แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

สุดา รังกุพันธุ์ แกนนำปฏิญญาหน้าศาล เพื่อนนักโทษการเมือง ถึง29มกราฯ10,000ปลดปล่อย

ที่มา Thai E-News





รายการเสวนาบนเวที พรุ่งนี้ มี 3 หัวข้อนะคะ 1) ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย 2) เศรษฐศาสตร์การเมือง 3) นักโทษการเมือง

วิทยากร:
รศ ดร สุธาชัย ยิ้มปรเสิรฐ
รศ ดร พวงทอง ภวัครพันธ์
รศ ดร สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ศ. ดร พนัส ทัศนียานนท์
คุณ ประวิตร โรจนพฤกษ์
รศ ดร พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
คุณธงไชย คงคาลัย
คุณวิเชียร พวงลำเจียก
ตัวแทนกรรมกร

ดำเนินรายการโดย อ.ตุ้ม อ.หวาน ไม้หนึ่ง ก.กุนที

You may say I'm a dreamer but I'm not the only one.
I hope someday you will join us.
And the world will be as one.

พรุ่งนี้...ขอคนช่างฝัน อยากเห็นความเป็นธรรม ในสังคมที่การกดขี่ประชาชนเป็นเรื่อง "พึงทำ" และการล่ามคนแบบ "ทาส" ยังเป็นเรื่อง "สมควร"

ใครฝันถึงวัน "ปลดปล่อย" ...พรุ่งนี้ ไปด้วยกัน
แม้เขาจะผิดคำพูด เล่นเกมส์การเมืองกับประชาชน เราก็จะไปยืนยันฝันถึง "อิสรภาพ" ให้เพื่อนในเรือนจำ

29 มกรา หมื่นปลดปล่อย!

***********


ที่มา มติชนออนไลน์

ขณะ ที่กระบวนการค้นหาความจริงและคืนความยุติธรรมให้กับ "ผู้เสียชีวิต" จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 หรือ "คดี 99 ศพ" ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เริ่มคืบหน้าและปรากฏเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง

ทว่าในพื้นที่สื่อกลับยังไม่ค่อยปรากฏเรื่องราวของ "ผู้ที่ยังมีชีวิต" แต่ต้องตกอยู่ในฐานะ "นักโทษการเมือง" 

การเสียชีวิตระหว่างอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรมของ "อำพล ตั้งนพกุล" หรือ "อากง" เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 

การ เสียชีวิตของ "วันชัย รักสงวนศิลป์" ผู้ต้องขังคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเผาสถานที่ราชการ ระหว่างถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2555 

และ ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการบริหารนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ ถูกตัดสินจำคุก 10 ปี กรณีตีพิมพ์บทความที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ท่ามกลางการจับตามองอย่างใกล้ชิดจากสื่อมวลชนต่างประเทศ คณะเอกอัครราชทูตจากหลายประเทศ และองค์กรสิทธิมนุษยชนสากล

ทั้ง 3 กรณี จะส่งผลให้สปอตไลท์เริ่มฉายมาที่ปัญหา "นักโทษการเมือง" มากขึ้น แต่ความรับรู้และข้อมูลต่างๆ ก็ยังเผยแพร่อยู่ในพื้นที่จำกัด 

ไม่ นับว่ากลุ่มการเมืองที่ขับเคลื่อนและรณรงค์เผยแพร่ข้อมูล ความคืบหน้า และต่อสู้เพื่อสิทธิของนักโทษการเมืองอย่างมุ่งมั่นจริงจังก็มีไม่มากนัก 

หนึ่งในนั้นคือกลุ่ม "ปฏิญญาหน้าศาล" ซึ่งมีแกนนำคนสำคัญคือ "สุดา รังกุพันธุ์"หรือ "อาจารย์หวาน" นักวิชาการและอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พื้นเพ เป็นชาว อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง แต่ต้องจากบ้านมาเรียนในเมืองหลวง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนหญิงล้วนชื่อดังจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 

ก่อน จะสอบเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ทุนจากมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ในหลักสูตรต่อเนื่อง (Graduate Program) ไปศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ก (State University of New York College) สาขาภาษาศาสตร์

