุดเหลือประมาณ 700,000 คน เท่านั้น การที่ประชากรลดก็เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ย่ำแย่ลง คนจึงย้ายออก  อย่างไรก็ตามในภูมิภาคมหานครและปริมณฑล ประชากรกลับพอ ๆ กันเมื่อเทียบกับ 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้แสดงว่าประชากรย้ายออกชานเมือง ซึ่งยิ่งทำให้เมืองมีปัญหาในทุกวันนี้ ด้วยสาธารณูปโภคไม่สามารถขยายตัวได้ทั่วถึงตามงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด
กรุงเทพมหานครที่เคยได้ชื่อว่าเป็น "ดีทรอยต์แห่งเอเซีย" ก็ต้องสำเหนียกไว้เช่นกัน เพราะหากประเทศเพื่อนบ้านเติบใหญ่  ท่าเรือหลักอยู่ที่โฮชิมินห์ซิตี้ สิงคโปร์และทะวาย  ประเทศต่าง ๆ บินติดต่อกันเองโดยไม่พึ่งพิงกรุงเทพมหานครเป็นตัวเชื่อม  โรงงานหลักๆ ย้ายออกไปตั้งอยู่ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์  ประกอบกับความไม่สงบภายในประเทศ ก็อาจทำให้กรุงเทพมหานครของเราหงอยไปถนัดตาก็ได้  หวังว่าฝันนี้จะไม่เป็นจริง

ท่าเรือน้ำลึกจาฮอร์
พอดีเร็ว ๆ นี้ผมมีคิวไปบรรยายในการสัมมนานานาชาติด้านที่อยู่อาศัย ที่รัฐจาฮอร์ มาเลเซีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกใน เขตเศรษฐกิจพิเศษชื่อ Iskandar Malaysia หรือชื่อเดิมว่า Iskandar Region ซึ่งเพิ่งพัฒนาเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อปี พ.ศ.2549 ที่ผ่านมานี้เอง เพราะมาเลเซียต้องการแข่งขันด้านการท่าเรือแข่งกับสิงคโปร์ โดยมีการจัดตั้งองค์กรใหม่ชื่อ Iskandar Regional Development Authority เป็นผู้ดำเนินการพัฒนา
ขนาดของเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ใหญ่ถึง 2,217 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่นี้มีการก่อสร้างศูนย์ธุรกิจใจกลางเมืองขึ้นมาใหม่ มีเขตที่อยู่อาศัย เขตอุตสาหกรรม เขตท่าเรือน้ำลึก โดยมุ่งหวังให้พื้นที่นี้เป็นศูนย์สุขภาพของโลก เพราะมีโรงพยาบาลดี ๆ เป็นเมืองการศึกษาโดยให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งในพื้นที่นี้  ที่พิเศษและน่าสนใจยิ่งก็คือในพื้นที่พิเศษนี้ชาวสิงคโปร์ สามารถเข้ามาทำงานได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตใด ๆ ถือว่าเป็นประชากรของพื้นทื่นี้เพื่อจูงใจให้ความเจริญไหลมาที่มาเลเซียบ้าง
มาเลเซียลงทุนเต็มที่ ชวนบริษัทเดินเรืออันดับหนึ่งให้ทิ้งสิงคโปร์ มาใช้ที่นี่ จูงใจประชาชน ทำให้ชาวสิงคโปร์มาซื้อบ้านในที่นี้เป็นบ้านหลังที่สอง และต้อนรับนักลงทุนจากทุกชาติ มีการเดินสายแนะนำโครงการโดยตลอด  ข้างฝ่ายสิงคโปร์ก็รุกรับกันน่าดู  จนขณะนี้สิงคโปร์ก็เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาโครงการนี้แล้ว  นึกแล้วทำให้ท้อใจเพราะในกรณีประเทศไทย การคิดนอกกรอบและคิดการใหญ่เช่นนี้แทบไม่เคยเกิดขึ้น  แล้วต่อไปไทยก็คงแข่งกับชาติอื่นได้ยาก

อ่างเก็บน้ำจืดปากแม่น้ำสิงคโปร์
ในที่นี้หมายถึง the Marina Reservoir ซึ่งเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำสิงคโปร์ เริ่มดำเนินการในวันที่ 30 ตุลาคม 2551 และเริ่มเปลี่ยนเป็นน้ำจืดในวันที่ 20 พฤศจิกายน2553  พื้นที่แห่งนี้สามารถเก็บน้ำไว้ผลิตประปาให้ใช้ได้ประมาณ 10% ของความต้องการใช้น้ำในสิงคโปร์  การที่สิงคโปร์จำเป็นต้องพึ่งตนเองเรื่องน้ำเพราะที่ผ่านมาซื้อน้ำมาจากมาเลเซีย ทำให้ต้องขึ้นต่อมาเลเซียเป็นอย่างมาก
ลองนึกถึงประเทศไทย หากปิดแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นปากอ่าวไทยเพื่อเก็บเป็นน้ำจืด คงแทบนึกไม่ออก เพราะในความเป็นจริง ประเทศไทยไม่ขาดแคลนน้ำจืด  แต่ในอีกแง่หนึ่งสิงคโปร์สามารถจัดการไม่ให้ชาวบ้าน โรงงานหรือใครก็ตามปล่อยน้ำเสียลงไปในแม่น้ำอย่างเด็ดขาด จึงทำให้สามารถกั้นปากอ่าวให้กลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์  นี่คือความยิ่งใหญ่ของผู้บริหารผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลบนเกาะกะจิดริดอย่างสิงคโปร์ที่ไทยพึงเรียนรู้
ทุกวันนี้ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำดังกล่าวยังใช้เล่นกีฬาพายเรือ แต่ไม่อนุญาตให้ว่ายน้ำ เพราะจะเก็บน้ำไว้ทำประปา  แต่แม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานครนั้น สกปรกลงทุกวัน ใช้เพื่อการขนส่งสินค้าและระบายน้ำเสียจากในเมืองเป็นสำคัญ  นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่าไทยควรพัฒนาไปกว่านี้
อย่าลืมเอาเยี่ยงกา แต่ใช้ต้องเอาอย่างกาไปเสียทุกอย่าง

