แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

พวกต้าน2.2ล้านล้านอ่านตรงนี้..เผื่อจะอายลาว

ที่มา Thai E-News



ลาวลุยรถไฟความเร็วสูง เปลี่ยน "แลนด์ล็อก" เป็น "แลนด์ลิงก์"

 รัฐสภาลาวมีมติอนุมัติโครงการในการประชุมวาระพิเศษเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังได้ข้อสรุปว่าระบบรถไฟความเร็วสูงจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ แม้ว่าบริษัท เอกชนของจีนประกาศถอนตัวโดยอ้างว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน 

รัฐบาล สปป.ลาวเตรียมเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อกับประเทศจีน แม้ภาคเอกชนจีนจะถอนตัวออกจากบริษัทร่วมทุนเวียงจันทน์ ไทมส์ รายงานว่า รัฐสภา สปป.ลาวมีมติอนุมัติโครงการดังกล่าวในการประชุมวาระพิเศษเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังได้ข้อสรุปว่าระบบรถไฟความเร็วสูงจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเมื่อการรวมกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างกัน ได้รับการคาดหมายว่าเป็นอนาคตของภูมิภาคนี้

ก่อนหน้านี้ลาวกับจีนวาง แผนลงขันกันสร้างทางรถไฟ ซึ่งจะเชื่อมโยงกรุงเวียงจันทน์กับชายแดนลาว-จีนในจังหวัดหลวงน้ำทา แต่โครงการดังกล่าวซึ่งมีกำหนดเริ่มก่อสร้างต้นปี 2554 และแล้วเสร็จปี 2557 มีอันต้องล่าช้าออกไปเพราะความขัดแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์เหนือทางรถไฟและ ประเด็นอื่น ๆ จนในที่สุดบริษัทก่อสร้างจากแดนมังกรประกาศถอนตัวโดยอ้างว่าไม่คุ้มค่าต่อ การลงทุน 

ทางการลาวจึงตัดสินใจเดินหน้าโครงการตามลำพังโดยเป็นผู้ถือหุ้นเพียงผู้ เดียว แม้ว่าโครงการนี้จะไม่มีผู้ถือหุ้นโดยตรงรายอื่น ๆ แต่หน่วยงานของจีนจะเป็นผู้ให้เงินกู้สำหรับการดำเนินงาน

สมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการนี้ในแง่จะช่วยเปลี่ยนลาวเป็นศูนย์กลางเชื่อม โยงภาคพื้นดิน (land link) ในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะช่วยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ อันจะมีส่วนกระตุ้นการเติบโตของประเทศอีกต่อหนึ่ง

พิธีลงนามของ โครงการนี้อย่างเป็นทางการ จะมีขึ้นระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 9 ในวันที่ 5-6 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งลาวเป็นเจ้าภาพ โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั้งฝ่ายลาวและจีนมีกำหนดมาร่วมพิธีด้วย

นาย สมสะหวาดระบุว่า ทางรถไฟจะมีระยะทาง 420 กิโลเมตร ใช้ต้นทุนการก่อสร้างราว 4.425 หมื่นล้านหยวน (7 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งคาดว่าทั้งหมดจะได้รับสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน (Exim Bank of China)

วอลล์สตรีต เจอร์นัล ตั้งข้อสังเกตว่า การให้เงินกู้ครั้งนี้สะท้อนถึงความพยายามของรัฐบาลปักกิ่งในการสร้างความ มั่นคงด้านวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้อนให้กับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมการ ผลิตภายในประเทศ โครงการอื่น ๆ ในประเทศรอบข้างที่ทางการจีนเข้าไปมีส่วนร่วม ได้แก่ โครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซคู่ขนานในเมียนมาร์ ท่อส่งน้ำมันดิบจากไซบีเรียตะวันออก และโครงการทางรถไฟขนส่งถ่านหินจากมองโกเลีย

นายสุลีวง ดาราวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ เปิดเผยว่า ผลประโยชน์ที่จีนจะได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนกับการปล่อยเงินกู้ คือ ซัพพลายทรัพยากรแร่ธาตุราว 5 ล้านตันต่อปี จากลาวภายในปี 2563 ซึ่งหลัก ๆ แล้ว คือ โพแทช นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ อาทิ ไม้ และสินค้าเกษตร

ลาว ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลตั้งอยู่ระหว่างจีน เวียดนาม เมียนมาร์ ไทย และกัมพูชา ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ลาวได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติปริมาณมากที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ แม้ว่าปัจจุบันแร่ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงและทองคำ แต่ลาวยังมีเหมืองอีก 10 แห่งที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่า

