แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครก. 112 แถลง โต้ประธานรัฐสภา ปัดตกขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ป.อาญาม. 112

ที่มา ประชาไท


ครก.112 เตรียมส่งหนังสือโต้แย้งคำสั่งประธานรัฐสภา ชี้ม.112 เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ การเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ฯ ไม่ใช่เปิดให้แสดงความเห็นตามอำเภอใจ แต่เพื่อรักษาสถานะกษัตริย์ พร้อมอุทธรณ์คำสั่ง ให้รัฐสภารับคำข้อเสนอเพื่อแก้ไขมาตรา 112 ของประชาชน
13.00 น. วันที่ 17 ก.พ.2556  ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. และ วาด รวี นักเขียนจากคณะแสงสำนึกตัวแทน คณะรณรงค์แก้ไข ม. 112 (ครก. 112)  ร่วมกันแถลงโต้ประธานรัฐสภา ที่พิจารณาไม่รับข้อเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่ง ครก. 112 ได้รณรงรงค์รวบรวมรายชื่อได้กว่า 30,383 คน พร้อมร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
 
โดยประธานรัฐสภาบอกปัดโดยบอกว่ากฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้อยู่ในหมวดที่ประชาชนสามารถเข้าชื่อแก้ไขได้เพราะไม่อยู่ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและ หมวด 5 ที่ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ โดยระบุว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ในหมวด 2 โดยอ้างอิงกับมาตรา 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้พระมหากษํตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดมิได้”
 
ยุกติ ระบุว่า ตามร่างฯ ที่ทาง ครก. เสนอไปนั้นไม่ได้แปลว่าจะทำให้ประชาชนสามารถละเมิดกษัตริย์ได้โดยเสรีไม่มี ความผิด แต่ทางครก. เห็นว่าข้อโต้แย้งของประธานสภาบิดเบือน และไม่เข้าใจร่างฯ ที่ครก. เสนอไป
 
และย้ำว่า มาตรา 112 ถูกนำไปใช้ในการกลั่นแกล้งกันทางการเมืองหรือแมแต่ในทางส่วนตัวไม่ได้ถูกใช้ในการปกป้องสถาบัน
 
ยุกติกล่าวต่อไปว่า การใช้มาตรา 112 ถูกใช้ไปในทางละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในหลายประการ ได้แก่ การจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็น แม้ว่าประชาชนจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมูญใยนการวิพากษ์วิจารณ์แสดง ความเห็นโดยสุจริต
 
ประการต่อมาคือการริดรอนสิทธิในร่างกาย มีการจำกัดสิทธิในการสู้คดีของผู้ต้องหา มีการริดรอนสิทธิจากการถูกจับกุมคุมขังและไม่ได้รับการประกันตัว และโอกาสที่จะรวบรวมพยายามหลักฐานในการสู้คดีก็มีน้อยกว่าคดีอื่น
 
อีกประการคือ มาตรานี้มีโทษสูงเกินไปไม่ได้สัดส่วนความผิดที่มีอยู่ เมื่อเทียบกับตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทอื่นๆ หรือเมื่อเทียบกับนานาอารยะประเทศ สัดส่วนของโทษอันเนื่องจากมาตรา 112 สูงกว่าทุกประเทศในโลกที่ใช้กฎหมายนี้
 
ครก. จึงเห็นว่าร่างฯ ที่นิติราษฎร์ร่างมานั้นจะช่วยแกปัญหาได้ โดยเฉพาะในประเด็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองไว้ในรัฐ ธรรมนูญ หมวด 3
 
วาด รวี กล่าวว่า สิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่กล่าวว่า พระมหากษํตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดมิได้ นั้นทางเราเห็นว่าประธานสภาอ้างผิด คำว่า ผู้ใดจะละเมิดมิได้ นั้นหมายถึงไม่มีผู้ใดจะฟ้องร้องดำเนินคดีไม่ได้ เพราะไม่ได้ทรงดำเนินการใดโดยลำพังต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ การดำรงฐานะอยู่ในที่เคารพสักการะ เป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายในลักษณะประกาศ ไม่ได้บังคับบุคคลให้ต้องกระทำ ไม่มีอำนาจทางกฎหมายที่จะจำกัดสิทธิของบุคคลได้ 
 
การใช้มาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญในหลายข้อหลายมาตรา และละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ร่าง ครก. ที่เสนอไปนั้นพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราจึงได้ทำหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของประธานรัฐสภา และหนังสือนี้จะไปถึงประธานรัฐสภาต้นสัปดาห์หน้าเป็นอย่างช้า เพื่อให้ประธานสภาได้วินิจฉัยอีกครั้ง ถ้ายังยืนยันตามความเห็นเดิม ต้องปฏิบัติใหม่ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. วิธีปกครองฯ และ พ.ร.บ. เข้าชื่อเสนอกฎหมายฯ คือต้องยกให้ตัวแทนผู้ยื่นหนังสือของครก. 112 เข้าพบและเปิดโอกาสให้ตัวแทนได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งแสดง เหตุผลอย่างเต็มที่ก่อนมีคำสั่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น