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: อำนาจทางกฎหมายของ กสทช. ต่อกรณีสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800

ที่มา ประชาไท


โดยเหตุที่สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือคลื่น 1800 MHz ระหว่างบริษัท บมจ.กสท กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และระหว่าง บมจ.กสท กับบริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 ซึ่งหลังจากที่สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว คาดหมายกันว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนหนึ่งค้างอยู่ในระบบ และในกรณีที่ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการสิ้นสุดลงของ สัญญาสัมปทานดังกล่าว จนผู้ใช้บริการไม่ได้เตรียมตัวที่จะโยกย้ายไปรับบริการในระบบอื่น กรณีย่อมคาดหมายได้ว่าจะมีผู้ใช้บริการค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้ กสทช. จึงได้ออก “ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.....” เพื่อจะแก้ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นเนื่องจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานดังกล่าว

อย่าง ไรก็ตาม เนื่องจากการใช้อำนาจของ กสทช.ในลักษณะเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของทั้งผู้ให้สัมปทานตาม สัญญา (บมจ.กสท) ผู้รับสัมปทานตามสัญญา (ทรูมูฟ และดิจิตอลโฟน) ผู้รับบริการ ตลอดจนผู้ประกอบการรายอื่นในตลาดโทรคมนาคมหลายประการ อีกทั้งเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานที่รัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครองในช่วงเปลี่ยน ผ่านเข้าสู่ระบบ “ใบอนุญาต” แล้ว จะต้องนำคลื่นดังกล่าวมาจัดสรรกันใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด กรณีจึงมีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่า ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ที่กล่าวถึงข้างต้น หากได้รับการประกาศใช้จริง จะมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โดยเหตุที่ร่างประกาศดังกล่าวสัมพันธ์กับอำนาจในการถือครองและใช้คลื่น ความถี่ 1800 MHz  หลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน จึงสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนี้ให้ยุติเสียก่อน (1.) แล้วจึงวินิจฉัยอำนาจของ กสทช. ในการออกประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ (2.) และเนื้อหาของร่างประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ในประการสุดท้าย (3.)

1. ใครมีอำนาจถือครองคลื่นความถี่ 1800 MHz  หลังการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

ในส่วนที่เกี่ยวกับการถือครองและใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ภายหลังสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.กสท  และบริษัททรูมูฟ และสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ. กสท.กับบริษัทดิจิตอลโฟน สิ้นสุดลงนั้น มี ประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่าเมื่อสัญญาสัมปทานดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว สิทธิถือครองและใช้คลื่นความถี่จะคืนกลับไปยัง บมจ.กสท  ซึ่งเป็นผู้ให้สัญญาสัมปทานหรือไม่

หากพิจารณาตามหลักธรรมดา ในกรณีที่ระบบกฎหมายยังคงสภาพการประกอบกิจการโทรคมนาคมไว้ในลักษณะเดิม คือ “ระบบสัมปทาน” ที่องค์กรของรัฐเป็นผู้ให้สัมปทานและเอกชนผู้รับสัมปทานตกลงเข้าร่วมการงาน ประกอบกิจการโทรคมนาคมตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาแล้ว เมื่อสัญญาสัมปทานหรือสัญญาร่วมการงานสิ้นสุดลง องค์กรของรัฐที่ทรงอำนาจซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทาน ย่อมสามารถนำคลื่นดังกล่าวไปให้สัมปทานใหม่อีกได้ หรือจะดำเนินกิจการโทรคมนาคมด้วยตนเอง คือถือครองและใช้คลื่นเองก็ย่อมทำได้

อย่าง ไรก็ตาม ระบบกฎหมายไทยได้เปลี่ยนสภาพการประกอบกิจการโทรคมนาคมจากระบบที่องค์กรของ รัฐให้สัมปทานเอกชนหรือให้เอกชนเข้าร่วมการงานเป็นระบบ “ใบอนุญาต” มีการแยกหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมออกจากหน่วยงาน ที่ดำเนินกิจการโทรคมนาคม ดังจะเห็นได้จากการตั้ง กสทช. ให้ทำหน้าที่กำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนการเปลี่ยนสภาพองค์กรของรัฐที่เคยทำหน้าที่ดังกล่าวพร้อมๆ กับการเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมในรูปรัฐวิสาหกิจ ไปเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแต่ประการเดียว พร้อมทั้งแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้นให้เป็นบริษัทเอกชนด้วย สถานะของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานคลื่น 1800 MHz แก่บริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟน จึงกลายเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ในชื่อของ บมจ.กสท  เพียงแต่ระบบกฎหมายกำหนดให้ บมจ.กสท เป็นผู้สืบทอดสิทธิหน้าที่จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเท่านั้น

ยิ่ง ไปกว่านั้นเพื่อไม่ให้สัญญาสัมปทานที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยทำกับบริษัท เอกชนสิ้นสุดลงทันที อันจะมีผลเท่ากับรัฐไม่คุ้มครองสิทธิตามสัญญาของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนและเท่า กับรัฐใช้อำนาจที่มีผลเสมือนการเวนคืนสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน (สิทธิที่จะประกอบการต่อไปจนสิ้นสุดสัญญา) โดยไม่มีการจ่ายค่าทดแทนความเสียหาย รัฐธรรมนูญจึงกำหนดการคุ้มครองคู่สัญญาฝ่ายเอกชนไว้ว่าการเปลี่ยนระบบการ กำกับและการประกอบกิจการโทรคมนาคมจากระบบ “สัมปทาน” เป็นระบบ “ใบอนุญาต” นั้นไม่กระทบกระเทือนถึงการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ได้ทำขึ้นก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญจนกว่า การอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้นจะสิ้นผล (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 305)

