แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทหารรบพิเศษบนราง BTS เบิกความคดี 6 ศพวัดปทุม 2 ผู้ถูกยิงเบิกคดีพลทหารฯ 28 เม.ย.

ที่มา ประชาไท

ไต่สวนการตาย 6 ศพวัดปทุม ทหารรบพิเศษบนรางรถไฟฟ้าเบิกขณะปฏิบัติการในที่เกิดเหตุไม่พบภัยคุกคาม ศาลนัดไต่สวนต่อ 28 ก.พ.นี้ ขณะที่คดีการตาย “พลทหารฯ ณรงค์ฤทธิ์” พยานผู้ถูกยิงในเหตุการณ์ 28 เม.ย.53 เบิกความมั่นใจทหารเป็นผู้ยิงตนเอง
20 ก.พ.56 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลไต่สวนคำร้องชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของ นายสุวัน ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1, นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เสียชีวิตที่ 2, นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3, นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4, น.ส.กมนเกด ฮัคอาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5, และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 โดยทั้ง 6 ศพ ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.  สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยในวันนี้มี ส.อ. ภัทรนนท์ มีแสง อายุ 42 ปี ส.อ.สุนทร จันทร์งาม อายุ 40 ปี  ซึ่งเป็น ทหารจาก กรมรบพิเศษที่ 3 ค่ายเอราวัณ จ.ลพบุรี ในฐานะทหารที่ปฏิบัติหน้าที่บนรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุม วันเกิดเหตุ เข้าเบิกความ
ส.อ. ภัทรนนท์ มีแสง เบิกความว่า ในวันที่ 8 เม.ย.53 ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติหน้าที่ที่ราบ 11 หลังจากนั้นวันที่ 10 เม.ษ.53 ได้ย้ายมาที่สถานีดาวเทียมไทยคม และในวันที่ 28 เม.ย. 53 พยานได้มาปฏิบัติหน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดอนเมือง หลังจากนั้นวันที่ 18 พ.ค. 53 ได้รับคำสั่งให้มารักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ทหารจากกรมทหารราบที่ 31 กองพันที่ 2 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน 2 รอ.)  ที่ประจำอยู่บริเวณแยกปทุมวัน โดยย้ายจากราบ 11 มาที่ กระทรวงพลังงานก่อน
หลังจากนั้นวันที่ 19 พ.ค. เวลา 01.00 น. จึง ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปประจำที่สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ จน  15.00 น. จึงได้รับคำสั่งให้ไปคุ้มครอง ร.31 พัน 2 รอ. เนื่องจากขณะนั้นเกิดเพลิงไหม้ที่โรงหนังสยาม เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไม่สามารถเข้ามาทางแยกเฉลิมเผ่าได้เพราะมีกลุ่มผู้ ชุมนุมและมีผู้ชุมนุมที่มีอาวุธอยู่บริเวณนั้น เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจึงต้องเข้าทางแยกปทุมวัน เมื่อพยานเคลื่อนไปถึงบริเวณสยามสแควร์ จึงได้ยินเสียงปืน 2 ชุดมาทางแยกเฉลิมเผ่า โดยขณะนั้นทหารอยู่บริเวณสยามสแควร์เท่านั้น หลังจากนั้น จ่าสิบเอกสมยศ ร่มจำปา ได้สั่งให้พยานถอนกำลังกลับไปสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ
