แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

"นายกฯยิ่งลักษณ์" ฟ้องโลก "พี่ชายตนถูกรัฐประหาร-ประชาชนถูกยิงด้วยสไนเปอร์" ยืนยันวันนี้พร้อมลุกสู้!

ที่มา go6tv






เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 เฟซบุ๊คของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เผยแพร่ ปาฐกถาพิเศษ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมประชาคมประชาธิปไตย อูลัน บาตอ, มองโกเลีย ดังนี้
คำแปลปาฐกถาพิเศษ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมประชาคมประชาธิปไตย อูลัน บาตอ, มองโกเลีย 29 เมษายน 2013
โดย Yingluck Shinawatra (บันทึก) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2013 เวลา 8:47 น.

ท่านประธาน,
ท่านผู้มีเกียรติ,
ท่านผู้เข้าร่วมประชุม,

ดิฉันขอเริ่มด้วยการขอบคุณท่านประธานาธิบดีแห่งมองโกเลียที่ได้เชิญให้ดิฉันมาปาฐกถาณ การประชุมประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้

ดิฉัน ได้ตอบรับเชิญไม่เพียงเพราะดิฉันต้องการที่จะได้มีโอกาสเยือนมองโกเลีย ประเทศที่ประสบความสำเร็จในความเป็นประชาธิปไตย หรือไม่ได้มาเพียงที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย แต่ดิฉันเดินทางมาที่นี่เพราะความเป็นประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อดิฉันอย่าง มากและที่สำคัญยิ่งกว่าคือความไม่เป็นประชาธิปไตยมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็น อยู่ของประชาชนในประเทศบ้านเกิดของดิฉันประเทศไทยที่ดิฉันรัก

ประชาธิปไตย นั้นไม่ใช่เป็นแนวคิดอุดมการณ์ใหม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายาวนานแนวทาง ประชาธิปไตยได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าและความหวังสำหรับผู้คนจำนวนมากและในขณะ เดียวกัน ผู้คนจำนวนมากได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาและสร้างความ เป็นประชาธิปไตย

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ารัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ได้ได้มาฟรีๆ สิทธิ เสรีภาพและความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงมีความเท่าเทียมกันนั้นได้มาด้วยการต่อสู้และ ที่น่าเศร้าใจคือ ทำให้ต้องมีผู้เสียชีวิต

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น หรือ?ก็เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยในโลกนี้ที่ไม่เชื่อในแนวคิดประชาธิปไตย  คนเหล่านี้พร้อมที่จะให้ได้มาด้วยอำนาจและด้วยการกดขี่การมีเสรีภาพนั่นหมาย ความว่าพวกเขาพร้อมที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น เขาไม่เคารพสิทธิมนุษยชนหรือความเสรีภาพพวกเขาพร้อมจะใช้กำลังเพื่อกดขี่ให้ คนอยู่ใต้อำนาจ และยังใช้อำนาจในทางที่ผิด สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในอดีตและยังคงท้าทายเราทุกคนในปัจจุบัน

มีหลาย ประเทศที่ความเป็นประชาธิปไตยได้หยั่งรากลึกแล้วซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและเป็น ความรู้สึกสดชื่นที่ได้เห็นกระแสประชาธิปไตยที่นำความเปลี่ยนแปลงสู่ประเทศ ต่างๆจากปรากฏการณ์อาหรับสปริงค์ถึงช่วงผ่านเปลี่ยนในเมียนมาร์ภายใต้ผลัก ดันของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของดิฉัน ด้วยพลังของประชาชนคนไทยที่ทำให้ดิฉันมายืนอยู่ที่นี่ได้ในวันนี้

ใน ระดับภูมิภาคหลักการสำคัญๆในปฏิญญาอาเซียนก็ยึดมั่นในหลักนิติธรรม, ประชาธิปไตยและรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันเราทุกคนต้องระมัดระวังว่าแรงปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตย ไม่เคยที่จะถดถอยลดน้อยลงดิฉันขอยกเรื่องของดิฉันเองเป็นอุทาหรณ์

ใน ปี1997 ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งร่างขึ้นโดยที่ประชาชนมีส่วน ร่วม เราทุกคนคิดว่ายุคใหม่ของประชาธิปไตยไทยมาถึงแล้วและจะเป็นยุคสมัยที่ไร้การ รัฐประหาร

แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้ง ถึงสองครั้งสองหนด้วยเสียงส่วนใหญ่ถูกล้มลงในปี 2006 ประเทศไทยเสมือนรถไฟตกรางและประชาชนคนไทยใช้เวลาเกือบ10 ปีกว่าที่จะได้เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยกลับคืนมา

หลายคนที่อยู่ในที่ ประชุมแห่งนี้รู้ว่ารัฐบาลที่ดิฉันพูดถึงคือรัฐบาลที่พี่ชายของดิฉันพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลายคน ที่ไม่รู้จักดิฉันอาจบอกว่า เธอจะบ่นไปทำไม? เป็นเรื่องปกติในกระบวนการการเมืองที่รัฐบาลมาแล้วก็ไปซึ่งหากตัวดิฉันและ ครอบครัวของดิฉันต้องเจ็บปวดแต่ฝ่ายเดียว ดิฉันก็คงจะปล่อยวาง

แต่ นั่นก็ไม่ใช่ความเป็นไปที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหารประเทศไทยต้องถอยหลังและ สูญเสียความน่าเชื่อถือต่อนานาชาติหลักนิติธรรมและกระบวนการกฎหมายถูกทำลาย โครงการและแผนงานที่พี่ชายของดิฉันริเริ่มตามที่ประชาชนต้องการถูกยกเลิก ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าสิทธิเสรีภาพของเขาถูกปล้นไป