อย่าง ไรก็ตามเพื่อให้ บมจ.กสท ที่แปรรูปมาจากการสื่อสารแห่งประเทศสามารถเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมได้ บทเฉพาะกาล มาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 จึงบัญญัติให้คณะกรรมการในเวลานั้นออกใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคมนาคมให้ แก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย (บมจ.กสท)รวมทั้งอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้ตามมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ทั้งนี้จนกว่าจะถึงกำหนดที่จะต้องคืนคลื่น โดยใบอนุญาตที่ บมจ. กสท.ได้รับนั้นมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2568

ปัญหาที่โต้แย้งกันก็คือ หลังจากสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.กสท และบริษัททรูมูฟ จำกัด และสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.กสท และบริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด สิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 แล้ว คลื่นความถี่ 1800 MHz ดังกล่าวจะกลับคืนไปยัง บมจ.กสท และ บมจ.กสท มีสิทธิถือครองและใช้คลื่นดังกล่าวจนกว่าจะสิ้นสุดอายุใบอนุญาตในวันที่ 3 สิงหาคม 2569 หรือคลื่นดังกล่าวจะไม่คืนกลับไปยัง บมจ.กสท แล้ว แต่จะต้องนำไปให้ กสทช.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับกิจการโทรคมนาคมดำเนินการจัดสรรคลื่นตามระบบใบ อนุญาตต่อไป
เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับสถานะของคลื่นความถี่ตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฯ มาตรา 47 บัญญัติให้คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ และกำหนดให้จัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ดัง กล่าว โดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ บัญญัติให้การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคม ให้ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการประมูลคลื่นความถี่ และเมื่อสำรวจตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วไม่พบบทบัญญัติใดเลยที่บัญญัติ ให้รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานสามารถถือครองคลื่นและใช้คลื่นได้ต่อไป ภายหลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงแล้ว

แม้หากจะมีผู้กล่าวอ้างว่า บมจ.กสท ซึ่งแปรรูปมาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง จึงสมควรให้ บมจ.กสท ถือครองคลื่นต่อไป เพราะสามารถนำคลื่นที่ได้รับกลับคืนมานั้นไปใช้ได้ทันที เนื่องจากหากให้มีการประมูล ก็ไม่เป็นที่แน่ใจได้ว่า บมจ.กสท จะยอมให้ผู้ชนะการประมูลใช้โครงข่ายตลอดจนเครื่องและอุปกรณ์ของตนหรือไม่ ข้อกล่าวอ้างนี้ก็เป็นคนละเรื่องคนละประเด็น การที่ บมจ.กสท มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ไม่เกี่ยวพันกับการถือครองและใช้คลื่นแต่อย่างใดทั้งสิ้น

สำหรับกรณี ที่ บมจ.กสท มีใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2568 ก็ไม่ใช่เหตุที่สามารถนำมาใช้กล่าวอ้างว่าคลื่น 1800 MHz ตามสัญญาสัมปทานดังกล่าวต้องกลับคืนไปยัง บมจ.กสท เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงแล้วได้ เนื่องจากใบอนุญาตที่ บมจ.กสท ได้รับนั้น ระบบกฎหมายมุ่งหมายเพียงรับรองให้ บมจ.กสท มีฐานะเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมเหมือนผู้ประกอบการรายอื่นที่เป็นบริษัท เอกชนทั่วไป เพื่อความสามารถในการใช้คลื่นที่ตนเองประกอบกิจการอยู่เท่านั้น

สำหรับ คลื่นที่ให้สัมปทานไปนั้น เมื่อระยะเวลาคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชนตามสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว หากตีความว่าคลื่นดังกล่าวกลับคืนไปยัง บมจ.กสท  ที่ บมจ.กสท สามารถถือครองและใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ก็จะเกิดผลประหลาดและขัดแย้งกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมในระบบ “ใบอนุญาต” ที่ระบบกฎหมายไทยและรัฐธรรมนูญได้ก่อตั้งขึ้นอย่างยิ่ง เนื่องจากหากเป็นเช่นนั้น คลื่นดังกล่าวจะไม่มีโอกาสกลับมาเป็น “ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ได้เลย แต่จะกลายเป็นทรัพย์สินของ บมจ.กสท  ซึ่งบัดนี้ก็ไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอีกต่อไปแล้ว แต่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนและเป็นผู้ประกอบการในกิจการโทรคมนาคม เสมอกับผู้ประกอบกิจการที่เป็นเอกชนรายอื่น  เพียงแต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้รัฐยังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่เท่านั้น

นอก จากนี้หากคลื่นตามสัญญาสัมปทานดังกล่าวกลับคืนไปยัง บมจ. กสท. และให้ บมจ.กสท เป็นผู้ถือครองและใช้คลื่น หาก บมจ.กสท ใช้สิทธิในฐานะผู้ถือครองและใช้คลื่นตกลงทำสัญญาให้บริษัทเอกชนใช้คลื่นต่อ ไป โดยจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ตน (ไม่ว่าจะออกแบบสัญญาในลักษณะอย่างไรหรือเรียกชื่อค่าตอบแทนอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ) ผลก็คือจะเกิดระบบ “สัมปทานจำแลง” ต่อไปภายใต้ระบบใบอนุญาตซึ่งประหลาดอย่างยิ่ง

หรือแม้หาก บมจ.กสท ใช้คลื่นประกอบกิจการด้วยตนเอง ผลก็คือ คลื่นดังกล่าวจะไม่มีโอกาสที่จะได้รับการจัดสรรต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ของ กฎหมาย และหากตีความกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.กสท  กับ บริษัททรูมูฟ และ บมจ.กสท กับบริษัทดิจิตอลโฟนไปในลักษณะเช่นนี้แล้ว ก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานกับสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมอื่นๆ ที่จะทยอยสิ้นสุดลง และในที่สุดแล้วคลื่นจำนวนมากจะกลับไปสู่การครอบครองของ “อดีตรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนในกิจการโทรคมนาคม” ซึ่งบัดนี้กลายเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนไปหมดแล้ว และ กสทช.ก็จะไม่สามารถนำคลื่นจำนวนมากดังกล่าวนั้นออกจัดสรรโดยวิธีการประมูล คลื่นได้