ส.อ. ภัทรนนท์ เบิกความว่าขณะนั้นมีอาวุธประจำกายเป็นปืน M16 A2 เหตุที่ใช้ปืนจริงเนื่องจากรับหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่และบุคคลสำคัญ
เวลา 17.30 ได้รับคำสั่งให้ระวังป้องกัน ร.31 พัน 2 อีกครั้ง เพื่อนำ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเดินทางเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ สยามพารากอน ชุดของพยานจึงเคลื่อนที่บนรางรถไฟฟ้าชั้น 1 ขณะเคลื่อนก่อนถึงสถานีสยาม 5 เมตร พบแนวบังเกอร์ มียางรถยนต์และตาข่ายสีเขียวปิดกั้นอยู่ จึงเข้าไปเคลียร์พื้นที่ ตรวจพบร่องรอยการมีคนเคยอยู่อาศัย โดยมีกล่องข้าว ขวดน้ำ ขวดระเบิดเพลิง ซึ่งขณะนั้น เวลา 18.00 น. เนื่องจากมีเสียงเพลงชาติ
ส.อ.ภัทรนนท์ เบิกความต่อว่าเมื่อเข้าถึงสถานีสยามสักพักได้ยินเสียงปืนมาจากด้านล่าง ของสถานี พยานจึงชะโงกหน้าลงไปดูด้านข้าง พบ ร.31 พัน 2  ร้องตะโกนให้คุ้มกัน จ่าสิบเอกสมยศ จึงได้จัดกำลังไประวังป้องกันด้านขวาของรางรถไฟฟ้าสยาม 3 นาย ส่วนคนอื่นยังอยู่ตัวสถานี โดยชุดดังกล่าวได้ปะทะกับกลุ่มคนติดอาวุธที่ตอม่อบริเวณแยกเฉลิมเผ่า ซึ่งพยานทราบทีหลังจากการที่จ่าสิบเอกสมยศ แจ้งว่าพบกลุ่มดังกล่าวได้ยิงขึ้นมาบนสถานี หลังจากปะทะได้สักพักจ่าสิบเอกสมยศ ได้สั่งจัดกำลังใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ชุด ประจำยังฝั่งซ้ายของรางรถไฟฟ้า ชุดหน้ามี 3 นาย ชุดหลัง 4 นาย และเคลื่อนที่ไปด้านหน้า โดยพยานขณะนั้นอยู่ชุดหลัง
พยานเห็นจ่าสิบเอกสมยศยิงปืน หลังจากยิงไปกำแพงวัดแล้ว จ่าสิบเอกสมยศบอกกับพยานว่าตรวจพบชายเสื้อขาวกางเกงขาสั้นและสวมโม่ง ทำการเล็งปืนมายังจุดที่ พยานอยู่ โดยชายดังกล่าวอยู่บริเวณกุฏิวัด จากนั้นพยานจึงสลับตำแหน่งในชุด ขณะนั้นอยู่กับที่ ส.อ.เดชาธร มาขุนทด และเขาแจ้งพยานว่ามีชายวิ่งมาที่กำแพงวัดด้านในและถือระเบิดเพลิงทำท่าจะปา เจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่ด้านล่าง พยานจึงยิงเตือนไปยังกำแพงวัด 1 นัด ชายดังกล่าวก็ก้มหลบ โดยไม่ทราบว่าวิ่งหลบไปทางใด สักพัก จ่าสิบเอกสมยศได้สั่งถอนตัวไปยังสถานีรถไฟฟ้าสยาม และประจำอยู่ที่นั้นจนถึงวันที่ 22 พ.ค.แล้วจึงถออกำลัง
ส.อ. ภัทรนนท์ เบิกว่าไม่ทราบง่าในชุดของพยานจะมีการยิงที่อื่นอีกหรือไม่ แต่ได้ยินเสียงปืน ซึ่งไม่ทราบว่าใครยิง เนืองจาก ชุดของพยานอยู่ห้างจากชุดส่วนหน้า ส่วนตัวพยานนั้นตั้งแต่มาปฏิบัติหน้าที่ ยิงปืนไปเพียง 1 นัด และที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงนั้นไม่มีใครยิงปืนมายังพยาน
โดย ส.อ. ภัทรนนท์ ว่าตนเองทราบกฎการใช้กำลังและอาวุธของกองทัพไทย โดยเริ่มจากหนึ่งแจ้งเตือนด้วยวาจา หากไม่หยุดยังมีภัยคุกคามต่อจะยิงเตือน หากไม่หยุด จะยิงในจุดที่ไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต และจะใช้กับคนที่มีอาวุธเท่านั้น