คำว่า“ไทย” หมายความว่า “อิสระ” และประชาชนคนไทยก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้เสรีภาพคืนมาแต่ใน เดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมของผู้เรียกร้องกลุ่มคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง91 คนในใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ

คน บริสุทธิ์ถูกลอบยิงโดยสไนป์เปอร์แกนนำการชุมนุมต้องติดคุกหรือหลบหนีไปต่าง ประเทศ และแม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อ ประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่

ประชาชนคนไทยไม่ท้อถอยและยืนยันที่จะเดิน ไปข้างหน้าจนในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีฝ่ายปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยที่เชื่อว่าจะบริหารจัดการและบิด เบือนเจตนารมณ์ประชาธิปไตยได้ต่อแต่ในที่สุดพวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธความ ต้องการของประชาชนได้ดิฉันได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ขอประเทศ แต่เรื่องราวนั้นยังไม่จบ

มีความชัดเจนว่าผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อต้าน ประชาธิปไตยยังคงอยู่รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นในรัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารได้ ใส่กลไกที่ตีกรอบเพื่อจำกัดความเป็นประชาธิปไตย

ตัวอย่างหนึ่งที่ดี ในประเด็นนี้จะเห็นได้จากที่จำนวนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาไทยมาจากการเลือกตั้ง แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับได้รับการแต่งตั้งโดยกลุ่มคนเล็กๆกลุ่มหนึ่งยิ่งกว่า นั้น กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่ แท้จริงเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วน ใหญ่ของสังคม

นี่คือความท้ายทายของประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันดิฉัน นั้นต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทยและประชาธิปไตยของไทยพัฒนา ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยหลักนิติธรรมและ กระบวนการทางกฎหมายที่แข็งแรงมีขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใสและเมื่อนั้นทุกคนจะ สามารถมั่นใจได้ว่าเขาจะได้รับการดูแลที่ยุติธรรมเจตจำนงนี้ ดิฉันได้แสดงออกโดยประกาศเป็นนโยบายต่อที่ประชุมของรัฐสภาก่อนการปฏิบัติ หน้าที่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

ความมีประชาธิปไตยทำให้เกิดเสถียรภาพทาง การเมืองเกิดสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุน นำมาสู่การสร้างงานสร้างรายได้ที่สำคัญดิฉันเชื่อว่าเสรีภาพทางการเมืองเป็น การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจและนำมาซึ่งการลด ช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนจนคนรวย

นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นความ สำคัญที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าเราจะต้องเดิน หน้าปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาสร้างโอกาสด้วยความรู้ และปลูกฝังวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยในวิถีชีวิตของประชาชน

เมื่อ ประชาชนมีความรู้ประชาชนจะสามารถตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถปก ป้องความเชื่อของตนจากผู้ที่ต้องการกดขี่และนี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยสนับ สนุนข้อเสนอของมองโกเลียในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและ ประชาธิปไตย

การลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนก็สำคัญเช่นกันมนุษย์ทุก คนควรมีโอกาสที่เท่าเทียมกันเราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจและ เสริมสร้างประชาธิปไตยของประเทศ

นี่คือเหตุผลที่รัฐบาลต้องริเริ่ม นโยบายที่จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสร้างชีวิตที่ดีกว่าและมีส่วนร่วมในการ พัฒนาสังคม ดิฉันได้เริ่มต้นไว้หลายโครงการ รวมถึงการสร้างกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และวิสาหกิจขนดกลางขนาดย่อม ในขณะที่ได้กำหนดมาตรการยกระดับรายได้ของเกษตรกร

และดิฉันเชื่อว่า เราต้องการการนำที่มีประสิทธิภาพและมีความสร้างสรรค์ประสิทธิภาพในการบังคับ ใช้กฎหมายและหลักนิติธรรมตลอดจนความสร้างสรรค์ในการหาทางออกที่สันติในการ แก้ไขปัญหาของประชาชน

เราต้องการการนำที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในซีก รัฐบาลแต่ในฝ่ายค้านและประชาชนทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนต้องเคารพ กฎหมายและช่วยกันสร้างประชาธิปไตย

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ,

อีก บทเรียนที่ได้เรียนรู้คือเพื่อนในต่างประเทศมีความสำคัญการกดดันจากนานาชาติ ที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยคงอยู่ได้ การคว่ำบาตรและการไม่ยอมรับเป็นกลไกที่สำคัญที่จะหยุดกระบวนการปฏิกิริยาที่ ต่อต้านประชาธิปไตย

เวทีนานาชาติอย่างประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้มี บทบาทที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยยืนหยัดอยู่ได้การส่งเสริมและปกป้อง ประชาธิปไตยด้วยการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์และสร้างความร่วมมือ หากประเทศใดก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ทุกคนต้องร่วมกันกดกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชน

ดิฉันขอยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนเวที่นี้เวทีนี้และการดำเนินงานของสภา บริหาร( GoverningCouncil ) เพื่อจะได้ช่วยให้ประชาธิปไตยแข็งแกร่งขึ้นทั่วโลกนอกจากนี้ดิฉันขอชื่นชม ประธานาธิบดีมองโกเลียสำหรับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเอเชียเพื่อ ประชาธิปไตย( Asian Partnership Initiative for Democracy ) และทางรัฐบาลไทยพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในส่วนนี้

ท่านผู้มีเกียรติ,

ดิฉัน ขอปิดท้ายด้วยการประกาศว่าดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้ รับที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมืองไทย และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม2553 ต้องเผชิญจะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายสำหรับประเทศไทย

ขอให้เราทุกคนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่เสรีภาพและอิสรภาพของมนุษย์ได้รับการปกปักษ์รักษาเพื่อลูกหลานและคนรุ่นต่อๆไป

ขอบคุณค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น