การตีความในลักษณะเช่นนี้นอกจากจะไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รองรับอย่างชัดแจ้งแล้ว ยังกระทบต่อประโยชน์สาธารณะอย่างรุนแรง ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายเอกชน ตามสัญญาสัมปทานตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ในสัญญาสัมปทานเท่านั้น และในที่สุดแล้วจะส่งผลกัดเซาะระบบ “ใบอนุญาต” ที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะก่อตั้งด้วย เนื่องจากระบบใบอนุญาตจะมีได้เฉพาะแต่คลื่นที่ “อดีตรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนในกิจการโทรคมนาคม” ไม่เคยถือครองเท่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง
อนึ่ง หากพิจารณาตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่แล้ว จะพบว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มาตรา 83 และมาตรา 84 บัญญัติให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่น ความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงคืนความถี่ตามที่ กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ซึ่งเมื่อพิจารณาบทบัญญัติทั้งสองมาตรานี้ประกอบกับการคุ้มครองสิทธิของคู่ สัญญาฝ่ายเอกชนตามสัญญาสัมปทานที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 305 (1) ได้รับรองไว้แล้ว ย่อมจะพบว่า กสทช.สามารถกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ได้เฉพาะกรณีของคลื่นความถี่ที่ มีผู้ใช้อยู่โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นฯ จะได้รับการประกาศใช้เท่านั้น

โดยเหตุผลของเรื่อง เมื่อคลื่นดังกล่าวเป็นคลื่นที่มีผู้ใช้อยู่โดยไม่มีกำหนดเวลา ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่เมื่อเข้าสู่ระบบใบอนุญาตและมีองค์กรของรัฐทำหน้าที่ จัดสรรคลื่นความถี่แล้ว องค์กรของรัฐดังกล่าวย่อมจะต้องกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นให้ชัดเจน เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ต่อไป ซึ่งการกำหนดระยะเวลาในการคืนคลื่นให้ชัดเจนแน่นอนลงไปนี้ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มาตรา 83 วรรคสามกำหนดเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจไว้ด้วยว่า กสทช.ต้องใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความจำเป็นของการประกอบ กิจการและการใช้คลื่นความถี่นั้น โดยจะต้องนำเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ที่ผู้ถือครองได้ แจ้งไว้มาประกอบการใช้ดุลพินิจด้วย กสทช.จะใช้ดุลพินิจกำหนดระยะเวลาในการคืนคลื่นความถี่ตามอำเภอใจหรือโดย ปราศจากเหตุผลหาได้ไม่

อย่างไรก็ตามการกำหนดระยะเวลาคืนคลื่นที่ กล่าวมานี้ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 83 และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ประกอบกับระบบการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่เป็นระบบใบอนุญาตแล้ว จะพบว่าใช้บังคับกับกรณีของการใช้คลื่นความถี่ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเท่า นั้น หาได้หมายความถึงกรณีของการใช้คลื่นความถี่ตามสัญญาสัมปทานที่มีกำหนดระยะ เวลาสิ้นสุดที่ชัดเจนแน่นอนแล้วไม่

กล่าวอีกนัยหนึ่งเมื่อระยะเวลา การใช้คลื่นตามสัญญาสัมปทานที่ได้รับการรับรองเพื่อคุ้มครองสิทธิตามสัญญา ของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนตามบทเฉพาะกาลสิ้นสุดลงแล้ว คลื่นก็จะต้องคืนกลับมาเพื่อให้ กสทช.ดำเนินการจัดสรรใหม่โดยอัตโนมัติ กสทช.ไม่อาจกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นให้ต้องคืนคลื่นดังกล่าวในระยะเวลาก่อน สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงหรือให้ต้องคืนคลื่นดังกล่าวในระยะเวลาหลังจากสัญญา สัมปทานสิ้นสุดลงแล้วได้ เพราะจะขัดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
การให้เหตุผลทางกฎหมายว่าทำไม กสทช.ไม่อาจกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นตามสัญญาสัมปทานได้ อาจกระทำได้ในสองลักษณะ ซึ่งให้ผลทางกฎหมายไม่ต่างกัน คือ
1. ให้เหตุผลว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้ คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่นั้น ใช้กับกรณีของคลื่นความถี่ที่มีผู้ใช้อยู่โดยไม่มีกำหนดเวลาเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคลื่นตามสัญญาสัมปทานที่มีระยะเวลาสิ้นสุดการใช้ที่แน่นอน
2. ให้เหตุผลว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้ คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปใช้จัดสรรใหม่นั้นมีลักษณะเป็นบท กฎหมายทั่วไป (lex generalis) ในขณะที่กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองสัญญาสัมปทานและการกำหนดให้สิทธิการใช้ คลื่นตามสัญญาสัมปทานต้องสิ้นสุดลง มีลักษณะเป็นบทกฎหมายเฉพาะ (lex specialis) ซึ่งต้องถือตามหลักการทั่วไปในการใช้กฎหมายว่า “บทกฎหมายเฉพาะย่อมตัดบทกฎหมายทั่วไปมิให้ใช้บังคับในเรื่องเดียวกัน” (lex specialis derogate legi generali)
ผลจากการตีความดังกล่าว ไม่ว่าจะให้เหตุผลในลักษณะใดก็คือ กสทช. ไม่มีอำนาจกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นตามสัญญาสัมปทานได้ เนื่องจากระยะเวลาการใช้คลื่นดังกล่าวได้รับการกำหนดไว้แล้วในกฎหมายระดับ รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ ด้วยเหตุนี้แม้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯจะกำหนดให้ กสทช.มีอำนาจจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และให้กำหนดระยะเวลาการคืน คลื่นไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ การกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้นแม้ กสทช.ต้องการจะขยายระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ตามสัญญาสัมปทานออกไป กสทช.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.กสท  และบริษัททรูมูฟ และสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท บมจ.กสท กับบริษัทดิจิตอลโฟน แล้ว คลื่น 1800 MHz ตามสัญญาสัมปทานดังกล่าวย่อมต้องคืนกลับมาเพื่อให้ กสทช.นำออกจัดสรรด้วยวิธีการประมูลต่อไป ทั้งนี้โดย กสทช.ไม่มีอำนาจกำหนดระยะเวลาการคืนคลื่นให้แตกต่างไปจากระยะเวลาสิ้นสุดลง ของสัญญาสัมปทานดังกล่าว คือ วันที่ 15 กันยายน 2556 ได้

