แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

"ชยิกา" หลานสาวนายกฯ โพสต์ FB ถาม "เล่ารัฐประหาร-ทำรัฐประหาร" อย่างไหนทำร้ายประเทศ?

ที่มา go6tv

 30 เมษายน 2556 go6TV ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.00 น.ที่ผ่านมา  นางสาวชยิกา วงศ์นภาจันทร์ หลานสาวนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (บุตรสาวนางเยาวเรศ ชินวัตร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว https://www.facebook.com/Sand.Chayika โดยตั้งคำถามต่อสังคมว่าระหว่างผู้ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐประหารกับ ผู้ที่ทำรัฐประหาร อย่างไหนเป็นการทำร้ายประเทศไทย พร้อมภาพกราฟิกประกอบเป็นรูปป้ายเขตพื้นที่การใช้กระสุนจริง รวมทั้งมีข้อความระบุในส่วนท้ายว่า "ช่วยกันแชร์/กดไลค์ ให้ดังถึงคนกลุ่มนี้ที"

ทั้งนี้ นางสาวชยิกา โพสต์ข้อความมีเนื้อหาดังนี้




“เล่ารัฐประหาร” กับ “ทำรัฐประหาร” อย่างไหน “ทำร้าย” และ “ทำลาย” ภาพพจน์ประเทศ?

เช้า นี้ (30 เมษายน 2556) ได้มีโอกาสฟังวิทยุคลื่นหนึ่ง มีนักวิชาการท่านหนึ่งออกมา ติติงการปาฐกถาพิเศษของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย ที่ประเทศมองโกเลีย เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา ว่า 
(1) นายกฯยิ่งลักษณ์ทำร้ายและทำลายภาพพจน์ประเทศ และ 
(2) นายกฯยิ่งลักษณ์นำเรื่องของพี่ชาย ซึ่งเป็นครอบครัว เป็นเรื่องส่วนตัวมาพูดในเวทีโลก
เมื่อ ได้ฟังแล้วก็รู้สึกท้อใจ กับตรรกะของคนบางกลุ่มที่มีเพียงทัศนคติด้านลบ และสร้างวาทกรรมบิดเบือนความเป็นจริง เพียงเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง

ทั้งๆ ที่สิ่งที่นายกรัฐมนตรี พูดก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย โดยเฉพาะ กรณีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลประชาธิปไตย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
หรือคนกลุ่มนี้คิดว่าที่ผ่านมา ทั่วโลกไม่เคยมีใครรับรู้ รับทราบ ถึงเรื่องราวเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราเลย
1. เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี 2549 ที่มี นายกฯ ชื่อ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
2. การมีรัฐบาลที่มีที่มาจากคณะรัฐประหาร หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
3. การชุมนุมยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติ โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อปี 2551 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ที่มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
4.การ ช่วงชิงเสียง ส.ส. เพื่อระดมไปจัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ในปลายปี 2551 ที่มีการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนขณะนั้นว่ามีการไปพูดคุยเจรจากันในค่ายทหาร
และ 5.เหตุการณ์การสลายการชุมนุมของประชาชน ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553

ที่ สุด ก็คงได้แต่ทำใจว่าคนบางกลุ่มที่ “เสียงดัง” คือมีโอกาสเข้าถึงสื่อสารมวลชนมากกว่าคนอื่น กลับใช้สื่อในทางที่ผิด บิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อประโยชน์ทางการเมือง เพราะท้ายที่สุด ประชาชนก็คงเป็นผู้ตัดสินเองว่า ระหว่างผู้กระทำการรัฐประหาร กับ ผู้ถูกรัฐประหาร และ ผู้ที่นำเรื่องการทำลายประชาธิปไตยด้วยการรัฐประหาร มาบอกเล่านั้น “ใคร” เป็นบุคคลที่ทำร้ายและทำลายภาพพจน์ประเทศ

หาก “เห็นด้วย” ก็ขอให้ช่วย “กด LIKE” “กด SHARE” ให้ดังไปถึง “คนกลุ่มนี้” ทีนะคะ

https://www.facebook.com/Sand.Chayika

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น