แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปตท.แจงข่าวลือโซเชียลเน็ตเวิร์กข้อมูลไม่ถูกต้อง

ที่มา go6tv


ภาพงานเสวนาที่ปตท. ออกมาโต้ข้อมูลบิดเบือนในอินเตอร์เน็ต
กรุงเทพฯ  28 มี.ค. 2556 go6TV -  ปตท. ออกมาโต้ข้อมูลทางโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ระบุว่าผลิตได้ถึง 1,000,000 บาร์เรลต่อวัน ยอมรับว่ามีตัวเลขดังกล่าวจริง แต่เป็นความเข้าใจผิด เพราะมาจากการผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็น 700,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ปัจจุบันใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดซึ่งยังไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าเพิ่มเติมจากพม่า "ข้อมูลที่เผยแพร่ออกไปมาจากพื้นฐานเดียวกัน แต่ไม่ถูกต้อง จึงอยากชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งหมด" นายณัฐชาติกล่าว 

ในงานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง  “หายนะพลังงานไทย” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและชมรมคอลัมนิสต์นักจัดรายการวิทยุ และโทรทัศน์ไทย  นายณัฐชาติ  จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. มองว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงด้านพลังงาน เพราะยังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันส่วนใหญ่ จากความต้องการใช้น้ำมันสูงกว่าการผลิตจริง โดยการใช้อยู่ที่ 100 ล้านลิตรต่อวัน ในขณะที่การผลิตอยู่ที่ 34 ล้านลิตรต่อวัน โดยจากสถิติพบว่า การใช้น้ำมันของไทย อยู่อันดับที่ 19 ขณะที่การผลิต อยู่ที่อันดับ 32 และปริมาณสำรอง อยู่ที่อันดับ 47 ของโลก

ภาพบรรยากาศ ในงานเสวนา
นายณัฐชาติ ยืนยันว่า ราคาน้ำมันขายปลีกในไทยไม่ได้สูงกว่าประเทศอื่น เป็นราคาขายปลีกที่อยู่ในระดับกลาง และในส่วนของ ปตท. ได้รับกำไรที่แท้จริงจากการขายน้ำมัน 30 สตางค์ต่อลิตร เนื่อง จากปีที่ผ่านมา ได้รับค่าการตลาดเฉลี่ยที่ 1.40 บาทต่อลิตร จากที่รัฐกำหนดในอัตราที่เหมาะสมที่ 1.50 บาทต่อลิตร แต่ค่าการตลาดที่ได้รับดังกล่าว ปตท. จะต้องแบ่งให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ร้อยละ 50 จึงได้รับค่าการตลาดจริงเพียง 70 สตางค์ต่อลิตร และต้องนำไปใช้ในการบริหารจัดการและการขนส่ง 40 สตางค์ต่อลิตร จึงเหลือค่าการตลาดที่แท้จริงเพียง 30 สตางค์ รวมทั้งรัฐ กำหนดให้ผู้ค้ามาตรา 7 จะต้องเก็บสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคงร้อยละ 5 ของความต้องการใช้ หรือคิดเป็น 36 วัน รวม 3,600 ล้านลิตร คิดเป็นต้นทุน 100,000 กว่าล้านบาท ที่โรงกลั่นน้ำมันจะต้องรับภาระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น