2. กสทช. มีอำนาจวางกฎในลักษณะเช่นที่ปรากฏในร่างประกาศ กสทช. เรื่อง “มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.....” ได้หรือไม่

สำหรับประเด็นเกี่ยวกับอำนาจของ กสทช. ในการออกประกาศ กสทช. ว่าด้วยการใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz หลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงนั้น โดยเหตุที่ในขณะนี้ กสทช.ได้ออก “ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.....” เพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว การทำความเห็นในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจของ กสทช.ในการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz จึงจะใช้ร่างประกาศฉบับดังกล่าวเป็นฐาน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากร่างประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว อาจพิจารณาให้ความเห็นได้เป็นลำดับไปดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของการออกประกาศดังกล่าว ได้รับการบัญญัติไว้ในตอนต้นของร่างประกาศฯ ว่า “เพื่อ เป็นการเตรียมการรองรับผลของการสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว ให้มีความต่อเนื่องในการให้บริการ การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัดในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านการสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระหว่างที่การจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวให้แก่ผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ยัง ไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการขึ้นเพื่อใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานสิ้น สุดลง มิให้การได้รับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้ใช้บริการได้รับตามปกติต้อง สะดุดหยุดลง...” และ “...จึงกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการขึ้นเพื่อมิให้การรับบริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้ใช้บริการได้รับตามปกติต้องสะดุดหยุดลง จึงกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการไว้ดังนี้” ซึ่งจะเห็นได้ว่า ร่างประกาศฉบับนี้อ้างเฉพาะแต่เหตุผลในการคุ้มครองผู้ใช้บริการประการเดียว โดยไม่มีการพิจารณาคุณค่าอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันอย่างเป็นธรรมใน ตลาดโทรคมนาคมมาประกอบการตัดสินใจ อีกทั้งการอ้างการคุ้มครองผู้ใช้บริการนั้น ยังไม่มีการพิเคราะห์ถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้ใช้บริการในความคงอยู่ของ สัญญาสัมปทานประกอบการออกประกาศฉบับนี้เลย การกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกประกาศฉบับนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นจากการใช้ ดุลพินิจอย่างครบถ้วนรอบด้าน
2. โดยเหตุที่ประกาศฉบับนี้ มีลักษณะเป็นกฎ ถึงแม้ว่า กสทช. จะเป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ แต่ในการออกประกาศที่มีลักษณะเป็นกฎ กสทช.ย่อมไม่มีอำนาจโดยตนเองในการออกกฎเรื่องใดๆมาใช้บังคับในกิจการโทร คมนาคมได้ ความเป็นองค์กรอิสระของ กสทช. มีความหมายในระบบกฎหมายแต่เพียงว่า กสทช.ไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของคณะรัฐมนตรีหรือ รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่โดยลักษณะของภารกิจย่อมต้องถือว่า กสทช.เป็นองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทที่ใช้อำนาจปกครอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กสทช. เป็นองค์กรฝ่ายปกครองที่เป็นอิสระ ในการออกกฎขึ้นใช้บังคับ จึงจำเป็นที่ กสทช.จะต้องอาศัยฐานอำนาจในการออกกฎจากกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ กสทช.จะออกกฎให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บทที่เป็นฐานอำนาจในการออกกฎไม่ได้ นอกจากนี้ กสทช.จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในทางแบบพิธีตลอดจนเงื่อนไขในทางเนื้อหาในการ ออกกฎอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อมิให้กฎดังกล่าวเป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะทำให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียมีอำนาจ ฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนกฎดังกล่าวเป็นการทั่วไปได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบกับมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสาม
3. ตามร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ กสทช.ได้อ้างแหล่งอำนาจในการประกาศจากมาตรา 27 (4) (6) และ (13) และมาตรา 83 และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ประกอบกับมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ ซึ่งเมื่อพิจารณามาตราต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ไม่พบว่ามาตราต่างๆ เหล่านี้สามารถเป็นฐานในการออกประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ฉบับนี้ได้ ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ ดังนี้
3.1 บทบัญญัติมาตรา 27 (13) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯเป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ ทั่วไปให้แก่ กสทช.ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบ กิจการและคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลในการ สื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคมเท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เป็นฐานของการออกกฎไม่
3.2 บทบัญญัติมาตรา 83 และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ก็เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจ กสทช.กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่ ต้องปฏิบัติจนกว่าจะถึงกำหนดเวลาคืนคลื่นความถี่เท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติให้อำนาจ กสทช.กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ได้รับคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่ต้อง ปฏิบัติภายหลังจากการคืนคลื่นนั้นแล้ว ดังที่ปรากฏในร่างประกาศฉบับนี้
3.3 บทบัญญัติมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ว่าผู้รับใบอนุญาตจะพักหรือหยุดการให้บริการ ทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหาก กสทช.จะออกกฎเรื่องดังกล่าวก็ต้องเป็นกฎที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพัก หรือหยุดการให้บริการทั้งหมดหรือบางส่วน อันมีลักษณะเป็นการวางกฎเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการพักหรือหยุดการให้บริการ ไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจะต้องให้บริการต่อไปดังที่ปรากฏ ในร่างประกาศฉบับที่กำลังพิเคราะห์อยู่นี้เช่นกัน
3.4 มาตรา 27 (4) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข และค่าธรรมเนียมการอนุญาตการใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเท่านั้น หาใช่เป็นฐานทางกฎหมายในการให้อำนาจ กสทช. ออกกฎเกณฑ์กำหนดให้คู่สัญญาตามสัญญาสัมปทานที่สิ้นสุดลงแล้วมีหน้าที่ในการ ให้บริการต่อไปไม่ ดังนั้นมาตรา 27 (4) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ จึงไม่อาจเป็นฐานทางกฎหมายในการออกประกาศฉบับนี้ได้เช่นเดียวกัน
4. แม้จะมีผู้ใดพยายามตีความบทบัญญัติต่างๆ ที่ กสทช.กล่าวอ้างในร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ว่าเป็นฐานทางกฎหมายได้ แต่การอ้างฐานทางกฎหมายเหล่านั้นในที่สุดแล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้อยู่ดี เนื่องจากจะขัดต่อหลัก “ความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง” ที่ว่า “การกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย” เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากเมื่อคลื่น 1800 MHz ตามสัญญาสัมปทานที่สิ้นสุดลงแล้วระหว่าง บมจ.กสท  และบริษัททรูมูฟ และสัญญาสัมปทานที่สิ้นสุดลงแล้วระหว่าง บมจ.กสท  และบริษัทดิจิตอลโฟน ต้องกลับคืนมาเพื่อให้ กสทช.ดำเนินการจัดสรรใหม่ตามที่ได้วิเคราะห์มาแล้วข้างต้น กสทช.ย่อมจะต้องนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปจัดสรรโดยวิธีการประมูลเท่านั้น การดำเนินการต่อคลื่นความถี่ที่สิ้นสุดลงตามสัญญาสัมปทานในลักษณะอื่นใดนอก จากการนำมาจัดสรรโดยวิธีการประมูล แม้จะอ้างว่าเป็นการกระทำในระยะเวลาเพียงชั่วคราวเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการ การกระทำเช่นว่านั้นย่อมขัดต่อกฎหมายทั้งสิ้น การอ้างการคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างลอยๆโดยไม่วิเคราะห์แยกแยะความเชื่อโดย สุจริตของผู้ใช้บริการในความคงอยู่ของสัญญาสัมปทานมาประกอบด้วย ย่อมไม่มีผลทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับฟื้นคืนมาเป็นการกระทำที่ ชอบด้วยกฎหมายไปได้
5. นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว หากพิจารณาโครงสร้างของร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ประกอบกับสัญญาสัมปทานที่สิ้นสุดลงแล้ว จะเห็นได้ว่าร่างประกาศ กสทช.ฉบับนี้กำหนดสิทธิหน้าที่ในความสัมพันธ์ถึงสี่เส้าด้วยกัน คือ 1) กสทช. 2) บมจ.กสท  3) บริษัททรูมูฟ และบริษัทดิจิตอลโฟน 4) ผู้ใช้บริการคลื่น 1800 MHz ของบริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟน หาใช่การกำหนดนิติสัมพันธ์ทางปกครองระหว่างผู้ออกกฎกับผู้ที่ตกอยู่ภายใต้ บังคับของกฎแบบปกติธรรมดาทั่วๆ ไปไม่

โดยลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าว แม้ กสทช.จะยืนยันว่าการออกประกาศนี้เป็นเพียงการกำหนดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้ บริการเป็นการชั่วคราวต่อไปเพียงหนึ่งปีหลังจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้ว “เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายของผู้ใช้บริการที่ยังไม่อาจโยกย้ายไปยัง ผู้ให้บริการรายอื่นได้และเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บริการ ได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการประมูลคลื่นความถี่และ การโอนย้ายผู้ใช้บริการไปสู่ผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่”ก็ ตาม (ข้อ 3 ของร่างประกาศฯ) แต่โดยเนื้อแท้แล้วร่างประกาศฉบับนี้มีผลเสมือนเป็นการขยายอายุสัญญาสัมปทาน ที่สิ้นสุดลงแล้วออกไปอีกหนึ่งปีถึงแม้ว่าในทางรูปแบบจะดูเหมือนว่าสัญญา สัมปทานไม่มีอยู่แล้วเนื่องจากหากประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ บมจ.กสท และบริษัททรูมูฟ กับ บมจ.กสท และบริษัทดิจิตอลโฟน จะยังคงมีนิติสัมพันธ์กันต่อไปอีกภายใต้วัตถุแห่งสัญญาเดิม (คลื่นความถี่ 1800 MHz)

ถึงแม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายเอกชนจะไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานตาม สัญญา แต่ก็จะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคม ค่าตอบแทนการใช้คลื่นวิทยุ ฯลฯ ซึ่งรวมแล้วน่าจะอยู่ประมาณไม่เกินร้อยละหกของรายได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการลดค่าสัมปทานที่บริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟนต้องชำระ ตามสัญญาสัมปทานเดิมจากที่จะต้องจ่ายร้อยละสามสิบของรายได้ลง  อันจะทำให้บริษัททั้งสองได้ประโยชน์ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างว่าเป็นไปโดย ชอบด้วยกฎหมายได้

