แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปปช.โต้ทักษิณหลังโฟนอินกล่าวหาว่าถูกเรียก 600 ล้านหลุดคดีซุกหุ้น

ทีึ่มา ประชาไท


ปปช. ออกเอกสารทางเว็บไซต์ โต้ทักษิณกรณีถูกกล่าวหา คนใน ปปช.เรียกเงิน 600 ล้านบาทแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดีซุกหุ้น ระบุทักษิณขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นนายกฯ แต่กลับไม่ดำเนินคดีกับบุคคลที่เรียกรับเงิน โดยเรียกร้องให้ทักษิณไปหาทนายมาแจ้งความเอาผิดกับบุคคลดังกล่าว เพราะหากนิ่งเฉยไม่ดำเนินคดี ทักษิณจะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ม.157
วันนี้ (21 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ออกเอกสารโต้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทางเว็บไซต์ กรณีถูกกล่าวหาว่ามีคนใน ปปช.เรียกเงิน 600 ล้านบาทแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดีซุกหุ้น
ข้อความในเอกสารของ ปปช.ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สไกป์มายังเวทีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ในงานรำลึกเหตุการณ์ 3 ปีการสลายการชุมนุม ในตอนค่ำของวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีข้อความที่กล่าวถึง ปปช.ว่า “ในปี 2542 ได้เคยมีคนของสำนักงาน ปปช.ชื่อนายแอ๊บ ยื่นข้อเสนอขอเงิน 600 ล้านบาท กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดีซุกหุ้น ในช่วงก่อนการเลือกตั้งสมัยแรกของตน พรรคไทยรักไทย แต่ตนได้ตอบปฏิเสธไป”
เอกสารดังกล่าวระบุต่อไปว่า “ข่าวดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและเสียหายอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์ของ สำนักงาน ป.ป.ช. และกระทบต่อความรู้สึกของบุคลากรของสำนักงาน ป.ป.ช. ตลอดเวลา” และยืนยันว่าบุคลากรของ ปปช.”ปฏิบัติงานโดยปราศจากแรงกดดันจากทุกฝ่าย และทำงานบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้ ข้อมูลพยานหลักฐานที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย”
ในตอนท้ายของเอกสาร ปปช.ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย แต่ไม่ดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวในข้อหาเจ้าพนักงานทุจริตตามมาตรา 149 และ 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งจนถึงปัจจุบันเรื่องนี้ยังไม่หมดอายุความ จึงเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เปิดเผยข้อมูลให้กระจ่างแจ้งต่อสาธารณชน และขอให้ทนายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อเอาผิดกับบุคคลที่เรียกรับเงิน หากนิ่งเฉยไม่ดำเนินคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ย่อมมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น