ชีวิต ในวัยเด็ก แม้จะเกิดและมีครอบครัวอยู่ในต่างจังหวัด แต่ต้องมาเรียนอยู่ที่โรงเรียนประจำในกรุงเทพฯ ทำให้ไม่ค่อยมีความเป็นเด็กต่างจังหวัดมากนัก ขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษาเป็นเพียงนักเรียนคนหนึ่งที่ร่วมกิจกรรมทั่วๆ ไป เช่น ชมรมเชียร์ หรือชมรมภาษาอังกฤษ 

ขณะ ที่ในระดับอุดมศึกษาเลือกเรียนด้านภาษาศาสตร์จนจบปริญญาเอก เพราะสนใจเรื่องความคิดของมนุษย์ และหลักภาษาศาสตร์เป็นวิธีการศึกษาภาษาตามหลักการวิทยาศาสตร์ ทำให้มองเห็นความซับซ้อนของระบบภาษา ซึ่งสะท้อนความซับซ้อนของความคิดมนุษย์ 

"ด้วยดีกรีดอกเตอร์ด้านภาษาศาสตร์บวกกับความสนใจด้านระบบภาษา จึงทำให้หลายคนต้องแปลกใจว่ามาเกี่ยวข้องหรือมาสนใจการเมืองได้อย่างไร?"

สุดาบอก ว่า สนใจเรื่องสิทธิ เสรีภาพมานานแล้ว เหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญ เช่น พฤษภาทมิฬ ก็ติดตามข่าวสารต่างๆ และมีโอกาสได้เข้าร่วมบ้าง แต่ก็ไม่ได้กระตือรือร้นมากนัก เพราะติดปัญหาด้านการเรียน ส่วนการเข้ามาร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อแดงนั้น จุดเปลี่ยนความคิดครั้งสำคัญคือการเสียชีวิตของ "ณรงศักดิ์ กรอบไธสง" แนวร่วม นปช.ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปะทะกับผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตร เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551

"ขณะ นั้นเห็นปฏิกิริยาจากคนในแวดวงมหาวิทยาลัย บางคนพยายามอธิบายการฆ่าหรือทำร้ายกันจนถึงขั้นเสียชีวิตว่ามีความชอบธรรม หรือบางคนถึงขั้นแสดงความรู้สึกสะใจ เราก็รู้สึกว่าไม่ใช่แล้ว ไม่ควรจะมองว่าคนบางคนสมควรตาย เรารู้สึกผิดหวัง และเริ่มมองคนเสื้อแดงว่าเขาเป็นใครกันแน่ เขาอาจจะกลายเป็นเหยื่อหรือผู้ถูกกระทำก็ได้" สุดากล่าว

ก่อนจะเริ่มต้นลงไปทำความรู้จักคนเสื้อแดงในฐานะ "ผู้สังเกตการณ์" 

"อาจารย์ หวาน" เฝ้าติดตามการปราศรัยในเวทีต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับผู้ที่มาร่วมชุมนุม กระทั่งเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในฐานะ "คนเสื้อแดง" คนหนึ่ง หลังจากผ่านเหตุการณ์สลายการชุมนุมครั้งแรก หรือ "สงกรานต์เลือด" ในเดือนเมษายน 2552 จึงผันตัวมาเป็นนักจัดรายการวิทยุชุมชนคนเสื้อแดง เพื่อเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในฐานะ "นักวิชาการเสื้อแดง" ผู้ช่วยสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ด้านประชาธิปไตย

สุดา เล่าอีกว่า ก่อนการชุมนุมใหญ่ครั้งสำคัญในวันที่ 13 มีนาคม 2553 ได้ชวนเพื่อนนักวิชาการตระเวนชี้แจงกับองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ ให้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์การชุมนุม เพื่อปกป้องไม่ให้มีการใช้ความรุนแรงแต่ผลสุดท้ายก็ไม่สำเร็จ

หลัง จากผ่านเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ช่องโทรทัศน์ดาวเทียมของคนเสื้อแดงกลับมาอีกครั้งในชื่อ "Asia Update" สุดาเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินรายการ "ที่นี่ความจริง" ขณะที่แกนนำ นปช.ส่วนใหญ่กำลังถูกคุมขัง และปัจจุบันยังคงเป็นผู้ดำเนินรายการ "ทันเกมส์สื่อ" อยู่ในสถานีเดิม 