สำหรับชุดที่อยู่ส่วนหน้านั้น ส.อ. ภัทรนนท์ เบิกความว่ามองเห็นลักษณะท่าทางการยืนและเท่าที่มองเห็นไม่พบใครเอาปืนวาง พาดไปที่ขอบรางรถไฟฟ้า รวมทั้งตัวพยานก็ไม่ได้นำปืนวางพาดที่ขอบรางรถไฟฟ้า
หลังจากนั้นทนายญาติผู้ตายได้นำภาพ ชายแต่กายคล้ายทหาร ที่มีการนำปืนพาดราง ให้ ส.อ. ภัทรนนท์ ดูและเบิกความกับศาลว่าไม่เห็นใครในรูปทำการพาดปืนไว้กับรางรถไฟฟ้า
ส.อ. ภัทรนนท์ เบิกด้วยว่าการยิงขึ้นฟ้านั้นทำให้ไม่รู้จุดสิ้นสุดของกระสุน ซึ่งไม่ทราบว่าจะไปตกที่ไหน อันตรายกว่าการยิงไปยังกำแพงอย่างที่ตนเองทำเพราะทราบว่ากระสุนไปกระทบและ สิ้นสุดที่ใด
ภาพที่ถูกถ่ายจากดาดฟ้า สตช.เย็นวันที่ 19 พ.ค.53
ที่ทนายนำมาให้พยานดูลักษณะการวางปืนบนรางรถไฟฟ้า(ดูภาพขนาดใหญ่)
ส.อ.สุนทร จันทร์งาม เบิกความว่าเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค.53 โดยมาประจำการอยู่ที่ที่ราบ 11 หลังจากนั้น วันที่ 18 พ.ค.ได้รับคำสั่งให้ประจำที่ กระทรวงพลังงาน โดยขณะนั้น จ่าสิบเอกสมยศ เป็นผู้บังคับบัญชา
ในวันที่ 19 พ.ค. 01.00 น. พยานเคลื่อนไปที่สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาฯ และหลังจากนั้น 15.00 ได้รับคำสั่งให้เคลียร์กองยางที่อยู่แยกปทุมวัน เพื่อคุ้มกันทหารและรถดับเพลิงเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงหนังสยาม ขณะเคลียร์พบกองยาง น้ำมัน และระเบิดเพลิง เข้าไป 10 เมตร แต่ไม่ถึงแยกเฉลิมเผ่า จึงได้ยินเสียงปืนดังมาจากแยกเฉลิมเผ่า  หลังจากนั้นจ่าสิบเอกสมยศได้ถอนกำลังไปที่ สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬา หลังจากนั้นมีการปรับกำลังให้คุ้มกัน ร.31 พัน 3 ในเวลา 17.00 น โดยพยานได้ขึ้นไปอยู่รางรถไฟฟ้าชั้นล่าง ขณะเคลื่อนตัว 17.30 เคลื่อนตัวถึงบริเวณที่ห่างจากสถานีสยามประมาณ 5 เมตร พบกองยางและสแลน จึงทำการเคลียร์ เข้าไปถึงในสถานีรถไฟฟ้าสยาม พบระเบิดเพลิง กล่องข้าว ขวดน้ำ เข้าไปถึงตอน 18.00 เนื่องจากได้ยินเสียงเพลงชาติ
ส.อ.สุนทร เบิกความว่าขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นอาวุธประจำกาย เป็นปืน M16 A2 ซึ่งมีกระสุนปืน 140 นัด พยานเบิกความถึงเหตุจำเป็นของการที่พยานใช้อาวุธจริง เนื่องจากเป็นไปตามตำแหน่งหน้าที่ เพราะ พยานเป็นหน่วยรบพิเศษ
นอกจากนี้ขณะเข้าไปสถานีรถไฟฟ้าสยาม ได้ยินเสียงปืน ดังจากด้านล่างพื้นถนน และทหารจา ร.31 พัน 2 ได้ตะโกนมาให้หน่วยของพยานช่วยคุ้มกันให้ด้วย หลังจากนั้น จ่าสิบเอกสมยศสั่งให้หน่วยของพยานระวังป่องกัน
ในการเคลื่อนไปตามรางรถไฟฟ้าพยานมีการจัดเป็นชุด 2 ชุดโดยด้านหน้า 1 ชุด ตัวพยานนั้นอยู่ชุดหลัง หลังจากจัดกำลัง มีการยิงไปที่ขอบกำแพงด้านนอกโดยทราบว่าจ่าสมยศเป็นผู้ยิงปืน ขณะนั้นได้ยินเพียงเสียง หลังจากนั้นไม่ทราบว่ามีการยิงมาอีก หรือทหาร 3 นายทีอยู่ด้านหน้าจะยิงปืนหรือไม่ พยานไม่ทราบ และ พยานไม่ได้มีการยิงปืน ประมาณ 18.15 จ่าสมยศได้สั่งให้ถอนกำลังไปที่ สถานีรถไฟฟ้าสยาม  และประจำที่นั่นจนกระทั้งวันที่ 22 พ.ค.
