แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิพากษ์รางวัลดีเด่นสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2555

ที่มา ประชาไท


เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้มอบรางวัลสิทธิมนุษยชนแก่บุคคลหลายคน ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 คนที่ผมเห็นว่าขัดสายตาเป็นอย่างมาก  เพราะไม่ใช่เป็นผู้มีบทบาทเด่นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง    อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้เห็นว่าผู้ได้รับรางวัลเป็นคนเลว ไม่สมควรได้รับ  เพียงแต่ไม่ได้มีผลงานสมควรได้รับเท่านั้น
กรณีพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
พระวุฒิชัยได้รับรางวัล เกียรติยศบุคคลชาย เพราะ “เป็นผู้ที่เชื่อมโยงหลักธรรมคำสอนกับงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการหลักการการสร้างสันติให้ประชาชนอยู่อย่างเคารพสิทธิซึ่งกันและ กัน  จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน”
คำอธิบายคุณสมบัติในการรับรางวัลที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมีสั้นเพียง เท่านี้   ในความเป็นจริงคำสอนของพระทั้งหลายก็เกี่ยวข้องกับการสร้างสันติในใจคน การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน (ไม่เบียดเบียนกัน) อยู่แล้ว  แต่ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับนิยามสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด  การตีความแบบครอบจักรวาลเช่นนี้ พระหรือบุคคลอื่นอีกมากมายที่มีผลงานการสอนธรรมะเด่นกว่าพระวุฒิชัยก็ควรมี สิทธิ์ได้รางวัล
กรณีคุณหญิงพรทิพย์  โรจนสุนันท์
คุณหญิงพรทิพย์  โรจนสุนันท์ ได้รับรางวัลเกียรติยศบุคคลหญิง เพราะ “เป็นผู้นำหลักวิทยาศาสตร์ การตรวจดีเอ็นเอ มาคลี่คลายคดี รวมทั้งตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ของครอบครัว เพื่อการปกป้องหรือใช้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของมนุษย์”  โปรดพิจารณาดูคนทำงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่ไม่ดังก็มีมากมาย ถ้าบอกว่าทำงานอย่างนี้เกี่ยวข้องกับปกป้องสิทธิมนุษยชน ก็ดูกระไรอยู่  แต่ถ้าจะตีขลุมว่าเกี่ยว งานสอบสวน สืบสวน ตุลาการ ฯลฯ ก็เกี่ยวเช่นกัน
นอกจากนี้ยังบอกมีผลงานมากมายสุดท้ายก็ยกตัวอย่างมาได้แค่ “การพิสูจน์สารพันธุกรรมเพื่อหาความสัมพันธ์ทางครอบครัว การพิสูจน์บุคคลสูญหายและศพนิรนาม  เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำฐานข้อมูลสารพันธุกรรมชาติ  ข้อมูลดีเอ็นเอ ฐานข้อมูลผู้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้” ซึ่งก็เป็นงานที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องทำ (ได้) ทั้งนั้น  ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสิทธิมนุษยชนเด่นชัด
ส่วนเหตุผลสุดท้ายก็คือ “รวมทั้งร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและวุฒิสภา จัดทำโครงการตรวจหาสารทางพันธุกรรมของผู้ไร้สัญชาติ . . .”  ลำพังการร่วมงานกับคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่น่าจะเป็นประเด็น ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นประเด็นประโยชน์ทับซ้อน เลือกที่รักมักที่ชังไปหรือไม่
กรณีของนายวีระ สมความคิด
กรณีนี้ก็แปลกประหลาดเป็น อย่างยิ่ง ท่านติดคุกอยู่กัมพูชา ไม่ได้มีผลงานอะไรให้เห็นมาถึง 2 ปีแล้ว  แต่คณะกรรมการสิทธิฯ กลับยกเหตุผลการมอบรางวัลว่า “เริ่มทำงานด้านสิทธิมนุษยชนตั้งแต่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปลาย  ในช่วงตุลาคม 2516”  หรือก่อนจะมีคณะกรรมการสิทธิฯ ถึง 28 ปี (ฮา)
นอกจากนั้นยังบอกว่า “และจากเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ต้องหนีภัยการเมืองเข้าไปอยู่ในป่าได้อุปสมบทระยะหนึ่ง หลังจากออกจากป่าได้บวชเป็นเวลานานถึง ๕ ปี เมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี ๒๕๓๕  ได้ร่วมกับสมาพันธ์ประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ รสช. ขับไล่รัฐบาล จนถูกจับคุมขังเป็นเวลา ๓ วัน และได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา”  วีรกรรมข้างต้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสิทธิมนุษยชนเลย
ที่จงใจบิดเบือนก็คือ “เมื่อปี 2539 ได้ร่วมก่อตั้ง “กลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน” ขึ้น เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เนื่องจากเห็นว่าผู้มีอำนาจใช้อำนาจรัฐ  โดยไม่เคารพสิทธิคนและมีการทุจริต . . .”  คำว่า “ไม่เคารพสิทธิคน” ที่เขียนไว้ข้างต้น เป็นภาษาฟุ่มเฟือย ภาษาขยะ ไม่ต้องมีก็อ่านเข้าใจได้  และเข้าใจได้ว่าไมได้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด  นายวีระตั้งกลุ่มนี้เพราะเป็นศัตรูทางการเมืองของทักษิณต่างหาก
ที่ตีความคำว่า “สิทธิมนุษยชน” อย่างบิดเบือนร้ายแรงที่สุดก็คือ การกล่าวว่า “ก่อตั้งองค์กรภาคประชาชนในนาม “เครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชั่น” ได้ช่วยเหลือราชการตรวจสอบการคอรัปชั่นมากกว่า 1,500 เรื่อง สามารถป้องกันไม่ให้สูญเสียงบประมาณแผ่นดินได้จำนวนมาก เพราะถือว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน”  การตีความตีขลุมคำว่าสิทธิมนุษยชนแบบครอบจักรวาลนี้ เป็นสิ่งที่สมควรแล้วหรือ
การพยายามตีขลุม ตีความคำว่าสิทธิมนุษยชนแบบครอบจักรวาลเพียงเพื่อหาทางมอบรางวัลแบบขัดสายตา ประชาชนเช่นนี้ เป็นการทำลายแนวคิด “สิทธิมนุษยชน” ที่บริสุทธิ์ เพราะถูกใช้เป็นแค่เครื่องมือ  นอกจากนี้ยังทำให้ผู้รับไม่สง่างาม ทำให้ผู้ให้และองค์กรที่ให้มัวหมอง และเสียชื่อเสียงประเทศชาติหรือไม่ โปรดพิจารณา

หมายเหตุ
โปรดอ่านข่าวและเหตุผลการมอบรางวัลได้ที่ “กสม.จัดงานวันสิทธิมนุษยชนสากล ประจำปี 2555” ที่ http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/news_detail.php?nid=1073&parent_id=1&type=hot

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น