แต่ บทบาทที่เพิ่มขึ้นมาคือเป็นกำลังหลักของกลุ่ม "ปฏิญญาหน้าศาล" ซึ่งล่าสุดจะมีการเคลื่อนไหวใหญ่ในวันที่ 29 มกราคมนี้ ภายใต้คำขวัญ "หมื่นปลดปล่อย" โดยนัดรวมตัวประชาชน 10,000 คน ที่หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า ในเวลา 08.00 น. ก่อนจะเดินไปยังทำเนียบรัฐบาล

"เพื่อนำข้อเสนอร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้งฉบับคณะนิติราษฎร์ให้สมาชิกรัฐสภาพิจารณา"

- กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลเกิดขึ้นได้อย่างไร?
จาก การที่แกนนำติดคุกหลังจากการสลายการชุมนุม เราก็เห็นบทบาทของคนเสื้อแดงในการเข้าไปดูแล มาทำกิจกรรมที่เรือนจำ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำ แต่หลังจากที่แกนนำ นปช.ถูกปล่อยตัว ก็ไม่ค่อยมีใครมาเยี่ยมหรือทำกิจกรรมอะไร ก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะยังมีคนอื่นที่ยังอยู่ในเรือนจำ เช่น อ.สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ เราก็ได้มาเจอกับคนที่ยังเยี่ยมคนเสื้อแดงอยู่ เขาทำมาก่อน ก็เห็นว่าน้องๆ ที่เขาทำ ไม่ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ก็ทำงานค่อนข้างลำบาก ไม่มีทุน คนภายนอกก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น 

- จัดกิจกรรมอะไรบ้าง?
ทำ กิจกรรมรณรงค์และพยายามเผยแพร่ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหานักโทษการเมือง เริ่มตั้งกลุ่มก่อนจะมีน้ำท่วมใหญ่ช่วงปลายปี 2554 หลังจากนั้น คุณสมยศ (พฤกษาเกษมสุข) ก็ถูกจับในวันที่ 30 เมษายน 2554 จนถึงจังหวะที่น้องไท (ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข) ลูกชายคุณสมยศ มาอดอาหารที่หน้าศาลอาญา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ไปยื่นขอประกันตัว ศาลก็ไม่ให้ หลังจากนั้นก็มีกลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มอื่นมาอดอาหารต่อ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวได้

- ประเด็นนักโทษการเมืองมีความอ่อนไหวและสำคัญอย่างไร?
มัน เป็นความอยุติธรรมที่รุนแรงมากที่กระทำต่อประชาชน เพราะสิ่งที่เราพบจากคนที่ติดคุกเพราะคดีทางการเมือง หรือที่เรียกกันว่าคดีเสื้อแดง เราพบว่าคนส่วนใหญ่เป็นคนยากคนจน เป็นคนที่ไม่ได้มีสันดานเป็นโจรแน่นอน จิตใจที่มาร่วมในการชุมนุม เป็นจิตใจของคนที่ตั้งใจดีที่จะมาร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เราก็เห็นว่าทำไมเขาถึงไม่ได้สิทธิในการประกันตัว ทั้งที่หลายๆ คนก็เริ่มมีการยื่นเงินประกันจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นหลักแสนแล้ว 

- การทำกลุ่ม "ปฏิญญาหน้าศาล" ถือว่าได้ผลไหม?
ถือ ว่าได้ผล คนเสื้อแดงที่ถูกทิ้งร้างไว้ในเรือนจำเป็นปีกว่าจะมีคนไปค้นพบว่าเขา ถูกกระทำอะไรมา หลายคนติดเชื้อวัณโรค ไม่เคยมีทนาย และถูกยัดเยียดข้อกล่าวหา และตัดสินใจสารภาพ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความผิด จากที่ไม่มีใครรู้สิ่งเหล่านี้เลย ก็ทำให้คนมารับรู้มากขึ้นเรื่อยๆ และเราคิดว่าการใช้เวลาทำความเข้าใจกับสังคม จะรีบร้อนคงไม่มีประโยชน์อะไร จึงตัดสินใจร่วมกันกับหลายๆ คน ริเริ่มกิจกรรม "เสวนาบาทวิถี" โดยการเชิญนักวิชาการ นักกิจกรรม นักสิทธิมนุษยชน มาพูดคุยกับประเด็นปัญหานักโทษการเมือง เป็นประจำทุกบ่ายวันอาทิตย์ที่หน้าศาลอาญา ถนนรัชดาฯ