ส.อ.สุนทร วันปฏิบัติหน้าที่ ได้รับการจ่ายกระสุนมา 140 นัด ได้รับซองบรรจุกระสุน 4 ซอง ซองกระสุนทุนทุกซองมี 30 นัด การบรรจุกระสุนมีลักษณะเตรียมพร้อมในการใช้งาน
ระหว่าง พยานปฏิบัติหน้าที่ ไม่เคยพบภัยคุกคาม ดังนั้นพยานจึงไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงเลย ซึ่งเย็นวันที่ 19 พ.ค. ที่ตรวจการไปยังวัดปทุมนั้นพยานไม่พบภัยคุกคามใดๆ จึงไม่มีการใช้อาวุธเลย พยานไม่ทราบว่าคนที่อยู่ในวัดเป็นใครและไม่ทราบว่าเป็นผู้ชุมนุมหรือไม่ แต่เห็นนั่งอยู่เฉยๆ ไม่เห็นใครถืออาวุธปืน
นอกจากนี้ ส.อ.สุนทร ยังได้เบิกความด้วยว่าได้ยินเสียงปืนจากชุดที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านหน้าพยาน แต่เนื่องจากเสียงดังก้องจึงไม่ทราบว่ายิงไปทางทิศทางใด
ศาลนัดไต่สวนอีกในวันที่ 28 ก.พ.53 เวลา 9.00 น.

2 ผู้บาดเจ็บเบิกความเหตุการณ์ยิงพลทหารฯ 28 เม.ย.
ในวันเดียวกัน ที่ ห้อง 811 ศาลอาญา (ถ.รัชดาภิเษก) ศาลนัดไต่สวนคดีหมายเลขดำที่ อช.4/2555 ซึ่งอัยการร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของพลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ (ได้รับเลื่อนยศเป็น ร้อยตรี หลังเสียชีวิต) ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อระงับเหตุการณ์การปะทะกันของตำรวจ-ทหารกับผู้ชุมนุม นปช. ที่บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เขตบางเขน เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 53
วิโรจน์ โกสถา ให้การว่า พยานเป็นชาว อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก มีอาชีพรับจ้างทั่วไป เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 53 พยานเข้าร่วมชุมนุม นปช. ที่สี่แยกราชประสงค์ โดยช่วงเช้ามีประกาศจากแกนนํา นปช. ให้ไปรับผู้ชุมนุมจากตลาดไทมาเข้าร่วมชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ เนื่องจากมีทหารขัดขวางอยู่จึงไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ พยานขึ้นรถกระบะของผู้ชุมนุมไป ถ.วิภาวดีรังสิต ขาออก เมื่อรถกระบะเดินทางมาถึงปั้มแก๊สใกล้อนุสรณ์สถานแห่งชาติ พยานเห็นทหารตั้งด่านขัดขวางถนนไว้ เป็นแถวหน้ากระดานห่างจากพยานประมาณ 200 เมตร รถกระบะที่พยานนั่งมาจึงจอดอยู่ใกล้กับทางขึ้นทางยกระดับดอนเมือง
ต่อมาแกนนํา นปช. เจรจากับทหารเพื่อขอเปิดทางให้ผู้ชุมนุมผ่านด่านเพื่อไปตลาดไท โดยพยานติดตามแกนนํา นปช. ไปด้วย แต่การเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ  ประมาณ 3 นาทีต่อมามีเสียงปืนดังขึ้นเป็นชุดนานประมาณ 3 นาที ขณะนั้นพยานเห็นทหารกว่า 10 คนถือปืน M16 ประทับบ่าเล็งยิงมาทางผู้ชุมนุม พยานเคยเป็นทหารนาวิกโยธินมาก่อนจึงรู้ว่า อาวุธดังกล่าวคือ ปืน M16 เวลานั้นเป็นเวลากลางวัน ฟ้าครึ้ม มีฝนปรอยๆ แต่พยานมองเห็นเหตุการณ์ชัดเจน
