แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ทูต 'อียู' แจงไม่ได้ 'แทรกแซง' ไทยกรณี 'สมยศ' แต่ 'ปฏิสัมพันธ์' ด้วยหลักสิทธิฯ

ที่มา ประชาไท


ผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในไทย กล่าวถึงกรณีเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบัน ที่จะเดินทางไปประท้วงสำนักงานอียูในไทยวันพฤหัสนี้ กรณีอียูออกแถลงการณ์ "เป็นห่วง" การตัดสินคดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข
30 ม.ค. 56 - เดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูต และหัวหน้าผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับประชาไทถึงเรื่องการชุมนุมของเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปก ป้องสถาบัน ที่มีกำหนดชุมนุมคัดค้านสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยในวัน พรุ่งนี้ ( 31 ม.ค.) ว่า สหภาพยุโรปมิได้มีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปยุ่งหรือแทรกแซงอธิปไตยตามที่ทาง เครือข่ายอ้าง เนื่องจากสหภาพยุโรปเพียง"ปฏิสัมพันธ์" กับประเทศไทยบนหลักของสิทธิมนุษยชน และ "เป็นห่วง" ถึงบทลงโทษของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขที่รุนแรงเกินเหตุ
ก่อนหน้านี้ เครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันได้เผยแพร่กำหนดการการชุมนุมหน้า สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยระบุว่าเป็นการประท้วงการออกแถลงการณ์ของสหภาพยุโรปเรื่องการตัดสินจำคุก 10 ปีกรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานและบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin เนื่องจากมองว่าสหภาพยุโรปได้ "ล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของชาติไทย" และต้องได้รับการ "สั่งสอน" 
 
เดวิด ลิปแมน ผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า สหภาพยุโรปไม่ได้เข้ามา "แทรกแซง" กิจการของประเทศไทย แต่หน้าที่ของสหภาพยุโรปคือการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศไทยที่ตั้งอยู่บนหลัก สิทธิมนุษยชน โดยมองว่า บทลงโทษจำคุกนายสมยศถึง 11 ปี สำหรับบทความที่ตนเองไม่ได้เขียน เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
 
"แน่นอนว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงออกเป็นเรื่องที่สามารถตีความได้ แต่เรามองเรื่องนี้จากหลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน สำหรับเราแล้วในยุโรป เราเองก็มีสถาบันกษัตริย์ ผมมาจากประเทศอังกฤษซึ่งก็มีพระราชินีที่เราเคารัพและนับถือมาก และประชาชนก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ในทางที่เคารพ และก็ไม่ถูกส่งไปจำคุก" ลิปแมนกล่าว
 
เขากล่าวถึงกรณีการประท้วงของกลุ่มดังกล่าวว่า นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนสามารถใช้เสรีภาพในการแสดงออกของตนเองได้ ไม่ว่าเขาจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสหภาพยุโรป แต่ลิปแมนก็ย้ำว่า การออกแถลงการณ์ไม่ใช่การแทรกแซง แต่เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่อยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
 
อนึ่ง ในวันนี้และวันพรุ่งนี้ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ "การปรองดองและเสรีภาพในการแสดงออก" ที่โรงแรมดุสิตธานี โดยมีนักวิชาการ อดีตเอกอักรราชทูต สื่อมวลชน และองค์กรภาคประชาสังคมจากในไทยและระหว่างประเทศ เข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย 
 
ลิปแมนกล่าวว่า จุดประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ เป็นไปเพื่อพูดคุยเรื่องคอนเซปต์ของเสรีภาพการแสดงออก ไม่ได้มุ่งแต่ดูเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสถานการณ์ในไทยและยุโรป
 
 "เราต้องมีพื้นที่ที่สามารถคุยเรื่องนี้ได้อย่างเสรีและเปิดเผย และนั่นเป็นสิ่งที่ผมเห็นคุณค่ามาก เพราะผมรู้ว่า หากผมเป็นทูตที่นี่สองสามปีก่อน ผมคงไม่สามารถจัดงานสัมมนาเรื่องนี้ซึ่งมีวิทยากรทั้งในไทยและต่างประเทศมา ได้ ฉะนั้น นี่แสดงถึงความก้าวหน้าในตัวมันเอง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น