- สถานการณ์ปัญหานักโทษการเมืองขณะนี้?
การ ต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิประกันตัวแทบไม่มีความหวังแล้ว กรณีอากงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการไม่ได้รับสิทธิประกันตัวทำให้การหาพยาน ยืนยันต่างๆ เป็นไปได้ยาก เช่นดียวกับกรณีของคนอื่นๆ โดยเฉพาะคนยากคนจนที่แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย เงินที่วางหลักทรัพย์สำหรับคนยากคนจนเหล่านี้ ประกันหลักทรัพย์ขึ้นไปสูงถึง 2 ล้านบาทต่อคน ตำแหน่งของคนที่มีสถานภาพสูงในสังคมที่เป็นนักวิชาการหรือตำแหน่ง ส.ส. มีนับ 10 คน ที่สามารถเอาตำแหน่งมาเป็นหลักประกันให้ได้ แต่ศาลก็ยังไม่ยอมให้ประกัน 

ประเด็น ที่หนึ่ง เมื่อไม่มีความหวังในการประกันตัว คดีต่างๆ ที่เดินหน้าสู้คดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาภายใต้สภาวะแบบนี้ ไม่มีทางที่ประชาชนจะได้รับความเป็นธรรม 

ส่วน ประเด็นที่สอง คือ การอยู่ในสถานะนักโทษเป็นเวลานาน ทำให้สังคมพิพากษาเขาเป็นคนผิด ทั้งๆ ที่เขายังอยู่ในระหว่างต่อสู้คดีอยู่ ซึ่งถือเป็นผู้ที่ไม่มีความผิด ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่สังคมได้ตีตราว่าเขาเป็นพวกเผาบ้านเผาเมือง ก่อการร้าย หรือขบวนการล้มเจ้าไปแล้ว

- ก้าวต่อไปของปฏิญญาหน้าศาล?
เรา มีร่างกฎหมายที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทษกรรมและการขจัดความขัด แย้ง ที่เสนอโดยคณะนิติราษฎร์ ซึ่งเราเชื่อถือในการนำเสนอแนวทางที่จะออกจากวิกฤตการเมืองไทยตามหลัก วิชาการอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น เราก็จะนำร่างรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มหมวด การขจัดความขัดแย้ง ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพื่อจะนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่เข้าร่วมในการชุมนุม และแสดงออกในการต่อต้านรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 

จะ ไปยื่นร่างนี้ให้กับรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาหาทางออกจากวิกฤตให้กับประชาชน โดยขั้นต้นคือให้นิรโทษกรรมกับผู้ชุมนุมทางการเมือง หลังจากเรายื่นไป ก็จะรอฟังคำตอบว่าจะมีการยื่นร่างกฎหมายนี้ให้กับสภาเมื่อไหร่ เมื่อเข้าสู่สภาเมื่อไหร่ ประชาชนก็จะไปรอฟังคำตอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยกัน

- การผลักดันร่างรัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมในครั้งนี้มีความเป็นไปได้มากกว่าการเสนอแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่?
น่า จะมีความเป็นไปได้มากกว่า แรงกดดันที่รัฐบาลตอนนี้ก็มีสูงขึ้น เพราะทาง นปช.เองไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแต่รูปแบบของการนำเสนออาจจะต่างกับนิติราษฎร์เท่านั้น พูดได้ว่าทุกกลุ่มตอนนี้ก็เห็นร่วมกันว่าต้องมีการนิรโทษกรรมให้กับประชาชน แต่อยู่ที่ว่าจะฝ่าด่านฝ่ายตรงข้ามได้ขนาดไหน เพราะสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามต้องการ คือ เหตุการณ์สลายการชุมนุมต้องมีคนผิด แน่นอน เขาก็ต้องให้ผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายผิด ฉะนั้น การใช้อำนาจของรัฐบาลตรงนี้ต้องมีการอธิบายที่จริงจังในสภา แต่เราก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลมีความพร้อมหรือไม่