หลังเสียงปืนดังขึ้นพยานและผู้ชุมนุมหมอบลงและคลานหาที่กำบัง พยานยังเห็นทหารจำนวนหนึ่งถือปืน M16 ประทับบ่าเตรียมยิงอยู่บนทางยกระดับดอนเมืองอีกด้วย ต่อมาพยานเห็น ไพโรจน์ ไม่ทราบนามสกุล ถูกยิงที่เกาะกลางถนนฝั่งขาเข้าจนทรุดลงกับพื้น ห่างจากพยานประมาณ 30 เมตร และเห็นชายชื่อเล่นเจโดนยิงกระสุนฝังที่คอด้านซ้ายที่กลางฟุตบาทระหว่างถนน ขาเข้า-ออก ห่างจากพยานประมาณ 15-20 เมตร พยานพยายามวิ่งเข้าไปเพื่อช่วยเหลือชายชื่อเล่นเจ โดยการลากเขาออกมาส่งต่อให้กับผู้อื่น
ระหว่างนั้นพยานถูกยิงทะลุต้นขาขวาซึ่งเป็นช่วงพยานกำลังเอียงตัวส่งชาย ชื่อเล่นเจให้กับผู้อื่น ขณะนั้นพยานเห็นทหารยืนอยู่ฝั่งซ้ายของพยาน พยานพยายามวิ่งหลบกระสุนปืน แต่เดินได้เพียง 2 ก้าวก็ล้มลงตรงตอหม้อของทางยกระดับดอนเมือง หลังจากนั้นมีผู้ชุมนุมเข้ามา ช่วยเหลือนำส่ง รพ.ภูมิพล โดยที่ตนเองไม่ทราบเป็นรถอะไร และรับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 6 วัน
เขากล่าวด้วยว่า เชื่อมั่นว่าถูกทหารยิง เพราะเห็นทหารหลายคนถือปืนประทับบ่ายิงสาด แม้จะไม่เห็นใบหน้าของทหารที่ยิงก็ตาม และเชื่อว่า กระสุนปืนที่ยิงทะลุต้นขาขวาน่าจะเป็นกระสุนจากปืน M16 ทุกวันนี้ยังรู้สึกเสียวที่บาดแผลจนไม่สามารถทำงานหนักได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ทราบเวลาที่พลทหารณรงฤทธิ์ สาละ ถูกยิง และเพิ่งทราบข่าวการเสียชีวิตจากข่าวโทรทัศน์ในภายหลัง
พยานยืนยันว่า ในขณะนั้นพยานและผู้ชุมนุมไม่มีใครพกอาวุธ, ขว้างปาสิ่งของ หรือโต้เถียงกับทหารแต่อย่างใด มีแต่หลบกระสุนจากฝ่ายทหารเท่านั้น หลายวันต่อมาพยานเข้าแจ้งความที่ สน.ดอนเมือง
ที่ผ่านมาเคยได้รับเงินเยียวยาจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จำนวน 60,000 บาท และจากสำนักพระราชวังอีก 2,000 บาท หากได้รับการชดเชยค่าสินไหมจากผู้กระทำ ก็จะไม่เอาความ
คมกฤต นันทน์ธนโชติ ให้การว่า พยานเป็นชาว อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีอาชีพรับจ้างทั่วไป เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 53 เวลาประมาณ 8.00 น. พยานและภรรยาขับรถกระบะ Ford Ranger ทะเบียน ศบ.4165 กรุงเทพมหานคร ออกจากบ้านพักแถวตลาดไท เพื่อไปปล่อยปลาที่คลองประปาใกล้ห้างเซียร์รังสิต
หลังจากปล่อยปลาเสร็จพยานและภรรยาเดินทางไปปากคลองตลาดซื้อบายศรี เพื่อไปสักการะที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ แต่ไม่สามารถเข้าไปได้จึงขับรถกระบะย้อนกลับมาที่ตลาดไท โดยขับมาทาง ถ.วิภาวดีรังสิต ขาออก
เมื่อขับรถกระบะมาอยู่ในเลนกลางใกล้กับปั้มแก๊ส เห็นผู้ชุมนุม นปช. จำนวนมากยืนกระจายตามถนน จึงพยายามขับรถกระบะหลบเข้าไปใน บ.อึ้งประภากร ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายน้ำมัน แต่ไม่สามารถเข้าไปได้ เนื่องจากมีรถตู้จอดขวางไว้ จึงเปลี่ยนใจขับรถกระบะขึ้นทางยกระดับดอนเมือง ช่วงนั้นได้ยินเสียงปืนเป็นช่วงๆ แต่ไม่ทราบดังมาจากทางไหน ระหว่างขับรถกระบะเบี่ยงขวาเพื่อขึ้นทางยกระดับ เห็นทหารพร้อมอาวุธปืนยาวจำนวนมาก สวมชุดลายพรางสีเขียว พันผ้าพันคอสีฟ้า ยืนอยู่หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ และ ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า
