แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สถานภาพการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของ ชัช ชลวร

ที่มา ประชาไท


หนึ่งในปัญหาที่ถาโถมใส่ศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันนอกเหนือจากความขัดแย้ง ในอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับรัฐสภาแล้วก็คือสถานภาพของนายชัช ชลวร อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 และที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติคัดเลือกประธานฯคนใหม่โดยใช้วิธี สลับตำแหน่งกับนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ แล้วเสนอโปรดเกล้าฯ ซึ่งในที่สุดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้นายชัชพ้นจากการเป็นประธานฯและแต่งตั้ง ให้นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานฯแทน
ประเด็นของความสงสัยจึงเกิดขึ้นและนำมาซึ่งการถกเถียงว่าสถานภาพของนาย ชัชว่ายังเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่หรือไม่ เพราะนายชัชดำรงตำแหน่งไม่ครบวาระแต่มีการสลับตำแหน่ง ซึ่งไม่มีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ที่สำคัญก็คือหนังสือจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปยังวุฒิสภาเพื่อโปรด เกล้า 2 อย่าง คือ โปรดเกล้าฯให้พ้นจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ และให้โปรดเกล้าฯเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้เห็นว่า   ศาลรัฐธรรมนูญก็เล็งเห็นปัญหาอยู่ว่าการดำเนินการเรื่องนายขัชต้องดำเนินการ ๒ อย่าง แต่ในที่สุดทรงโปรดเกล้าฯให้นายชัชพ้นจากการเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่า นั้น แต่ไม่ได้ระบุว่าโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด(ที่มา: มติชนรายวัน,10 พ.ค.2556,หน้า 2)

ประเด็นข้อถกเถียง
แนวความคิดเห็นแรก เห็นว่าการที่มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯแต่งตั้งนายชัชเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี ๒๕๕๑ นั้นเป็นการทำให้นายชัชเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปพร้อมกันแล้ว(มีสองสถานะแยกกัน – two in one) จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีการโปรดเกล้าใหม่อีก กอปรกับเมื่อวุฒิสภาได้คัดเลือกได้ว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนแล้ว 9คนนั้นเองก็ได้ประชุมกันเองก็ได้คัดเลือกให้หนึ่งในนั้นเป็นประธานฯแล้ว
แนวความคิดเห็นที่สอง เห็นว่าการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนาย ชัชเมื่อ 28 พฤษภาคม 2551นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งหมายความรวมถึงสถานะ การเป็นตุลาการไปด้วย โดยไม่ได้ระบุให้นายชัชเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกต่างหาก(มีสถานะเดียวคือ เป็นประธานฯซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตุลาการด้วย- one in two) เพราะฉะนั้นเมื่อต่อมามีการขอสลับตำแหน่งและขอลาออกจากการเป็นประธานศาลรัฐ ธรรมนูญเพื่อไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว แต่ปรากฏว่าได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พ้นจากประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ได้ มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายชัชเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก นายชัชจึงต้องพ้นจากทั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปด้วย ไม่สามารถอนุมานหรือตีขลุมได้ว่านายชัชยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ ดังนั้น จึงถือว่านายชัชพ้นจากสถานะการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว

ข้อกฎหมาย
1) รัฐธรรมนูญฯมาตรา 204 วรรคสาม บัญญัติว่า “ให้ผู้ได้รับการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ
2)รัฐธรรมนูญฯมาตรา204วรรคสี่ บัญญัติว่า “ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
3)รัฐธรรมนูญฯมาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
ฯลฯ
(3)ลาออก
ฯลฯ”

ข้อวินิจฉัย
พิเคราะห์แล้วเห็นว่ากรณีนี้สถานภาพของนายชัชได้สิ้นสุดสถานภาพการเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของนายชัชนั้นได้สิ้นลงแล้ว แม้ว่าจะมีบางความเห็นโต้แย้งว่ากรณีนี้เทียบได้กับกรณีของการแต่งตั้ง ประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งผมเห็นว่าไม่สามารถนำมาเทียบเคียงได้ เนื่องเพราะในขณะที่นายชัชได้รับการคัดเลือกระหว่างผู้ที่ผ่านการเห็นชอบจาก วุฒิสภาเพื่อให้เสนอชื่อเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้น สถานภาพของทั้ง 9 คน ยังไม่ได้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยสมบูรณ์เพราะทั้ง 9 คน ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งฯแต่อย่างใด
อีกทั้งมาตรา 98 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาศาลปกครอง พ.ศ.2542 ได้บัญญัติว่าเมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครอง สูงสุดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะกรรมการคัดเลือกฯเป็นอันพ้นหน้าที่ และให้ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดด้วยกันเอง เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดหนึ่งคน รองประธานศาลปกครองสูงสุดสองคน และตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุดสี่คนฯลฯ
กอปรกับการพ้นตำแหน่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้นรัฐธรรมนูญมิได้ระบุไว้ เป็นการเฉพาะแต่ระบุไว้รวมกับเงื่อนไขของการพ้นตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ ฉะนั้น เมื่อนายชัชยื่นลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นการพ้นจากตำแหน่ง จากการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรรมนูญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ถ้ามองตามข้อวินิจฉัยนี้จะเห็นได้ว่าการที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ ให้สลับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญกับตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของนายชัช ชลวรกับนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์นั้นมีปัญหาในความชอบด้วยกฎหมายอย่างแน่นอน
แล้วจะทำอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วมีปัญหาในเรื่องของความชอบด้วยกฎหมายของตำแหน่งตามรัฐ ธรรมนูญแล้วมักจะเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้วินิจฉัย แต่กรณีนี้ไม่สามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วยเหตุของการเป็นผู้ มีส่วนได้เสียขององค์คณะของศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดที่ได้มีมติในการสลับ ตำแหน่ง ที่สำคัญก็คือไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญให้สามารถกระทำใน กรณีนี้ได้
ฉะนั้น ผู้ที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการวินิจฉัยหรือทำความชัดเจนในประเด็นข้อ โต้เถียงนี้ย่อมหนีไม่พ้นจากวุฒิสภาที่จะต้องทำหน้าที่นี้ เพราะประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญฯมาตรา ๒๐๔ วรรคสี่ นั่นเอง
เมื่อวินิจฉัยแล้วก็ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม หากวุฒิสภามีคำวินิจฉัยตามแนวความเห็นที่หนึ่งก็เป็นอันว่าจบเรื่อง แต่หากวุฒิสภามีคำวินิจฉัยว่าการสลับตำแหน่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ หรือหากวุฒิสภาไม่ยอมทำหน้าที่เป็นผู้วินิจฉัยวุฒิสภาก็ย่อมจะต้องเป็นผู้ ที่จะต้องรับผิดชอบไปเต็มๆในฐานะที่เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแล้วทำให้ เกิดปัญหาขึ้น
ส่วนผลของการที่ไม่รับผิดชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ วุฒิสภาจะเป็นอย่างไรนั้น ฝากไว้เป็นการบ้านให้ท่านผู้อ่านคิดเอาเองก็แล้วกันนะครับ
--------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น