อนึ่ง ตามร่างประกาศฯฉบับนี้ยังไม่แน่ชัดว่า บมจ.กสท จะได้รับประโยชน์อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์จากการยอมให้ใช้เครื่องและอุปกรณ์ของ บมจ.กสท ในการให้บริการ และจะเป็นปัญหาต่อไปว่า บมจ.กสท อาจไม่ยินยอมให้ใช้เครื่องและอุปกรณ์ตามสัญญา แต่ถ้า บมจ.กสท ยอมให้ใช้โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนในลักษณะค่าเช่า กรณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นว่าร่างประกาศฉบับดังกล่าวมีผลเป็นการขยายระยะเวลา ของนิติสัมพันธ์ระหว่างระหว่าง บมจ.กสท  และบริษัททรูมูฟ และ บมจ.กสท  และบริษัทดิจิตอลโฟน ออกไป การกระทำที่โดยเนื้อแท้แล้วมีผลเสมือนเป็นการขยายอายุสัมปทานออกไปเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ กสทช.ไม่มีอำนาจและไม่อาจกระทำได้
6. ในแง่ของการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรมในกิจการโทรคมนาคม กสทช.จะต้องคำนึงว่าผู้ประกอบการในตลาดโทรคมนาคมแต่ละรายย่อมทราบล่วงหน้า อยู่ก่อนแล้วว่าสัญญาสัมปทานแต่ละฉบับนั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ข้อมูลการได้มาซึ่งสิทธิในการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทาน และระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาสัมปทานแต่ละสัญญาเป็นข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น ต่อการวางแผนทางธุรกิจและการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งหากเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรมแล้วก็จะก่อให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ บริการหรือผู้บริโภค ตามหลักกฎหมายปกครอง รัฐโดยหน่วยงานที่กำกับกิจการโทรคมนาคมซึ่งก็คือ กสทช. ย่อมมีหน้าที่คุ้มครองความเชื่อถือและไว้วางใจในประโยชน์อันเอกชนผู้ประกอบ การอาจคาดหมายได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพของข้อเท็จจริงในการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยการกระทำของ หน่วยงานของรัฐที่มีผลเป็นฝ่าฝืนความเชื่อถือและไว้วางใจของเอกชนผู้ประกอบ กิจการโทรคมนาคม นอกจากจะไม่เอื้ออำนวยการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมแล้ว ยังจะส่งผลให้รัฐเกิดความรับผิดตามมาอีกด้วย
7. โดยอาศัยเหตุผลทั้งปวงที่ได้แสดงให้เห็นข้างต้น จึงเห็นว่า ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ หากได้รับการประกาศใช้แล้ว ย่อมจะต้องถือว่าเป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

3. เนื้อหาในร่างประกาศ กสทช.ฉบับดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่า กสทช. ไม่สามารถออกประกาศในลักษณะดังกล่าวได้ ย่อมไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องพิเคราะห์เนื้อหาของร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ต่อไปอีกว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สมควรตั้งข้อสังเกตบางประการที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของร่างประกาศฉบับนี้ เพื่อประโยชน์ในการรับฟังความคิดเห็น ดังนี้
1. ในร่างประกาศฉบับนี้ กสทช. นิยามความหมายของ “ผู้ให้บริการ” ว่า หมายความว่า ผู้ให้สัมปทานและหรือผู้รับสัมปทานเดิมตามสัญญาการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาที่สิ้นสุด ตามที่คณะกรรมการกำหนด  การกำหนดนิยามในลักษณะดังกล่าวขาดความชัดเจนแน่นอน เพราะไม่รู้ว่าตกลงแล้ว ผู้ให้บริการ ตามร่างประกาศฉบับนี้ เมื่อพิเคราะห์ถึงกรณีของสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่สิ้นสุดลง หมายถึง บมจ. กสท. หรือ บริษัททรูมูฟ/บริษัทดิจิตอลโฟน หรือหมายถึงทั้ง บมจ.กสท  และบริษัททรูมูฟ/บริษัทดิจิตอลโฟน พร้อมกัน จะต้องรอให้ กสทช.มีมติกำหนดก่อน ทั้งๆที่ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดหน้าที่ของผู้ให้บริการไว้แล้วว่ามีอะไรบ้าง แต่ปรากฏว่าตัวบุคคลผู้มีหน้าที่ตามร่างประกาศนี้กลับยังไม่มีความชัดเจนแน่ นอน
2. ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดหน้าที่ของบุคคลหลายคนไว้ หน้าที่ที่ได้รับการกำหนดไว้ในร่างประกาศฉบับนี้มีผลเป็นก้าวล่วงสิทธิของ บุคคล เช่น หน้าที่ของ “ผู้ให้บริการ” ที่จะต้องให้บริการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ถือว่า บมจ.กสท  ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานตามสัญญาสัมปทานที่สิ้นสุดลงมีหน้าที่ต้องให้บริการ ซึ่งเท่ากับว่า บมจ.กสท มีหน้าที่ที่จะต้องยอมให้ใช้โครงข่าย เครื่องและอุปกรณ์ ย่อมมีปัญหาว่าหาก บมจ. กสท.ไม่ยินยอมให้ใช้ จะมีมาตรการบังคับอย่างไร หาก กสทช. บังคับให้ บมจ.กสท  ยอมให้ใช้ กรณีจะกำหนดค่าตอบแทนการใช้เครื่องและอุปกรณ์อย่างไร และ กสทช.จะอาศัยอำนาจอะไรมาบังคับให้ บมจ.กสท ต้องยอมตาม
3. ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดหน้าที่บางประการไว้อย่างชัดแจ้งให้บุคคลผู้มี หน้าที่ตามประกาศนี้ต้องปฏิบัติ แต่ไม่กำหนดผลของการฝ่าฝืนไว้ เช่น กำหนดให้ผู้ให้บริการไม่มีสิทธิรับผู้ขอใช้บริการรายใหม่ ให้รักษาคุณภาพการให้บริการและกำหนดค่าบริการตามประกาศที่เกี่ยวข้อง ให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเงื่อนไขการคุ้มครอง หรือให้เร่งรัดการโอนผู้ใช้บริการ ฯลฯ ซึ่งหน้าที่ตามร่างประกาศนี้ เป็นไปได้ที่ผู้ให้บริการอาจไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติโดยไม่สมบูรณ์ เช่นนี้หากเกิดการฝ่าฝืน ไม่มีความชัดเจนว่า กสทช.จะดำเนินการบังคับอย่างไร
เมื่อพิจารณาจากแนวทางแก้ปัญหากรณีมีผู้ค้างบริการอยู่ในระบบตามสัญญา สัมปทานคลื่น 1800 MHz ที่สิ้นสุดลงตามร่างประกาศ กสทช. ฉบับนี้แล้ว เห็นว่า หากร่างประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ กรณีย่อมเท่ากับ กสทช. ใช้วิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในการแก้ปัญหาโดยอ้างการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ทั้งๆที่ กสทช.ในฐานะองค์กรที่กำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ย่อมต้องทราบตั้งแต่เข้าปฏิบัติหน้าที่แล้วว่าสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่เป็นปัญหาให้ต้องพิเคราะห์นี้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 แต่ กสทช.ก็หาได้เร่งรัดดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาไม่ คงปล่อยให้ปัญหาดังกล่าวดำเนินไปจนใกล้จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน จึงพยายามหาทางแก้ปัญหาโดยการอ้างการคุ้มครองผู้ใช้บริการ การอ้างเหตุดังกล่าว แม้ในด้านหนึ่งอาจมองได้ว่า กสทช.ต้องการคุ้มครองผู้บริโภคจริง แต่ในอีกด้านหนึ่งก็สามารถมองได้เช่นกันว่า กสทช.ย่อมเล็งเห็นแล้วว่าหากบุคคลใดคัดค้านวิธีการแก้ปัญหาตามร่างประกาศนี้ บุคคลดังกล่าวอาจถูกกล่าวหาว่าไม่แยแสไยดีความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการ อันจะมีผลเป็นการ “ปิดปาก” ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาโดยวิธีการที่มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายนี้ โดยปริยาย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามประเด็นหนึ่งที่ กสทช.ยากที่จะอธิบายก็คือ การแก้ปัญหาตามวิธีการที่ กสทช. เสนอตามร่างประกาศนี้ จะมีผลเป็นการเอื้อประโยชน์แก่คู่สัญญาฝ่ายเอกชนตามสัญญาสัมปทานอย่างไม่อาจ จะหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดลงของค่า “สัมปทาน” จากร้อยละสามสิบเหลือประมาณร้อยละหก ของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนตามสัญญาสัมปทานเดิมดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ผลจากการนี้ทำให้ กสทช. นอกจากจะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องในคดีปกครอง (การฟ้องเพิกถอนประกาศ กสทช.) แล้ว ยังสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในคดีอาญาด้วย
เมื่อแนวทางแก้ปัญหาตามร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายดังที่ได้แสดงให้เห็นแล้ว กสทช.ย่อมต้องหาวิธีการแก้ปัญหาในลักษณะอื่นเพื่อป้องกันการเกิดกรณี “ซิมดับ” ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ย่อมได้แก่ การเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการสิ้นสุดลงของสัญญาสัมปทานและ ให้ผู้ใช้บริการย้ายไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาดโทรคมนาคม โดยในระหว่างระยะเวลาที่เหลืออยู่อีกสองเดือนเศษนี้ กสทช.ต้องกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมขยายศักยภาพในการรับโอนผู้ใช้ บริการตามสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดให้มากที่สุด อย่างเต็มกำลังความสามารถ และต้องกระทำอย่างจริงจังโดยเสมอภาคกันผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่อยู่ใน ตลาดโทรคมนาคมทุกราย