ระหว่างนั้นมีกระสุน 1 นัดยิงทะลุกระจกด้านคนขับเข้ามาโดนต้นแขนด้านขวาของพยาน เมื่อหันไปมองเห็นทหาร 3 คนเล็งปืนมาที่พยาน ต่อมากระสุนนัดที่ 2 ยิงทะลุเข้ามาฝังอยู่ในหลังคารถกระบะใกล้มือจับด้านบนคนขับ ส่งผลให้กระจกด้านคนขับแตกกระจาย เศษกระจกและกระสุนกระเด็นเข้ามาโดนที่แก้มด้านขวา บางส่วนยังทะลุใบหูด้านขวา ดวงตาด้านขวา และฝังอยู่ในศีรษะด้านขวาของพยาน พยานแข็งใจขับรถขึ้นไปบนทางยกระดับดอนเมืองจนถึงที่ปลอดภัยจึงหยุดรถ พยานลงจากรถกระบะและยกมือขึ้นเพื่อขอความช่วยเหลือ โดยใช้กระดาษทิชชู่ในรถกระบะห้ามเลือดบนศีรษะของพยาน
ต่อมานักข่าวเข้ามาถามพยานว่า พยานโดนอะไรจึงมีเลือดไหล พยานจึงบอกกับนักข่าวว่า พยานโดนยิง นักข่าวจึงถ่ายรูปพยานไว้ และนำไปลงในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในเวลาต่อมา พยานแข็งใจเดินข้ามถนนไปฝั่งตรงข้ามเพื่อไปโรงพยาบาล และพบกับ สห.
สห. พาพยานไปพบกับทหาร ทหาร 3 คนรับตัวพยานข้ามถนนไป ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า ต่อมามีรถตำรวจมารับพยานไปส่ง รพ.วิภาวดี รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 2-3 วัน แพทย์ก็แจ้งว่าค่ารักษาเกินกว่า 100,000 บาทแล้ว พยานกลัวไม่มีเงินจ่ายจึงรีบออกจากโรงพยาบาล แต่ต่อมาพรรคเพื่อไทยนำเงินมาจ่ายค่ารักษาทั้งหมด และยังมอบซองเงินค่าปลอบขวัญอีกจำนวนหนึ่งด้วย
ส่วนภรรยาของพยานไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด แต่สำหรับพยานแพทย์ลงความเห็นว่า ไม่สามารถผ่าตัดเอาเศษกระสุนออกจากศีรษะได้ เนื่องจากใกล้เส้นประสาท  ต่อมาพยานงัดเอากระสุนที่ฝังอยู่ในหลังคารถกระบะใกล้มือจับด้านบนคนขับพบว่า เป็นกระสุนตะกั่วขนาดปลายนิ้วก้อยจึงนำกระสุนดังกล่าวไปแจ้งความกับ สน.ดอนเมือง นอกจากนี้จากการตรวจสอบจากกองพิสูจน์หลักฐานพบว่ารถถูกกระสุนยิงรวมแล้ว 9 นัด
เดือน ต.ค. 53 DSI เรียกตัวพยานไปสอบสวนถึงกรณีการถูกยิง ซึ่งคำให้การเรื่องพยานกลับรถที่ยูเทริน์หลักสี่นั้นเป็นเพียงคำให้การของ ภรรยา ไม่ใช่ของพยานเอง นอกจากนี้ปี 54 พยานยังเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกระทรวงการคลัง โดยฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาล และค่าซ่อมแซมรถกระบะ ซึ่งศาลแพ่งจะนัดฟังคำพิพากษา 12 มี.ค. 56
เขากล่าวต่อว่า ได้รับเงินเยียวยาจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จำนวน 60,000 บาท และเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมายังได้รับเงินเพิ่มเติมอีก 675,000 บาท หากผู้กระทำยอมรับความจริงก็พร้อมที่จะให้อภัย ส่วนการเสียชีวิตของพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ นั้นไม่ได้เห็นในที่เกิดเหตุและเพิ่งมาทราบภายหลังจากสื่อมวลชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น