จะเป็นแหล่งผลิตสำคัญของโพแทชที่เป็นส่วนผสมหลักในปุ๋ย นอกจากนี้ยังมีแร่อื่น ๆ อาทิ เหล็ก สังกะสี และตะกั่ว คาดว่ากำลังการผลิตแร่ทุกชนิดรวมกันจะทะลุ 7 ล้านตันต่อปีในไม่ช้า โดยส่วนใหญ่จะขายให้กับจีนผ่านทางเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2560

"แน่นอนว่าเราจะต้องมีความสามารถใน การแข่งขัน ถ้าแร่โพแทชของเราเสียเปรียบด้านราคา จีนก็จะหันไปซื้อจากแคนาดาแทน แต่เพราะเรากู้เงินจากธนาคารจีนมาสร้างทางรถไฟ ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่ดีที่จีนจะซื้อโพแทชจากเรา" นายสุลีวงกล่าว

ความ เคลื่อนไหวเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับแดนมังกรของลาว สวนทางกับแนวนโยบายของทางการเมียนมาร์ที่พยายามลดอิทธิพลของจีนในประเทศตน โดยตัดลดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับจีน แล้วหันมาเปิดรับการลงทุนจากชาติตะวันตก โดยยินยอมปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อแลกกับการระงับมาตรการคว่ำบาตร

รูป แบบของรางรถไฟในลาวได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับทางรถไฟที่มีอยู่แล้วในจีน ซึ่งมีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง

แม้ราง รถไฟจะมีความกว้างมาตรฐาน 1.435 เมตร แต่ต้องเคลียร์พื้นที่แต่ละฝั่งของรางรถไฟออกไปอีกฝั่งละ 50 เมตร สำหรับจัดเตรียมการก่อสร้างและดูแลความปลอดภัย ส่วนจุดที่ต้องสร้างอุโมงค์รถไฟพื้นที่ขนาบข้างต้องขยายเป็น 100 เมตร และบริเวณที่เป็นสถานีหลักจะมีการจัดเตรียมพื้นที่ขนาด 3,000x250 เมตร สำหรับพัฒนาเป็นย่านการค้าและเชื่อมโยงคมนาคมในอนาคต

ตลอดเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงนี้ต้องมีการก่อสร้างอุโมงค์ 76 แห่ง และสะพาน 154 แห่ง ซึ่งรวมถึง 2 แห่งที่พาดข้ามแม่น้ำโขง เฉพาะอุโมงค์และสะพาน รวมกันกินพื้นที่มากกว่า 60% ของโครงการ เนื่องจากภูมิประเทศแถบภาคเหนือของลาวเต็มไปด้วยภูเขาสูง โครงการนี้มีสถานีทั้งหมด 31 แห่ง แต่ช่วงแรกที่เปิดดำเนินการจะให้บริการเพียง 20 แห่ง ที่เหลือจะทยอยเปิดตามมา

ด้านสถานีหลักมี 7 แห่ง 2 แห่งในจำนวนนี้อยู่ในเวียงจันทน์ เมื่อออกจากเมืองหลวงทางรถไฟจะมุ่งขึ้นเหนือผ่านเมืองโพนโฮงและวังเวียง ก่อนต่อไปยังหลวงพระบาง หลวงน้ำทาและถึงชายแดนจีนในที่สุด

ในข้อตกลง เริ่มแรก ขบวนรถขนส่งผู้โดยสารจะมีความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม. แต่หลังจากนั้นรัฐบาลลาวตัดสินใจลดความเร็วลงเหลือไม่เกิน 160 กม./ชม. เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ที่ทางรถไฟตัดผ่านเป็นภูเขาสูง ส่วนขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจะทำความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม.

อย่างไร ก็ตาม นายสมสะหวาดระบุว่า รถไฟบรรทุกผู้โดยสารอาจเพิ่มความเร็วถึง 200 กม./ชม.ได้ในเขตกรุงเวียงจันทน์ และเมืองวังเวียง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบแต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้งก่อนปรับเปลี่ยน กฎเกณฑ์
******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
-พวกต้าน2.2ล้านล้านอ่านตรงนี้เผื่อจะอาย:รถไฟไทยอยู่ตรงไหน?(ตอนที่1)
-พวกต้าน2.2ล้านล้านอ่านตรงนี้เผื่อจะอาย:รถไฟไทยอยู่ตรงไหน?(ตอนที่2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น