แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

จำคุก 2 ปี-รอลงอาญา คดีนักกิจกรรมปีนสภา ต้าน กม.สนช. ฐานชุมนุมมั่วสุม-บุกรุก-ใช้กำลังประทุษร้าย

ที่มา ประชาไท


สืบเนื่องจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 50 ซึ่งมีประชาชนหลายร้อยคนชุมนุมหน้ารัฐสภา เรียกร้องให้ สนช. หยุดการออกกฎหมายแบบเร่งด่วน มีประชาชนกว่าร้อยคนปีนรั้วรัฐสภาเข้าไปนั่งหน้าห้องประชุม ต่อมา เอ็นจีโอ 10 คนถูกฟ้องฐานยุยงให้ประชาชนกระด้างกระเดื่อง มั่วสุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย

แฟ้มภาพ 12 ธ.ค.50

ล่าสุด 28 มี.ค.56  ศาลอาญา รัชดา ตัดสินว่าจำเลยมีความผิดฐานชุมนุมมั่วสุม บุกรุก ใช้กำลังประทุษร้าย ส่วนข้อหากบฏ ล้มล้างขัดขืนไม่ให้มีการออกกฎหมายนั้นให้ยกฟ้อง ตัดสินให้ลงโทษ  จำเลยที่ 1-4,7,8 ซึ่งถือเป็นผู้นำการชุมนุม จำคุก 2 ปี ปรับ 9,000 บาท จำเลยที่ 5,6,9,10 จำคุก 1 ปี ปรับ 9,000 บาท
แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เป็นเหตุให้ลดโทษ จำเลยที่ 1-4,7,8 เหลือจำคุก 1 ปี 4 เดือน ปรับ 6,000 บาท จำเลยที่ 5,6,9,10 ลดโทษเหลือจำคุก 8 เดือน ปรับ 6,000 บาท และเนื่องจากจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและการกระทำการครั้งนี้เพื่อ ประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ให้รอการลงโทษ 2 ปี
จอน อึ๊งภากรณ์ จำเลยที่ 1 กล่าวหลังทราบคำตัดสินว่า เชื่อว่าการชุมนุมครั้งนี้ทุกคนทำไปโดยจิตสำนึกที่ดี  ส่วนตัวคิดว่าจะมีการอุทธรณ์แน่นอน แต่คงต้องปรึกษาหารือกันก่อน ทั้งนี้ มีความกังวลต่อผลของคำพิพากษา ซึ่งมีการตีความเรื่องผลักดันกันไปมาบริเวณประตูว่าเป็นเหตุประทุษร้าย เพราะการชุมนุมที่เกิดขึ้นทั่วโลก การผลักดันกันไปมาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และจากการชุมนุมท่อก๊าซไทย-มาเลย์ในลักษณะเดียวกันก็มีการตัดสินแล้วว่าผู้ ชุมนุมไม่มีความผิด จึงเป็นห่วงว่า คำว่า "การใช้กำลังประทุษร้าย" จะถูกขยายความและเอามาใช้กับผู้ชุมนุมโดยทั่วไป ซึ่งจริงๆ แล้วในระดับโลก การผลักดันกันไปมาอยู่ในระดับการชุมนุมโดยสันติวิธี
อนิรุทธ์ ขาวสนิท จำเลยที่ 5 กล่าวว่า พอใจในผลการตัดสินคดีระดับหนึ่ง เพราะมีการระบุโทษหนัก-เบา โดยดูตามสถานการณ์และอำนาจหน้าที่ ส่วนจะเป็นบทเรียนให้การชุมนุมครั้งต่อไปรอบคอบมากขึ้นหรือไม่นั้นกำหนดไม่ ได้ เพราะการชุมนุมขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการชุมนุมครั้งนี้ ทุกคนมาชุมนุมพื่อความถูกต้อง เป็นไปโดยสมัครใจ เพราะกฎหมายที่จะเกิดขึ้นจาก สนช. มีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริง ส่วนตัวเป็นเกษตรกร ซึ่งต่อสู้เรื่องทรัพยากร การออกกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในขณะนั้น ทำให้ห่วงว่า อาจมีผลกระทบต่อคนทำนา จนต้องซื้อน้ำมาทำนา และยังมีกฎหมายที่น่ากลัวอย่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในด้วย
ไพโรจน์ พลเพชร จำเลยที่ 8 กล่าวว่า ผลของคดีนี้ เป็นการต่อสู้ของแนวความคิดสองแนวความคิดคือเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนใน การไม่เห็นด้วยกับการกระทำอันไม่ชอบกับเรื่องความมั่นคง ซึ่งศาลยังให้น้ำหนักกับเรื่องความมั่นคงมากกว่า มองเรื่องความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของรัฐเป็นหลัก
ต่อการสู้คดีครั้งนี้ ไพโรจน์ กล่าวว่า ส่วนตัวที่ต้องเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดี คิดว่าการต่อสู้เพื่อพิทักษ์สิทธิเสรีภาพ ต้องมีการสูญเสียสิทธิเสรีภาพบางอย่างอยู่แล้ว ถือเป็นเรื่องปกติของกระบวนการพัฒนาสิทธิมนุษยชน เราก็ได้มีการชั่งน้ำหนัก ไม่ได้ต้องการปกป้องสิทธิของตัวเอง แต่ต้องการปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม อย่างไรก็ตาม  ส่วนตัวผลของคดียังไม่มีผลกระทบกับตำแหน่งหน้าที่เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด คิดว่าคงมีการอุทธรณ์แน่นอน แต่ต้องดูรายละเอียดก่อน

จำเลยที่ 1 จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
จำเลย ที่ 2 สาวิทย์ แก้วหวาน แกนนำสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อดีตแกนนำรุ่นที่สองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จำเลยที่ 3 ศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อดีตแกนนำรุ่นที่สองของกลุ่มพันธมิตรฯ
จำเลยที่ 4 พิชิต ไชยมงคล  กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
จำเลยที่ 5 อนิรุทธ์ ขาวสนิท เกษตรกรนักเคลื่อนไหว
จำเลยที่ 6 นัสเซอร์ ยีหมะ อดีตหัวหน้าสำนักงานพรรคการเมืองใหม่
จำเลยที่ 7 อำนาจ พละมี รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
จำเลย ที่ 8 ไพโรจน์ พลเพชร ปัจจุบันเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ขณะเกิดเหตุเป็นรองประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) อดีตเคยเป็นประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
จำเลยที่ 9 สารี อ๋องสมหวัง นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิเพื่อผู้บริโภค ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
จำเลยที่ 10 สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กสทช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น