- ข้อดี-ข้อเสียระหว่างร่างกฎหมายนิรโทษกรรมของนิติราษฎร์กับ นปช.?
ข้อ ดี คือ ความชอบธรรมของการเป็นร่างรัฐธรรมนูญของนิติราษฎร์มีสูงกว่า เพราะเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาทุกคนทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ได้ถกเถียง เราต้องยอมรับให้ความจริงทุกแง่ทุกมุมถูกนำมาเปิดเผยพูดคุย และยอมรับในกระบวนการที่เรียกว่าความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ต้องอยู่บนหลักที่ว่าสังคมไทยมันเปลี่ยนผ่านจากอำนาจเผด็จการรัฐประหารสู่ ความเป็นประชาธิปไตย การชุมนุมประท้วงต่อต้านอำนาจรัฐที่เป็นรัฐเผด็จการเป็นเรื่องธรรมดา 

การ ที่จะผ่านวิกฤตตรงนี้ไปได้ต้องมีการนิรโทษกรรม และจัดให้มีกระบวนการพิเศษขึ้นมา และที่มาขององค์กรพิเศษที่นำเสนอโดยนิติราษฎร์นั้นมีการยึดโยงกับสภาที่มา จากประชาชน มีความชอบธรรมสูง เพราะมีที่มาจากประชาชน จึงต่างกับองค์กรที่ตั้งโดยคณะรัฐประหาร 

- แต่การนำเสนอในรูปแบบ พ.ร.ก.ของ นปช.สามารถใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีก็ทำได้เลย?

ใช่ ดูเหมือนจะเร็วกว่า แต่ปัญหาคือมีความสุ่มเสี่ยงภายใต้ภาวะที่ยังมีการต่อสู้กันทางการเมืองโดย ใช้เครื่องมือทางตุลาการภิวัฒน์ หรือการรัฐประหารโดยกฎหมาย เครื่องมือชุดเดิมยังไม่ได้เปลี่ยน องค์กรต่างๆ ยังมาจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งเป็นการสืบทอดอำนาจทางการเมืองของฝ่ายเผด็จการ 

เพราะ ฉะนั้น โอกาสที่ประกาศออกมาในรูปแบบของ พ.ร.ก.แล้วจะถูกนำไปฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ทำให้ พ.ร.ก.นั้นไม่มีผลในทางกฎหมาย สุดท้ายทุกอย่างก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม สมมุติปล่อยประชาชนออกไปได้ 2 เดือน อาจจะต้องกลับมาติดคุกใหม่ นี่คือประการที่หนึ่ง 

"ส่วนประการที่สอง อาจนำไปสู่การฟ้องร้องต่อ ป.ป.ช. หรือมีการบอกว่ารัฐบาลออกกฎหมายไม่ชอบ ก็สามารถล้มรัฐบาลได้อีก" 

******


29มกราฯ10,000ปลดปล่อย



กำหนดการวันที่ 29 มกรา หมื่นปลดปล่อย...

08.00 น. พบกันที่หมุดคณะราษฎร
รวมตัว จัดขบวน ทำกิจกรรมที่หมุดคณะราษฎร โดย กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ...มีการวางมาลัยดอกไม้ เคารพคณะผู้อภิวัฒน์สยาม 2475 และวีรชนประชาธิปไตย ...ร้องเพลงชาติสยาม 24 มิถุนา

ประมาณ 9-9.30 น. ออกเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล

จัดพื้นที่การชุมนุม และยื่นร่างรธน.ว่าด้วยการนิรโทษกรรม ฉบับนิติราษฎร์ ต่อรัฐบาล

แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง ทุกองค์กร ผลัดกันอ่านแถลงการณ์สนับสนุนการปลดปล่อยนักโทษการมเมือง

ฟังเสวนาวิชาการ สลับดนตรี และการแนะนำองค์กรประชาชนที่มาเข้าร่วม

ขอเวลาปิดเวทีไว้ ที่ 22.00 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น