แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ด่วน! สมชาย ไพบูลย์แกนนำนปช. ศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา คดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ที่มา uddred




ทีมข่าว นปช.
27 ธันวาคม 2555


  

วันนี้ที่ศาลอาญา  ศาลได้มีคำพิพากษาจำคุก นายสมชาย ไพบูลย์ อายุ 41 ปี อดีตสมาชิกสภาเขตบางบอนพรรคไทยรักไทย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ หรือ นปช. จำเลยคดีหมายเลขดำที่ อ.2543/2553 ที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ในความผิดฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยผู้กระทำความผิดคนใดคนหนึ่งมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  เป็นเวลา 1 ปี โดยไม่มีการรอลงอาญา

คำพิพากษามีว่า โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า เมื่อระหว่างวันที่ 12 มี.ค.ถึง 20 เม.ย.2553 จำเลยขึ้นเวที นปช. กล่าวพูดข้อความให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า สะพานมัฆวาฬ ราชดำเนิน วัดบวรฯ ลานพระรูป และที่อื่นๆ ต่อมารัฐบาลโดย กอ.รมน. ได้ออกคำสั่งรักษาความสงบ จนมีการออก พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินกรณีร้ายแรง ห้ามประชาชนเข้าออกบางพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร แต่จำเลยกลับยุยงให้ประชาชนตรึงพื้นที่ และให้หยุดและทำลายรถถัง มีบุคคลใช้อาวุธเอ็ม 79 ยิงใส่ทหาร สร้างอันตรายแก่ชีวิต ทรัพย์สินและทำลายเศรษฐกิจ จนเป็นเหตุให้รัฐบาลใช้กำลัง จนมีเหตุปะทะ มีคนเจ็บตายจำนวนมาก จำเลยปฏิเสธว่าไม่ใช่แกนนำ และขึ้นเวทีเพื่อผลัดกันพูด ไม่เคยยุยงให้เกิดความไม่สงบ ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ชอบด้วยกฎหมาย การสอบสวนโดยดีเอสไอจึงไม่ชอบ อัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

ศาลพิเคราะห์ แล้วเห็นว่า รัฐบาลออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นการใช้อำนาจโดยชอบ อัยการจึงมีอำนาจฟ้องและเห็นว่าวันที่ 10 เม.ย.2553 รัฐบาลให้ทหารดำเนินการขอคืนพื้นที่สะพานผ่านฟ้า ราชดำเนิน เป็นการสั่งให้จำเลยกับพวกเลิกชุมนุม แต่จำเลยยังขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยอย่างต่อเนื่อง โดยกล่าวให้ผู้ชุมนุมตรึงกำลังอยู่ในจุดและขอให้ผู้ชุมนุมบางส่วนไปที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สี่แยกคอกวัวที่ทหารขอคืนพื้นที่ และให้นำรถยนต์ไปขวางทหารเข้ามา ซึ่งเป็นเหตุส่วนหนึ่งให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารกับผู้ชุมนุม อันเป็นการปลุก ระดม ยุยงสนับสนุนผู้ชุมนุมให้เกิดความหึกเหิมใช้กำลังต่อสู้กับทหาร จนมีคนเจ็บตายจำนวนมาก มีเจตนาให้มีความวุ่นวายในบ้านเมือง แม้จำเลยและแกนนำอื่นๆ ต่างกล่าวปราศรัยโดยไม่เตรียมการร่วมกันมาก่อนก็ตาม แต่ถ้อยคำที่กล่าวนั้นมีความหมายไปในแนวทางเดียวกันว่า ให้กลุ่มผู้ชุมนุมตรึงกำลังรักษาพื้นที่ต่อไป โดยบอกวิธีการสกัดกั้น จนท.ทหารไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ รวมถึงขอกำลังคนจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ในจุดอื่นมาช่วยเสริมบริเวณที่ปะทะ กัน อันเป็นการร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาอันมิใช่การกระทำตามความ มุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นติชมโดยสุจริต แต่เป็นการก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

พฤติการณ์ดังกล่าวจึง แสดงได้ว่า จำเลยกับพวกกระทำการมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อให้การชุมนุมมีอยู่ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีความมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยผิดตามฟ้อง พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามป.อาญา มาตรา 116(2),(3) และ 215 วรรค 2,3 มาตรา 216 พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินปี 48 มาตรา 9, 11, 18 ลงโทษจำคุก 1 ปี พฤติการณ์แห่งคดีมีความร้ายแรงส่งผลให้ผู้ชุมนุมปะทะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐจน มีผู้บาดเจ็บตาย จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ จากนั้นนายสมชายจึงถูกคุมตัวแล้วขอประกันตัวออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น