เมื่อได้มีการประชาสัมพันธ์และดำเนินการรับโอน ผู้ใช้บริการอย่างเต็มศักยภาพแล้ว หากยังมีผู้ใช้บริการค้างอยู่ในระบบเนื่องจากบุคคลนั้นไม่แสดงความจำนงย้าย ไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่น หากเกิดกรณีซิมดับ ก็ย่อมจะต้องถือว่าบุคคลนั้นมีส่วนผิดในการไม่แสดงเจตจำนงย้ายไปใช้บริการ กับผู้ให้บริการรายอื่นเอง

ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าการคุ้มครองผู้ใช้ บริการนั้น ระบบกฎหมายไม่สามารถคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างสัมบูรณ์และโดยไม่มีเงื่อนไข ใดๆ ได้ แต่การคุ้มครองผู้ใช้บริการจะต้องตกอยู่ภายใต้หลักการคุ้มครองความเชื่อถือ และไว้วางใจ อันเป็นหลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครอง เช่น ระบบกฎหมายย่อมไม่สามารถคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ต้องใช้บริการในเทคโนโลยี เดิมตลอดไปได้ หากปรากฏว่าเทคโนโลยีนั้นพ้นสมัยเสียแล้ว การรักษาไว้ซึ่งบริการตามเทคโนโลยีเดิมจะมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากซึ่งไม่อาจคาด หมายจากผู้ให้บริการที่จะต้องให้บริการในเทคโนโลยีดังกล่าวไปตลอดกาลได้ นอกจากนี้การคุ้มครองผู้ใช้บริการ โดยหลักแล้วจะต้องคุ้มครองบนฐานของการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย จะคุ้มครองบนฐานของการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
สำหรับกรณีที่ผู้ใช้บริการได้แสดงเจตจำนงในการโอนย้ายแล้ว เมื่อใกล้จะครบกำหนดแล้วปรากฏว่ายังไม่สามารถโอนย้ายได้หมด กสทช.อาจต้องประสานกับคู่สัญญาฝ่ายเอกชนตามสัญญาสัมปทานเพื่อดำเนินการให้มี การโอนย้ายส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมดพร้อมกัน (ย้ายยกล๊อต) ไปยังคลื่นความถี่อื่นที่สามารถรับการโอนย้ายส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ เพื่อป้องกันกรณีซิมดับ แต่กรณีนี้สมควรเป็นทางเลือกสุดท้าย (ultima ratio) เมื่อโอนส่วนที่เหลือทั้งหมดเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้ต่อ เนื่องแล้ว  ก็จะต้องเร่งโอนย้ายผู้ให้บริการตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการที่ได้แสดง เจตจำนงไว้แล้วให้เสร็จสิ้นต่อไป
กล่าวโดยสรุปผู้ทำความเห็น เห็นว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการออกประกาศตามร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ และเสนอให้แก้ปัญหาโดยเร่งประชาสัมพันธ์และเพิ่มขีดความสามารถในการโอนย้าย ผู้ใช้บริการไปยังผู้ให้บริการรายอื่นให้เต็มศักยภาพในระยะเวลาสองเดือนเศษ ก่อนที่สัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ที่เป็นปัญหาอยู่นี้จะสิ้นสุดลง