แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นวลน้อย ธรรมเสถียร: นักข่าวพลเมือง

ที่มา ประชาไท


“นักข่าวพลเมืองเป็นงานที่ดีแต่การทำแบบอาสาสมัครมันไม่ยั่งยืน มันต้องมีการให้ผลตอบแทนกันบ้าง” มาราน เปอเรียเนน (Maran Perianen)  ผู้บริหารของซีเจเอ็มวาย- CJMY หรือ Citizen Journalists Malaysia กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในแนวทางการทำงานที่กำลังเกิดขึ้นกับกลุ่มนักข่าว พลเมืองกลุ่มใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
มาราน -ชายร่างใหญ่ผิวคล้ำแบบคนเชื้อสายภารตะในชุดเสื้อยืดกางเกงยีนผมยาวเกล้า หลวมๆ ดูเผินๆคล้ายนักร้องเพลงร็อคมากกว่าจะเป็นผู้บริหาร  ธุรกิจที่เขากำลังจะสร้างขึ้นจากงานของนักข่าวพลเมืองก็ดูจะเป็นเรื่องที่ แหวกขนบไม่น้อยไปกว่าภาพลักษณ์ของตัวเขา เพราะคำว่านักข่าวพลเมืองที่ดูจะไปกันไม่ค่อยได้กับคำว่าธุรกิจ แต่มารานมีคำอธิบายว่าพวกเขาไม่ใช่ธุรกิจเพื่อธุรกิจ ขณะที่ก็ไม่ใช่ข่าวพลเมืองเพื่อแจกฟรี “เนื่องจากเราอยากจะรักษาสภาพของการทำงานแบบอาสาสมัครไว้ระดับหนึ่ง เราก็จะไม่ให้สิ่งตอบแทนไปหมดทุกอย่าง มันต้องมีการให้และการรับในการทำงานแบบนี้ กิจกรรมของเราต้องมีรายได้แต่ไม่ใช่ตั้งเป้าว่าจะแสวงหากำไร”
การประชุมที่ว่านี้เป็นงานประชุมประจำปีของกลุ่มซีเจเอ็มวาย จัดที่โกตาคินาบาลู เมืองเอกของรัฐซาบา มาเลเซียเมื่อวันที่ 8 มิย.ที่ผ่านมา เพื่อนร่วมทีมของมารานไม่ต่ำกว่าสี่สิบคนต่างสวมเสื้อยืดแขนสั้นสีแดงเพลิง มีแถบขาวที่แขน หน้าอกปักไว้ด้วยสัญลักษณ์กลุ่ม ดูท่าว่ามันจะเป็นสิ่งทำให้พวกเขารู้สึกเป็นทีมเดียวกันมากขึ้น หลายคนโพสต์ท่าถ่ายรูปหมู่ด้วยความภูมิใจกับองค์กรของตัวเอง  และในความเป็นจริงพวกเขาก็มีเหตุผลที่จะภูมิใจได้ แม้ซีเจเอ็มวายจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสื่อทางเลือกรายสำคัญคือกลุ่ม มาเลเซียกินี แต่มารานอธิบายว่า ในการทำงานนั้นพวกเขาแยกตัวออกมาต่างหากไม่เกี่ยวข้องกัน  จากโครงการ ซีเจเอ็มวายกลายมาเป็นกลุ่ม มีนักข่าวหลายคนในกลุ่มพวกเขาที่ถูกสื่อกระแสหลักดึงตัวไปทำงานด้วย บัดนี้ซีเจเอ็มวายกลายสภาพเป็นองค์กรธุรกิจไปแล้ว แต่กว่าจะมาถึงขั้นนี้พวกเขาก็ต้องตอบคำถามตัวเองมากมายเช่นกัน
มารานและเพื่อนร่วมทีมของเขาถือว่ากลุ่มของตัวเองเป็นหัวหอกของการสร้าง งานแบบนักข่าวพลเมือง พวกเขาเชื่อว่าไม่มีที่ใดในอาเซียนที่ทีมนักข่าวพลเมืองจะเข้มแข็งเท่าซีเจ เอ็มวาย และซีเจเอ็มวายได้กลายมาเป็นแม่แบบของงานสร้างนักข่าวพลเมืองให้กับหลาย ประเทศ “สื่อกระแสหลักไม่เคยสนใจข่าวชุมชน งานข่าวของพวกเขามันกำหนดจากบนลงล่างและสื่อละเลยชาวบ้านและชุมชนเหล่านั้น ถึงที่สุดแล้ว คนในชุมชนคือคนที่เสพข่าวสารของพวกเขา แต่ข่าวของพวกเขามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวบ้านและชุมชนเลย นี่คือช่องว่างที่เราต้องการจะถม”เขาว่า
พวกเขาเริ่มบุกเบิกงานข่าวพลเมืองตั้งแต่ปี 2551 และประสบความสำเร็จในการจัดอบรมนักข่าวพลเมืองไปกว่าแปดร้อยคน สองปีให้หลังมานี้กลุ่มผลิตงานเขียนไปกว่าสองพันชิ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาของคนที่ทำก่อนเริ่มก่อนและเป็นหัวหอกก็คือ พวกเขามักจะต้องคลำทางด้วยตนเอง ซีเจเอ็มวายก็เช่นกัน พวกเขาต้องดิ้นรนบนหนทางที่โดดเดี่ยว สู้กับสื่อกระแสหลัก สู้กับตนเองและกับปัญหาการหาแนวทาง รูปแบบ วิธีการในการนำเสนอเพื่อที่จะแตกต่างอย่างมีนัย  สิ่งที่สำคัญคือการสร้างองค์กรซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้เงิน – เฉกเช่นเดียวกับกลุ่มสื่อทางเลือกอื่นๆที่มีปัญหาในเรื่องเดียวกัน คนทำงานที่เป็นอาสาสมัครไม่ได้ค่าตอบแทน ปัญหาใหญ่ก็คือจะจูงใจให้พวกเขาทำงานต่อไปได้อย่างไรในเมื่อในการทำงานนั้น มีทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัวและขององค์กร และแม้ว่าวันนี้จะอยู่ได้ แต่พวกเขาจะเติบโตหรือขยายตัวได้อย่างไรในฐานะองค์กรของอาสาสมัคร  “การทำงานสร้างงานให้กับนักข่าวพลเมืองเป็นเรื่องใหม่ เราไม่มีโมเดลที่จะให้ทำตาม พวกเราต้องคลำหาเส้นทางอันนั้นด้วยตัวเอง” มารานยอมรับ
ที่ประชุมของซีเจเอ็มวายปีนี้คนน้อยลงกว่าเดิมชนิดกวาดตาดูแล้วน่าจะมี ประมาณสักสี่สิบคนจากเดิมที่พวกเขาบอกว่ามีเป็นร้อย ทั้งนี้เพราะหลายคนเดินออกจากซีเจเอ็มวายไปแล้ว มารานบอกว่า มันเป็นผลของการถกเถียงกันภายในองค์กร เช่นเดียวกับมาเลเซียกินี องค์กรร่วมภายใต้ร่มเงาเดียวกันที่ทุกวันนี้ใช้วิธีขายข่าว ซีเจเอ็มวายเองก็มาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจว่าจะจัดการหาเงินทุนได้อย่างไร ปัญหาอันนี้เป็นปัญหาโลกแตกของคนทำสื่อรายย่อยและของนักข่าวพลเมืองทั่วไป ทุกแห่งก็ว่าได้
สำหรับซีเจเอ็มวาย ปัญหานี้มีการรับมือสองวิธีหลัก คนกลุ่มหนึ่งต้องการหาวิธีสร้างรายได้จากเนื้อหาของงานที่นักข่าวพลเมือง ผลิตขึ้นมา  อีกส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยและเชื่อว่านักข่าวพลเมืองต้องใช้หลักการการทำงาน แบบอาสาสมัครต่อไปเพราะไม่เช่นนั้นพวกเขาก็จะสูญเสียการเป็นนักข่าวพลเมือง ฝ่ายแรกบอกว่า หากยังทำงานแบบอาสาสมัครต่อไปพวกเขาคงขยายงานไม่ได้ การถกเถียงเพื่อหาข้อยุติในเรื่องนี้ลงเอยด้วยการที่ฝ่ายแรกชนะ แต่ผลของมันก็คือการเดินจากไปของคนร่วมสี่สิบคนที่เคยร่วมงานกันมาก่อนใน ฐานะนักข่าวพลเมือง ส่วนคนที่ยังอยู่คือกลุ่มของมารานและเพื่อนๆซึ่งสัญญาว่าพวกเขาจะมองหาวิธี การหารายได้  “เราไม่มีความคิดว่าจะทำกำไรหรือโกยเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง แค่ต้องการให้อยู่ได้ เพราะถ้าไม่มีเงินเราก็ไปต่อไม่ได้ นี่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้งานทำข่าวอยู่ในกำมือของชาวบ้านธรรมดาๆได้ และเชื่อว่าถ้าเราทำได้ สักวันหนึ่งเราอาจจะดึงพวกเขากลับมาร่วมกลุ่มกันเหมือนเดิมได้อีก” มารานว่า  สำหรับการหาทุน หลักการใหญ่ๆที่เขาแนะนำซึ่งใครๆก็อาจเอาไปทำได้ นอกเหนือจากจะต้องมีเวทีสำหรับมีงานออกสู่สาธารณะ ก็อาจจะทำสิ่งที่เขาเรียกว่า crowdsourcing เป็นการหาสปอนเซอร์สนับสนุนจากในหมู่ผู้อ่าน อาจจะตั้งประเด็นหรือหา theme ในการรายงานและระดมทุนจากผู้อ่านในการรายงานหัวข้อนั้นๆ เป็นต้น (ผู้สนใจอาจหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://dailycrowdsource.com/crowdsourcing-basics/what-is-crowdsourcing )
แต่ก็มาถึงคำถามที่ว่า แล้วเนื้อหาข่าวจากชุมชนมันจะขายได้หรือ มารานชี้ว่า ซีเจเอ็มวายต้องปรับตัวอย่างมากเช่นกันในเรื่องของเนื้อหา เพราะว่าอาการเบี้ยหัวแตกของข้อมูลที่นักข่าวพลเมืองในกลุ่มส่งกันเข้ามา อย่างไร้ทิศทาง ทำให้ในที่สุดซีเจเอ็มวายต้องปรับตัวด้วยการมีโต๊ะข่าวกำหนดประเด็นที่ให้ ความสำคัญ นักข่าวพลเมืองที่ส่งข่าวในประเด็นที่โต๊ะข่าวต้องการจะได้รับค่าตอบแทน นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดในเรื่องลักษณะของงานอีกหลายประการเพื่อควบคุมคุณภาพ ของงานข่าว ผลของการเข้ามาควบคุมลักษณะการทำงานเพื่อหล่อเลี้ยงคุณภาพเช่นนี้ทำให้นัก ข่าวพลเมืองร่วม 40% ผันตัวเองออกจากกลุ่มไป

อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ที่ Media Inside Out

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น